DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3678

Title: การรับรู้ข้อมูล แรงจูงใจ ความไว้ใจที่ส่งผลต่อการแชร์โฆษณาบนโซเชียลมีเดีย
Other Titles: Perception of information, motivation, trust that affect advertisement sharing on social media
Authors: ศิรณตา มั่นคงพรวิเชียร
Keywords: การรับรู้ข้อมูล
แรงจูงใจ
ความไว้ใจ
การแชร์โฆษณาบนโซเชียลมีเดีย
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การรับรู้ข้อมูล แรงจูงใจ ความไว้ใจที่ส่งผลต่อการแชร์โฆษณาบนโซเชียลมีเดีย ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือผู้บริโภคที่มีอายุ20-40ปี จำนวน 110 คน โดยงานวิจัยฉบับนี้เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม และได้รับการตรวจสอบความสมบูรณ์ของเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ( Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า การรับรู้ข้อมูล แรงจูงใจ ความไว้ใจ ของผู้บริโภคมีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง และการแชร์โฆษณาบนโซเชียลมีเดียมีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า การรับรู้ข้อมูล แรงจูงใจ ความไว้ใจ ส่งผลต่อการแชร์โฆษณาบนโซเชียลมีเดีย โดยความไว้ใจส่งผลต่อการแชร์โฆษณาบนโซเชียลมีเดียมากที่สุด รองลงมาคือแรงจูงใจทางด้านอารมณ์ และการรับรู้ข้อมูลด้านการเลือกจดจำ ตามลำดับ ส่วนแรงจูงใจทางด้านเหตุผล การรับรู้ข้อมูลด้านการเลือกเปิดรับหรือเลือกสนใจ และการเลือกจดจำ ไม่ส่งผลต่อการแชร์โฆษณาบนโซเชียลมีเดีย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
This study is aimed to investigate the awareness of information, motivation, trust that impacts to advertisement shares on social media. There are 110 consumers where majority residents are in 20-40 yeas for sample study by calculated from G*Power program. This is survey research. The tool that has been used for this survey is questionnaire and it’s been completely checked by the expert. The statistics used for hypothesize are 1. Descriptive statistics, there are frequency, average, percentage, standard deviation, multiple regression analysis. The study has found that awareness of information, motivation, trust of consumers review is in the middle. And online advertising shearing has their review in average. The hypothesis testing was given the reasonable result that trust is the most effective to advertisement shearing on social media. Second is emotional motive and last, the perception towards the information. For motivated reasoning, perception of opening and interest in information and selective memorizing do not affect to online advertising sharing which statistical significance at level 0.05
Description: การค้นคว้าอิสระ (บธ.ม.) --บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2560
Subjects: โฆษณาทางอินเทอร์เน็ต
การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
โฆษณา
การจัดการโฆษณา
Advisor(s): ไกรฤกษ์ ปิ่นแก้ว
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3678
Appears in Collections:Independent Studies - Master
Independent Studies

Files in This Item:

File Description SizeFormat
siranata_mank.pdf3.66 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback