DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3478

Title: การเปิดรับสื่อสังคม การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Media exposure, Media Uses and Gratification for Development quality of life of people in Bangkok Metropolitan
Authors: กัตติกา แก้วมณี
Keywords: คุณภาพชีวิตของประชาชน
พฤติกรรมการเปิดรับสื่อสังคม
ความพึงพอใจและการนำไปใช้ประโยชน์
สื่อสังคม
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การเปิดรับสื่อสังคม การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจในการพัฒนาคุณภาพของประชาชนในกรุงเทพมหานคร โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 268 คน โดยใช้สูตรวิเคราะห์จำนวนตัวอย่าง G*Power โดยการกำหนดสถิติในการวิเคราะห์ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) และ การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) ด้วยวิธีเลือกแบบไม่ทราบจำนวนประชากร ซึ่งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการเปิดรับสื่อสังคมส่วนใหญ่จะใช้เวลาในการใช้เฟซบุ๊กและอินสตาแกรม ซึ่งการใช้สื่อสังคมส่วนใหญ่มักจะใช้ที่พักอาศัย (ที่บ้าน/คอนโด/อะพาร์ตเมนต์/หอพัก) และส่วนใหญ่ใช้โทรศัพท์มือถือเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเปิดรับสื่อสังคมบ่อยที่สุด การใช้ประโยชน์จากสื่อสังคม ส่วนใหญ่นั้นจะเน้นการใช้ประโยชน์สื่อสังคมเพื่อกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมทางการเงิน และมีความพึงพอใจในรูปแบบของการโพสต์ เนื่องจากได้รับข้อมูลที่ทันสมัย รวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ ซึ่งช่วยในการพัฒนาคุณภาพชีวิตในทุกๆด้าน เช่น ด้านสุขภาพร่างกาย ด้านข้อคิด คติ ธรรมะ ส่งผลให้มีทัศนคติในการมองโลกในแง่ดี และยังได้ใช้ประโยชน์จากสื่อสังคมในการพัฒนาทักษะต่างๆ เช่น ในด้านการทำงาน สร้างแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิตให้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยส่งเสริมการทำงานในอาชีพให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เป็นอีกช่องทางที่ท่านสามารถหารายได้เสริม รู้จักการวางแผนออมเงินเพื่อนรายได้บางส่วนไปช่วยเหลือบุคคลที่ต้องการความช่วยเหลือได้ง่ายขึ้น ส่งผลให้ท่านมีจิตสาธารณะ สามารถแบ่งปันสิ่งต่างๆให้กับผู้อื่น ทั้งยังช่วยส่งเสริมให้ท่านมีแนวปฏิบัติในการเป็นพลเมืองที่ดี ทำให้ได้เรียนรู้เรื่องราวใหม่ ๆ จากทั่วโลก
The objective of this research is to study about the social media utilization and satisfaction of people in Bangkok on how it improves the quality of life. The sample group includes 268 people, calculating the number of people by G*Power. Statistical tools used for this research are Pearson’s the Product Moment Correlation Coefficient and One-Way Analysis of Variance (ANOVA) with infinite population. The data is collected through the questionnaire. The results show that most of the samples use Facebook and Instagram and they usually slide through the applications while they are at the residence: home, condominium, apartment or dormitory. Besides that, they usually log in through their phones. In terms of the utilization, a number of participants use the social media for activities involving financial transaction. These people are satisfied the applications’ posting feature because this feature gives the up-to-date information which helps them to stay updated. This information benefits the participants in many aspects such as health, thoughts, ideas and moral. Thus, when their lives are improved, their attitudes are changed for the better. Not only that but the participants also use the social media as a mean to develop their skills, for example, the skills related to work. They get inspired from the posts and want to have a better life. The social media also plays a role in increasing work efficiency since it can be the other way for those people to make a living. Apart from the job issue, some participants start to do financial planning because of the social media. They want to manage their money because it is now easier to donate to whomever in need. Consequently, the social media can enhance those people’s public mind. They can send out things to help each other. The social media also can show people how to be better citizens and help them to learn new things from all over the world.
Description: การค้นคว้าอิสระ (นศ.ม.) -- สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2560
Advisor(s): อริชัย อรรคอุดม
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3478
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
kattika_kaew.pdf4.78 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback