DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/4196

Title: รูปแบบการนําเสนอวิดีโอผ่านเฟซบุ๊กที่มีผลต่อความตั้งใจในการดาวน์โหลดแอปพลิเคชันของธนาคารกสิกรไทย กรณีศึกษา: K Plus เธอ เธอ
Other Titles: Video presentation format influencing to application downloading intention of Kasikorn Bank application Case study: K Plus Her Her
Authors: วรีสา แซ่ตั้ง
Keywords: รูปแบบการนําเสนอ
ทัศนคติที่มีต่อการใช้งาน
ความตั้งใจในการดาวน์โหลด
แอปพลิเคชัน
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยเชิงคุณภาพเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) รูปแบบการนำเสนอวิดีโอ K Plus เธอ เธอ ที่มีผลต่อการรับรู้เรื่องการดาวน์โหลดแอปพลิเคชันของธนาคารกสิกรไทย 2) การรับรู้ที่ส่งผลถึงทัศนคติที่มีต่อการใช้งานแอปพลิเคชันของธนาคารกสิกรไทย 3) ทัศนคติที่มีต่อการใช้งานแอปพลิเคชัน ที่ส่งผลถึงความตั้งใจในการดาวน์โหลดแอปพลิเคชันของธนาคารกสิกรไทย โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-Depth Interview) จากกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม จำนวนกลุ่มละ 5 คน รวมทั้งสิ้น 10 คน โดยกลุ่มตัวอย่างที่ 1 จำนวน 5 คน เป็นบุคคลในกลุ่มผู้มีอายุ 18 – 37 ปี ซึ่งเป็นผู้ที่เคยดูวิดีโอชื่อ K Plus เธอ เธอ และเป็นผู้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันของธนาคารกสิกรไทย และกลุ่มตัวอย่างที่ 2 จำนวน 5 คน เป็นบุคคลในกลุ่มผู้มีอายุ 18 – 37 ปี ซึ่งเป็นผู้ที่เคยดูเนื้อหารูปแบบวิดีโอชื่อ K Plus เธอ เธอ และเป็นผู้ที่ไม่ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันของธนาคารกสิกรไทย ผลจากการศึกษาพบว่า รูปแบบการนำเสนอวิดีโอ K Plus เธอ เธอ ที่มีผลต่อการรับรู้เรื่องการดาวน์โหลดแอปพลิเคชันของธนาคารกสิกรไทย ประกอบไปด้วย 2 ส่วนคือ ส่วนที่เป็นเนื้อหาและบทพูด โดยมีการนำเสนอเรื่องราวที่ชัดเจนเกี่ยวกับประโยชน์และความง่ายในการใช้งานแอปพลิเคชัน ซึ่งทำให้กลุ่มตัวอย่างที่ 1 มีการเปลี่ยนแปลงทัศนคติที่มีต่อการใช้งานแอปพลิเคชัน และนำไปสู่ความตั้งใจในการดาวน์โหลดแอปพลิเคชันได้ แต่เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มตัวอย่างที่ 2 พบว่า การรับรู้เรื่องประโยชน์และความง่ายในการใช้งานแอปพลิเคชันซึ่งส่งผลถึงทัศนคติที่มีต่อการใช้งานแอปพลิเคชันนั้น ไม่ส่งผลให้เกิดความตั้งใจการดาวน์โหลด เนื่องจากการสื่อสารเรื่องประโยชน์ของแอปพลิเคชันและความง่ายในการใช้งาน ยังไม่เพียงพอต่อการก่อให้เกิดการความตั้งใจในการใช้งาน นอกจากนั้น ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้แอปพลิเคชันไม่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้งาน เมื่อเปรียบเทียบการทำธุรกรรมผ่านแอปพลิเคชันกับประสบการณ์การทำธุรกรรมที่ธนาคาร ตู้เอทีเอ็ม หรือช่องทางอื่น ๆ อย่าง 7-eleven พบว่าการทำธุรกรรมแบบเดิมยังคงทำได้ง่ายและสะดวก กลุ่มตัวอย่างจึงไม่เกิดความรู้สึกว่าจำเป็นต้องใช้งาน และไม่ส่งผลให้เกิดความตั้งใจในการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
The aims of this qualitative research were to study 1) K Plus “Her Her” video presentation format influence to perception of downloading Kasikorn Bank application 2) the recognition which resulting to attitude towards Kasikorn Bank application usage 3) the attitude towards using the application resulting in the intention of Kasikorn Bank application downloading. These were studied by In-Depth Interview method from two sampling groups consisting of five persons per group, totally ten persons. There were five persons in the first sample group who are aged 18 - 37 years, used to watch a video called K Plus “Her Her” and also downloaded the Kasikorn Bank application. There were five persons in the second sample group who are aged 18 - 37 years, used to watch a video called K Plus “Her Her” but have never downloaded the Kasikorn Bank application. The study was founded that K Plus “Her Her” video presentation format can influence the perception of downloading Kasikorn Bank application. Both content and dialog presenting the clarity of benefit and ease of application usage resulted changing the attitude of first sampling group towards the application usage, and contributed to intention of downloading the application. Nevertheless, it was compared to the second sampling group which was found that benefit and ease of application usage awareness was not affected the intention of the application downloading. It was because benefit and ease of usage communication was not enough to influence the intention of use. Moreover, the benefit from use of an application does not comply with user requirement compared to money transaction application, experience with bank transactions or ATM, and other channels such as 7-11 convenience store. It was found that the conventional transaction has been still very simple and easy. Hence, there were no need not only usage but also application downloading intention from the sampling group.
Description: การค้นคว้าอิสระ (นศ.ม.)--สาขาวิชาการสื่อสารการตลาดดิจิทัล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2561
Subjects: การพัฒนาเว็บไซต์
เครือข่ายสังคมออนไลน์
ธนาคารและการธนาคาร -- การประชาสัมพันธ์
การตลาดธนาคาร
ดิจิทัลวิดีโอ
Advisor(s): ปฐมา สตะเวทิน
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/4196
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
valeesa_saet.pdf2.5 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback