DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3928

Title: อิทธิพลของคุณภาพการใช้บริการ ความง่ายในการใช้งาน และความปลอดภัยต่อการใช้งาน ความพึงพอใจของลูกค้า การบอกต่อ และความตั้งใจใช้บริการอย่างต่อเนื่องของผู้ที่ใช้งาน ระบบเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e–Money) ในการชำระค่าสินค้า และบริการผ่านสมาร์ทโฟน
Other Titles: The Influences of Service Quality, Ease of Use, and Security on Use, User Satisfaction, Word of Mouth and Continuance Intention of Customer Using e–Money on Smartphone
Authors: ธิติรัตน์ ศุพิพัฒสกุล
Keywords: คุณภาพการให้บริการ
ความง่ายในการใช้งาน
ความปลอดภัยการใช้งาน
ความพึงพอใจของผู้ใช้งาน
การใช้งาน
ความพึงพอใจของผู้ใช้งาน
การบอกต่อ
ความตั้งใจใช้บริการอย่างต่อเนื่อง
ระบบเงินอิเล็กทรอนิกส์
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาอิทธิพลของคุณภาพการบริการ ความง่ายใน การใช้งาน และความปลอดภัยต่อการใช้งานของผู้ที่ใช้งานระบบเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e–Money) ในการชำระค่าสินค้า และบริการผ่านสมาร์ทโฟน 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของคุณภาพการให้บริการ ความง่ายในการใช้งาน ความปลอดภัย และการใช้งานต่อความพึงพอใจของผู้ที่ใช้งานระบบเงิน อิเล็กทรอนิกส์ (e–Money) ในการชำระค่าสินค้าและบริการผ่านสมาร์ทโฟน 3) เพื่อศึกษาอิทธิพล ของการใช้งาน และความพึงพอใจต่อความตั้งใจใช้งานอย่างต่อเนื่องของผู้ที่ใช้งานระบบเงิน อิเล็กทรอนิกส์ (e–Money) ในการชำระค่าสินค้า และบริการผ่านสมาร์ทโฟน 4) เพื่อศึกษาอิทธิพล ของการใช้งาน และความพึงพอใจต่อการบอกต่อของผู้ที่ใช้งานระบบเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e–Money) ในการชำระค่าสินค้า และบริการผ่านสมาร์ทโฟน และ 5) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดล ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุอิทธิพลของคุณภาพการใช้บริการ ความง่ายในการใช้งาน และความปลอดภัย ต่อการใช้งาน ความพึงพอใจ การบอกต่อ และความตั้งใจใช้บริการอย่างต่อเนื่องของผู้ที่ใช้งานระบบ เงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money) ในการชำระค่าสินค้า และบริการผ่านสมาร์ทโฟน ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณโดยทำการวิจัยเชิงประจักษ์ ใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากของผู้ที่ใช้งานระบบเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e–Money) ใน การชำระค่าสินค้า และบริการผ่านสมาร์ทโฟน จำนวน 424 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ การหาค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ย การหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยแสดงว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี ค่าไค–สแควร์ (2) มีค่าเท่ากับ 364.486 ค่าองศาอิสระ (df) มีค่าเท่ากับ 379 ค่าไค–สแควร์สัมพัทธ์ (2/df) มีค่าเท่ากับ 0.962 ค่าความน่าจะเป็น (p–value) มีค่าเท่ากับ 0.695 ค่าดัชนีค่าความ คลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) มีค่าเท่ากับ 0.000 ค่าความสอดคล้องของ ดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) มีค่าเท่ากับ 0.955 และค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้ (AGFI) มีค่าเท่ากับ 0.908 นอกจากนี้ผลการวิจัยยังพบว่า 1) คุณภาพการให้บริการมีอิทธิพลเชิงบวกต่อการใช้งาน 2) ความง่ายในการใช้งานมีอิทธิพลทางบวกต่อการใช้งาน 3) ความปลอดภัยมีอิทธิพลทางบวกต่อการใช้งาน 4) คุณภาพการให้บริการมีอิทธิพลเชิงบวกต่อความพึงพอใจของผู้ที่ใช้งาน 5) ความง่ายในการใช้งานมีอิทธิพลทางบวกต่อความพึงพอใจของผู้ที่ใช้งาน 6) ความปลอดภัยมีอิทธิพลทางบวกต่อความพึงพอใจของผู้ที่ใช้งาน 7) การใช้งานมีอิทธิพลเชิงบวกต่อความพึงพอใจของผู้ที่ใช้งาน 8) การใช้งานมีอิทธิพลเชิงบวกต่อการบอกต่อ 9) ความพึงพอใจของผู้ใช้งานมีอิทธิพลเชิงบวกต่อการบอกต่อ 10) การใช้งานมีอิทธิพลเชิงบวกต่อความตั้งใจใช้งานอย่างต่อเนื่อง 11) ความพึงพอใจของผู้ใช้งานมีอิทธิพลเชิงบวกต่อความตั้งใจใช้งานอย่างต่อเนื่อง ผลจากการวิจัยมีข้อเสนอแนะให้ผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e–Money) ในการชำระ ค่าสินค้าและบริการผ่านสมาร์ทโฟน ควรมุ่งเน้นคุณภาพการให้บริการ ความง่ายในการใช้งาน และ ความปลอดภัย เพื่อส่งผลให้เกิดการใช้งาน ความพึงพอใจของผู้ใช้งาน การบอกต่อ และความตั้งใจ ใช้งานอย่างต่อเนื่องที่เพิ่มมากขึ้น
The objectives of this research were 1) To study the influence of service quality, ease of use, and security on use of customer using e–money on smartphone; 2) To study the influence of service quality, ease of use, security and use on user satisfaction of customer using e–money on smartphone; 3) To study the influences of use and user satisfaction on word of mouth of customer using e–money on smartphone. customers; 4) To study the influences of use and user satisfaction on continuance intention of customer using e-money on smartphone. customers. customers; and 5) To validate a causal relationship model of influence of service quality, ease of use, and security on use, user satisfaction, word of mouth and continuance intention of customer using e-money on smartphone. customers with empirical data. The researcher used quantitative method which involved empirical research. The instrument of research was a questionnaire used to collect data from 400 customers of user e-money on smartphone. The statistics used in data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation and structural equation model analysis. It was found that the model was consistent with the empirical data. Goodness of fit measures were found to be: 2 = 364.486 (df = 379, p–value = 0.695); Relative Chi–square (2/df) = 0.962; Goodness of Fit Index (GFI) = 0.955; Adjusted Goodness of Fit Index (AGFI) = 0.908 and Root Mean Square Error of Approximation (RMSEA) = 0.000. It was also found that 1) Service quality value had a positive and direct influence on use. 2) Ease of use had a positive and direct influence on use. 3) Security had a positive and direct influence on use. 4) Service quality value had a positive and direct influence on user satisfaction. 5) Ease of use had a positive and direct influence on user satisfaction. 6) Security had a positive and direct influence on user satisfaction. 7) Use had a positive and direct influence on user satisfaction. 8) Use had a positive and direct influence on word of mouth. 9) User satisfaction had a positive and direct influence on word of mouth. 10) Use had a positive and direct influence on continuance Intention. 11) User satisfaction had a positive and direct influence on continuance Intention. Based on these findings, the researcher recommends that company who provide e–money service on smartphone more fully focus on service quality, ease of use, and security in order to deepen use, user satisfaction, word of mouth and continuance intention.
Description: การค้นคว้าอิสระ (บธ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2560
Subjects: การชำระเงิน
บริการธนาคารทางโทรศัพท์เคลื่อนที่
การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
การบอกต่อทางธุรกิจ
บริการลูกค้า
การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
Advisor(s): อัมพล ชูสนุก
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3928
Appears in Collections:Independent Studies - Master
Independent Studies

Files in This Item:

File Description SizeFormat
Thitirat_dees.pdf5.21 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback