DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3756

Title: ทัศนคติ การรับรู้ และพฤติกรรมการติดตามผลงานของธัญญ่า อาร์สยาม: กรณีศึกษาจังหวัดปทุมธานี
Other Titles: Attitude perception and follow-up behavior of Thanya Rsiam: A case study of Pathum Thani Province
Authors: ชยรพ ประทิศ
Keywords: ทัศนคติ
การรับรู้
พฤติกรรมการติดตามผลงาน
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การศึกษาวิจัยเรื่องทัศนคติ การรับรู้ และพฤติกรรมการติดตามผลงานของธัญญ่า อาร์สยาม: กรณีศึกษาจังหวัดปทุมธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติ ระดับการรับรู้ และระดับพฤติกรรมการติดตามผลงานของธัญญ่า อาร์สยาม ของประชากรในจังหวัดปทุมธานี สำหรับงานวิจัยครั้งนี้ เป็นวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง 300 ราย จากการศึกษาพบว่า ชาวจังหวัดปทุมธานี ที่ศึกษาในงานวิจัยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีจำนวน 166 คน คิดเป็นร้อยละ 55.3 มี ช่วงอายุ 21 - 30 ปี จำนวน 112 คน คิดเป็นร้อยละ 37.3 มีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี จำนวน 246 คน คิดเป็นร้อยละ 82.0 มีอาชีพเป็นพนักงานบริษัท จำนวน 159 คน คิดเป็นร้อยละ 53.0 มีรายได้ต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท จำนวน 96 คน คิดเป็นร้อยละ 32.0 ความถี่ในการรับชม/ฟังผลงาน 1 ครั้ง/สัปดาห์ จำนวน 144 คน คิดเป็นร้อยละ 48.0 รับชม/ฟัง ผลงานผ่านอินเตอร์เน็ต จำนวน 191 คน คิดเป็นร้อยละ 63.7 รู้จักธัญญ่า อาร์สยาม มาเป็นเวลามากกว่า 3 ปี จำนวน 129 คน คิดเป็นร้อยละ 43.0 ระดับทัศนคติต่อผลงาน ระดับการรับรู้ผลงานและภาพลักษณ์ และระดับพฤติกรรมการติดตามผลงานของธัญญ่า อาร์สยาม อยู่ในระดับปานกลาง คือ มีค่าเฉลี่ย 3.19 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .618 ค่าเฉลี่ย.16 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .814 และ ค่าเฉลี่ย 2.87 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .952 ตามลำดับ จากการทดสอบสมมติฐานพบว่า เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ ระดับทัศนคติ และระดับการรับรู้ผลงานและภาพลักษณ์ แตกต่างกันจะมีระดับพฤติกรรมการติดตามผลงานของธัญญ่า อาร์สยาม ที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากการทดสอบความสัมพันธ์ พบว่า ระดับพฤติกรรมการติดตามผลงาน (Y) มีความสัมพันธ์ในระดับมากกับการรับรู้ผลงานและภาพลักษณ์ X2 และระดับทัศนคติ X1 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เป็น .796 และ .796 ตามลำดับ
A study on "Attitude, Perception and Follow-up Behavior of Thanya Rsiam: A Case Study in Pathum Thani Province" aimed to study attitude, perception, and follow-up behavior toward Thanya Rsiam, in the sight of people living in Pathum Thani province. This research was conducted by questionnaire-based research. The sample size was 300. The majority of the respondents in the study were female (166 persons or 55.3%) and age of 21 - 30 year 112 (37.3%). There were 246 employees or 82.0%. The number of employees were 159, accounting for 53.0%. Their monthly income was not more than 10,000 Baht, accounting for 32.0% of the 144 viewers, 48.0% watched and listened to Thanya Rsiam’s work via the Internet. 191person or 63.7% had been known the artist for more than 3 years. There were 129 members or 43.0 percent, Mean of attitudes Perception and Follow-up Behavior was 3.19, 3.16 and 2.87 with standard deviation of .618,.814 and .952, respectively. Based on the hypotheses, the study revealed that, there are different levels of follow-up behavior, those who had different genders, ages, education levels, occupations, incomes, attitude, and perception., The level of follow-up behavior was significantly correlated with image and attitude, with correlation coefficients of .796 and .796, respectively, at the level of .05.
Description: การค้นคว้าอิสระ (นศ.ม.)--สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2561
Subjects: ทัศนคติ
ธัญญ่า อาร์สยาม -- ทัศนะเกี่ยวกับการศึกษา
ดาราภัช ทวินันท์ -- ทัศนะเกี่ยวกับการศึกษา
ธัญญ่า อาร์สยา -- ผลงาน
ดาราภัช ทวินันท์ -- ผลงาน
การรับรู้
Advisor(s): ปฐมา สตะเวทิน
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3756
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
chayarop_prat.pdf3.1 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback