DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3958

Title: กระบวนการสื่อสารกับการปรับตัวเพื่อสื่อสารประเพณีท้องถิ่น: กรณีศึกษาประเพณีลอยกระทงในบริบทพื้นที่จังหวัดสุโขทัย
Other Titles: The communication process and adaptation for local traditions communication adjustment: A case study of the Sukhothai Loy Krathong festival
Authors: ลฎาภา ช่างหลอม
Keywords: การสื่อสาร
ช่องทางการสื่อสาร
การสืบทอดประเพณี
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยเชิงคุณภาพเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษากระบวนการสื่อสารและรูปแบบการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์ของวัฒนธรรมประเพณีลอยกระทงของจังหวัดสุโขทัย 2) เพื่อศึกษาการปรับวิธีการสื่อสารวัฒนธรรมประเพณีลอยกระทงในบริบทพื้นที่จังหวัดสุโขทัย โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-Depth Interview) และการสังเกตการณ์ภาคสนามแบบไม่มีส่วนร่วม (Non-Participant Observation) ในช่วงระหว่างเดือนตุลาคม–ธันวาคม 2561 (รวมระยะเวลาประมาณ 3 เดือน) จากกลุ่มตัวอย่างกลุ่มหน่วยงานราชการ กลุ่มผู้นำชุมชน กลุ่มอาจารย์นักวิชาการ และกลุ่มผู้ชมงานประเพณีลอยกระทง จำนวน 12 คน (Key Informant) ซึ่งผู้ศึกษาวิจัยได้ใช้วิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ผลการศึกษา พบว่า กระบวนการสื่อสาร และรูปแบบการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์ของวัฒนธรรมประเพณีลอยกระทงของจังหวัดสุโขทัยนั้นมีกระบวนการสื่อสารนั้น แบ่งออกเป็น 3 ช่วง คือ การสื่อสารช่วงเตรียมงานประเพณี ที่ส่วนใหญ่สื่อสารแบบเป็นทางการ (Formal Communication) และมีทิศทางการสื่อสารแบบสองทาง (Two-Way Communication) ระหว่างผู้นำกับสมาชิก จะมีการพูดคุยในที่ประชุมหารือ วางแผนเตรียมงานลอยกระทง โดยบุคลากรแต่ละฝ่ายมีการแสดงความคิดเห็น มีการตอบโต้กันส่วนการสื่อสารช่วงการจัดงานประเพณี มีการสื่อสาร 2 รูปแบบ คือ การสื่อสารทางเดียว (One-Way Communication) คือ การประชาสัมพันธ์ผ่านเว็บไซต์ โดยเป็นการบอกเล่าความเป็นมาของประเพณี วัตถุประสงค์ในการดูงาน และกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้น และการสื่อสารทั้งแบบ สองทาง (Two-Way Communication) ผ่านเฟซบุ๊กเพจ งานประเพณีลอยกระทง เผาเทียนเล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย 2561 และการสื่อสารช่วงหลังจัดงานประเพณี เป็นการสื่อสารแบบเป็นทางการ (Formal Communication) และทิศทางการไหลของสารเป็นการสื่อสารจากล่างขึ้นบน (Bottom-Up Communication) เกิดจากการประชุมเพื่อสรุป และประเมินผลการจัดงานประเพณีลอยกระทงอีกทั้งในส่วนของแนวทางการปรับวิธีการสื่อสารวัฒนธรรมประเพณีลอยกระทงในบริบทพื้นที่จังหวัดสุโขทัย ยังพบว่า มีการปรับตัวเพื่อให้เข้ากับยุคสมัยในหลาย ๆ ด้าน ได้แก่ ด้านรูปแบบเนื้อหา ด้านช่องทาง การสื่อสาร ด้านบทบาทและหน้าที่ ด้านการต่อรอง ด้านเครือข่ายความสัมพันธ์ ด้านการบริหารจัดการ โดยทั้งการปรับตัวทั้งหมดอยู่บนพื้นฐานที่ว่า ยังคงไว้ซึ่งแก่นของประเพณีและมีให้เห็นปรากฏในทุกปี แม้บางปีจะมีการจัดพิธีกรรม หรือกิจกรรมใหม่ แต่เป็นแค่การปรับให้สอดคล้องกับยุคสมัยเพียงเท่านั้น แต่ไม่ทิ้งแก่นของวัฒนธรรมเพื่อให้ประเพณียังคงอยู่ต่อไป
Description: การค้นคว้าอิสระ (นศ.ม.)--สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2561
Subjects: การวางแผนการสื่อสาร
ไทย -- ความเป็นอยู่และประเพณี
ลอยกระทง
สุโขทัย
Advisor(s): มนฑิรา ธาดาอำนวยชัย
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3958
Appears in Collections:Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
ladapa.chan.pdf2.25 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback