DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/4454

Title: ความน่าเชื่อถือของแบรนด์และการรับรู้เอกลักษณ์ผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลต่อความเต็มใจที่จะจ่ายสินค้า Upcycling ในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Brand credibility and perceived uniqueness affecting consumers willingness to pay upcycling product in Bangkok
Authors: นฤมล ทรัพย์มี
Keywords: การรับรู้เอกลักษณ์
ความเต็มใจที่จะจ่าย
Upcycling
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: งานวิจัยเล่มนี้จัดทำขึ้นโดยมีจุดประสงค์ คือ การศึกษาปัจจัยความน่าเชื่อถือของแบรนด์และการรับรู้เอกลักษณ์ผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลต่อความเต็มใจที่จะจ่ายสินค้า Upcycling ในเขตกรุงเทพมหานคร ทำการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสมการถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง (ร้อยละ55.0) มีอายุในช่วง 26-30 ปี (ร้อยละ 55.5) การศึกษาส่วนใหญ่ระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 62.3) อาชีพส่วนใหญ่เป็นพนักงานเอกชน (ร้อยละ 55.5) รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,000-30,000 บาท (ร้อยละ 54.5) ส่วนระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับน่าเชื่อถือของแบรนด์ การรับรู้เอกลักษณ์ผลิตภัณฑ์และความเต็มใจที่จะจ่ายผลิตภัณฑ์โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านความน่าเชื่อถือของแบรนด์มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.45 การรับรู้เอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.52 และความเต็มใจจ่ายมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.48 สำหรับผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ความน่าเชื่อถือของแบรนด์และการรับรู้เอกลักษณ์ผลิตภัณฑ์สามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงร่วมกันต่อความเต็มใจที่จะจ่ายผลิตภัณฑ์ Upcycling ในเขตกรุงเทพมหานครได้ ร้อยละ 58.5 และยังพบว่า ความน่าเชื่อถือของแบรนด์และการรับรู้เอกลักษณ์ผลิตภัณฑ์ส่งผลทางบวกต่อความเต็มใจที่จะจ่ายผลิตภัณฑ์ Upcycling ในเขตกรุงเทพมหานครอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
The objectives of this research are to study the factors of brand credibility and perceived uniqueness affecting consumers' willingness to pay upcycling product in Bangkok. The data of 400 participants were collected using questionnaire. For statistical analysis, frequency, percentage, mean, standard deviation and multiple regression were used. The result shows that 55 percent of respondents were women; age between 26-30 years old (55.5%), graduated with bachelor's degree (62.3%), work as private officers (55.5%) with average salary between 15,000-30,000 baht (54.5%). The level of opinion about brand credibility, perceived uniqueness and consumers' willingness-to-pay are high, with the mean scores of 3.45, 3.52 and 3.48, respectively. According to hypothesis testing, it shows that brand credibility and perceived uniqueness can be explained the occurrence of willingness-to-pay for Upcycling product in Bangkok by 58.5%. The results also revealed that brand credibility and perceived uniqueness have positive effects on willingness-to-pay for Upcycling product in Bangkok, with significance level at 0.05
Description: การค้นคว้าอิสระ (บธ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2562
Subjects: การสื่อสารทางการตลาด--ไทย--กรุงเทพฯ
ความภักดีต่อชื่อตราผลิตภัณฑ์--การศึกษาเฉพาะกรณี
การนำกลับมาใช้ใหม่--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ--สารนิพนธ์
Advisor(s): รวิพรรณ สุภาวรรณ์
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/4454
Appears in Collections:Independent Studies - Master
Independent Studies

Files in This Item:

File Description SizeFormat
narumon_sapm.pdf3.13 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback