DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3627

Title: การตระหนักรู้ทางวัฒนธรรม ภาพลักษณ์การท่องเที่ยว และความกลัวการรับประทานอาหารแปลกใหม่ ที่มีผลต่อแนวโน้มในการรับประทานอาหารท้องถิ่นจังหวัดพระนครศรีอยุธยาของนักท่องเที่ยวชาวไทย
Other Titles: Cultural awareness, Destination Image and Food Neophobia affecting Local Food Consumption Trends of Thai Tourists in Ayutthaya
Authors: อารยา สุวรรณสุจริต
Keywords: การตระหนักรู้ทางวัฒนธรรม
ภาพลักษณ์การท่องเที่ยว
ความกลัวการรับประทานอาหารแปลกใหม่
แนวโน้มในการรับประทานอาหารท้องถิ่น
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการตระหนักรู้ทางวัฒนธรรม ภาพลักษณ์การท่องเที่ยวของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และความกลัวการรับประทานอาหารแปลกใหม่ ที่มีผลต่อแนวโน้มในการรับประทานอาหารท้องถิ่นจังหวัดพระนครศรีอยุธยาของนักท่องเที่ยวชาวไทย ประชากรในการวิจัย คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เคยมาท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาอายุระหว่าง 20-40 ปี โดยขนาดของกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 103 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม คือ แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .748 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าความถี่ (Frequency) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน (Standard Deviation) และการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงเส้นในรูปแบบการวิเคราะห์พหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า นักท่องเที่ยวมีความตระหนักรู้ทางวัฒนธรรมในระดับมาก และรับรู้ภาพลักษณ์การท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยาด้านสิ่งดึงดูดใจในระดับมากที่สุด ตามด้วย ด้านการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านที่พัก และด้านกิจกรรม สำหรับความกลัวการรับประทานอาหารแปลกใหม่ มีความคิดเห็นในระดับปานกลาง และนักท่องเที่ยวมีแนวโน้มในการรับประทานอาหารท้องถิ่นจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า การตระหนักรู้ทางวัฒนธรรม และภาพลักษณ์การท่องเที่ยวของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาด้านการเข้าถึงแ หล่งท่องเที่ยว มีผลต่อแนวโน้มในการรับประทานอาหารท้องถิ่นจังหวัดพระนครศรีอยุธยาของนักท่องเที่ยวชาวไทย ในขณะที่ความกลัวการรับประทานอาหารแปลกใหม่ และภาพลักษณ์การท่องเที่ยวของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาด้านสิ่งดึงดูดใจ ด้านกิจกรรม ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก และด้านที่พัก ไม่มีผลต่อแนวโน้มในการรับประทานอาหารท้องถิ่นจังหวัดพระนครศรีอยุธยาของนักท่องเที่ยวชาวไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
This theses aims to study culture awareness of Ayutthaya tourism and new food expedition barrier which effects consumption of local culinary trend. Population in this theses are tourists aged between 20 to 40 years old with sample of 103 people. Means to collect information are questionnaires with stability of 0.748. Statistics applied in analyzing this information includes descriptive statistics and inferential statistics. Results shows that tourists have high level of awareness and perceive tourism in Ayutthaya as the most desirably attractive level, following with access to tourist attractions, facilities, accommodations and activities. For new food expedition barrier, questionnaire reveals moderate level of barrier and tourists tend to consume local food in high level. Assumption test found that culture awareness and tourism perception of Ayutthaya in term of access to tourist attractions effect consumption of local food in Ayutthaya for Thai tourists, while new food expedition barrier and perception of Ayutthaya tourism in term of attractiveness, activities, facilities and accommodations have no significate effect to consumption trend with statistics of 0.05.
Description: การค้นคว้าอิสระ (บธ.ม.) -- บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทบาลัยกรุงเทพ, 2560
Subjects: ไทย -- ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว
พระนครศรีอยุธยา -- ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว
วัฒนธรรมกับการท่องเที่ยว
การบริโภคอาหาร (เศรษฐศาสตร์)
นักท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
การท่องเที่ยวเชิงอาหาร
Advisor(s): ไกรฤกษ์ ปิ่นแก้ว
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3627
Appears in Collections:Independent Studies - Master
Independent Studies

Files in This Item:

File Description SizeFormat
araya_suwa.pdf3.89 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback