DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/4335

Title: พฤติกรรมการใช้ Application Line ที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร
Other Titles: Using Application Line Behavior that affects the quality of elder life in Bangkok
Authors: วิลาศิณี ชะไวริน
Keywords: Application Line
พฤติกรรม
คุณภาพชีวิต
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยเรื่องพฤติกรรมการใช้ Application Line ที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้ Application Line ของผู้สูงอายุ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลทั่วไปส่วนบุคคล กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ และศึกษาอำนาจการทำนายของพฤติกรรมการใช้ Application Line ของผู้สูงอายุกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครจำนวน 400 คน เลือกใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างโดยไม่อาศัยหลักความน่าจะเป็น โดยผู้วิจัยเลือกใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการใช้ Application Line ของผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่มีความถี่ในการเปิดรับสาร จำนวน 1-3 ชม./วัน มีการส่งต่อข้อมูลผ่าน Application Line เกี่ยวกับข้อความสนทนา เหตุผลที่ใช้ Application เพราะสามารถสื่อสารได้ตลอดเวลา สำหรับการใช้ Application Line กับคนรอบข้าง ใช้ กับคนในครอบครัว ญาติพี่น้อง เพื่อน โดยมีระยะเวลาการใช้ Application Line 2 ปี ผลการเปรียบเทียบปัจจัยชีวสังคมต่อความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุที่มีเพศแตกต่างกันมีต่อความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุไม่แตกต่างกัน ผู้สูงอายุที่มีอายุ รายได้แตกต่างกันมีต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุแตกต่างกัน ในขณะที่ด้านการศึกษาพบว่าแตกต่างกันเพียงด้านเดียว คือ ด้านความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และอำนาจการทำนายของพฤติกรรมการใช้ Application Line ของผู้สูงอายุกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ พบว่า ด้านการรับรู้ภาวะสุขภาพ ด้านการสนับสนุนทางสังคมอย่างไม่เป็นทางการ และด้านสุขภาพนิสัย มีผลกระทบเชิงบวกกับความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน โดยรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน 52.3% (R = 0.523) สำหรับด้านการประเมินความสุข และด้านความผาสุกใจ ไม่มีความสัมพันธ์
The study of using Application Line behavior that affects the quality of elder life in Bangkok metropolis has the purpose to study the behavior of elders using Application Line by studying the relationship between general personal information with the quality of elder life, and study the anticipation power of usage behavior of Application Line for elders with their life quality. The sample group is 400 elders in Bangkok metropolis by using Nonprobability sampling method and Purposive Sampling is used by researcher. Questionnaire is used as the study tool. Findings from this study are as follows; for the behavior of using Application Line for elders, the most usage frequency for media exposure is 1-3 hrs./day via Application Line for chatting messages and the reason to use this Application is the convenience of anytime usability. For the target people to use Application Line with they are family, relatives, and friends; the duration of using Application Line is 2 years. For the comparison result between bio-social factor with the feedback about elders’ life quality, it is found that there is no difference in the feedback about elders’ life quality from different gender but, for age and income, they have an effect to the elders’ life quality while the term of education has only one difference which is the performance of daily routine. For the anticipation power of usage behavior of Application Line for elders with their life quality, it is found that the terms of health condition perception, non-formal social support,and habitual health have positive impact with overall performance of daily routine statistical significantly at the level of 0.05 and also have the relationship with the performance of daily routine for 52.3% (R = 0.523). For the evaluation of happiness and psychological well-being, there is no relationship found in this process.
Description: การค้นคว้าอิสระ (นศ.ม.) -- สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2561
Subjects: คุณภาพชีวิต
เทคโนโลยีกับผู้สูงอายุ
กรุงเทพฯ -- ภาวะสังคม
การรับรู้ทางสังคมในผู้สูงอายุ
Advisor(s): ปฐมา สตะเวทิน
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/4335
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
wilasinee_chaw.pdf4.36 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback