DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3800

Title: การรับรู้ประโยชน์จากอรรถประโยชน์และการรับรู้ประโยชน์จากความสุขที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อชาพร้อมดื่มของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Utilitarian benefit and hedonic benefit affecting decision to buy ready-to-drink tea of consumers in Bangkok
Authors: กัญญดา ชมภูทิพย์
Keywords: การรับรู้ประโยชน์
อรรถประโยชน์
การรับรู้ประโยชน์จากความสุข
การตัดสินใจซื้อ
ชาพร้อมดื่ม
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ประโยชน์จากอรรถประโยชน์และการรับรู้ประโยชน์จากความสุขที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อชาพร้อมดื่มของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร โดยตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ผู้บริโภคที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ซึ่งจำนวนนี้ได้จากการใช้ตารางการกำหนดกลุ่มตัวอย่างของทาโร่ ยามาเน่ ซึ่งงานวิจัยฉบับนี้เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามปลายปิด ที่มีค่าความเชื่อมั่นรวมของกลุ่มตัวอย่าง 30 ตัวอย่างเท่ากับ 0.817 และกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 ตัวอย่าง มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามโดยรวมเท่ากับ 0.832 และมีการตรวจสอบความเที่ยงตรงของคำถามจากผู้ทรงคุณวุฒิ โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ความถดถอยอย่างง่าย (Simple Regression Analysis) ซึ่งจากการศึกษา พบว่า ตัวแปรอิสระ ซึ่งได้แก่ ปัจจัยการรับรู้ประโยชน์จากอรรถประโยชน์ ด้านคุณภาพ ด้านความประหยัด และความสะดวกสบาย มีผลต่อการตัดสินใจซื้อชาพร้อมดื่มของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร และปัจจัยการรับรู้ประโยชน์จากความสุข ด้านคุณค่า และด้านความบันเทิง ผลต่อการตัดสินใจซื้อชาพร้อมดื่มของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
The objective of this research was to study the Perceived Benefits from Utilization and Perceived Benefits from Happiness Affecting Decision to Buy Ready-to-Drink Tea of Consumers in Bangkok. The samples had 400 consumers used in this study were Consumers living in Bangkok area were sampled using a specific sampling method. This is due to the use of Taro Yamane’s sample schedule. This research is survey research. The tool used to collect data was a closed-end questionnaire. The reliability of the sample of 30 samples was 0.817, and the reliability of 400 samples was 0.832, and the experts verified the validity of the questionnaire. Statistics used in data analysis are divided into two types: descriptive statistics, mean, percentage, standard deviation, and inferential statistics was Multiple Regression Analysis. The results found that the independent variables: Utilitarian Benefit from quality, savings and comfort affecting the decision to purchase ready-to-drink tea in Bangkok. Hedonic Benefit from values and entertainment affecting of the decision to buy ready-to-drink tea in Bangkok with a statistical significance at 0.05.
Description: การค้นคว้าอิสระ (บธ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2560
Subjects: ชา
ชา -- การตัดสินใจ
ชา -- การจัดซื้อ
การเลือกซื้อสินค้า
Advisor(s): คมสัน ตันสกุล
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3800
Appears in Collections:Independent Studies - Master
Independent Studies

Files in This Item:

File Description SizeFormat
kanyada_chom.pdf3.4 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback