DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3448

Title: ปัจจัยการรับรู้คุณค่าและคุณสมบัติผลิตภัณฑ์ ที่ส่งผลต่อแรงจูงใจและความตั้งใจซื้อไอเท็มภายในเกมส์ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Effects of Perceived Value and Product Attributes on Motivation and Purchase Intention for In-Game Items.
Authors: ชนภัทร วชิรธรรมพร
Keywords: การรับรู้คุณค่า
คุณสมบัติผลิตภัณฑ์
แรงจูงใจ
ความตั้งใจซื้อ
ไอเท็มภายในเกมส์
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การศึกษาฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สำรวจทัศนคติของผู้เล่นเกมส์ที่มีต่อปัจจัยการรับรู้คุณค่า คุณสมบัติผลิตภัณฑ์ แรงจูงใจ และความตั้งใจซื้อไอเท็มภายในเกมส์ (2) วิเคราะห์อิทธิพลของปัจจัยการรับรู้คุณค่าและคุณสมบัติผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลต่อแรงจูงใจ (3) วิเคราะห์อิทธิพลของปัจจัยการรับรู้คุณค่าและคุณสมบัติผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อไอเท็มภายในเกมส์ (4) วิเคราะห์อิทธิพลของปัจจัยแรงจูงใจที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อไอเท็มภายในเกมส์ ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้เล่นเกมส์และมีประสบการณ์ซื้อไอเท็มภายในเกมส์ โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน มีจำนวน 285 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นได้เท่ากับ 0.901 และมีการตรวจสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น คือ สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอ้างอิงที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐานที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 คือ การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 15-20 ปี ประกอบอาชีพนักเรียน/นักศึกษา รายได้เฉลี่ยต่ำกว่า 20,000 บาท/เดือน มีสาเหตุหลักในการเติมเงินซื้อไอเท็มภายในเกมส์ คือ การมีโปรโมชั่นพิเศษ ในช่วงเวลาที่จำกัด ระดับราคาไอเท็มภายในเกมส์ส่วนใหญ่ที่ซื้ออยู่ที่ 101-300 บาท/ชิ้น ผลการทดสอบสมมุติฐานพบว่า ปัจจัยการรับรู้คุณค่า และคุณสมบัติผลิตภัณฑ์ ส่งผลต่อแรงจูงใจในการซื้อไอเท็มภายในเกมส์ ปัจจัยการรับรู้คุณค่า และคุณสมบัติผลิตภัณฑ์ ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อไอเท็มภายในเกมส์ และปัจจัยแรงจูงใจ ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อไอเท็มภายในเกมส์
The study aims to (1) Explore gamers’ attitude toward perceived value, product attributes, motivation, and purchase intention. (2) Examine the effects of perceived value and product attributes on motivation. (3) Examine the effects of perceived value and product attributes on purchase intention. (4) Examine the effects of motivation on purchase intention. The Empirical data were collected from 285 games with an in-game item purchasing experience. The tools used in this study were the multi-stage sampling questionnaires with reliability value of 0.901 and were approved the accuracy of the contents by experts. The statistics used for analyzing basic information was descriptive statistics include Percentage, Mean, and Standard Deviation. The reference statistics used for hypothesis testing was Multiple Regression Analysis. The results showed that the majority of respondents were male aged between 15-20 years and also students. Most of them had monthly income below 20,000 baht and purchased items in the price range 101-300 Baht/item. The main reason for in-game item purchasing was a limited-time promotion. Furthermore, this study demonstrates that perceived value and product attributes positively influence motivation, perceived value and product attributes significantly influence purchase intention, and motivation has positively effect on purchase intention at 0.05.
Description: การค้นคว้าอิสระ (บธ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2560
Subjects: การเลือกชื่อตราผลิตภัณฑ์
ความภักดีต่อชื่อตราผลิตภัณฑ์
ความตั้งใจ
เกมอินเทอร์เน็ต
เกมอิเล็กทรอนิกส์
เกมอิเล็กทรอนิกส์ -- การจัดซื้อ
เกมอินเทอร์เน็ต -- การจัดซื้อ
Advisor(s): เกษมสันต์ พิพัฒน์ศิริศักดิ์
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3448
Appears in Collections:Independent Studies - Master
Independent Studies

Files in This Item:

File Description SizeFormat
chanapat_vach.pdf7.12 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback