DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3179

Title: ความรุนแรงที่ปรากฏในละครชุด คลับฟรายเดย์ เดอะ ซีรีส์ 9
Other Titles: The Study of Violence of Club Friday The Series 9
Authors: ภาณิชา พิมพ์ทองงาม
Keywords: ละครชุด
ความรุนแรง
การเล่าเรื่อง
ภาพสะท้อน
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาลักษณะการเล่าเรื่องในละครชุดคลับฟรายเดย์ เดอะซีรีส์ 9 วิเคราะห์ลักษณะความรุนแรงที่เกิดขึ้นในละครชุดคลับฟรายเดย์ เดอะซีรีส์ 9 และ วิเคราะห์ความรุนแรงที่ปรากฎในละครชุดคลับฟรายเดย์ เดอะซีรีส์ 9 ที่สะท้อนให้เห็นถึงลักษณะของสังคมไทย โดยอาศัยวัตถุประสงค์หลักในการศึกษา กรอบแนวคิดการเล่าเรื่อง แนวคิดความรุนแรง และแนวคิดการสะท้อนภาพผู้หญิงในสื่อมวลชน ซึ่งการวิจัยในครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ วิเคราะห์จากตัวบทของละคร จำนวน 5 เรื่อง 23 ตอน ผลวิจัยพบว่าละครที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรุนแรง พบว่ามีการนำเสนอภาพความรุนแรงที่มีความสอดคล้องกับความเป็นจริง ซึ่งการนำเสนอภาพความรุนแรงเหล่านั้น มักสร้างขึ้นมาจากเรื่องที่เกิดขึ้นในสังคม นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอภาพสะท้อนของผู้หญิงในสื่อมวลชน ผู้หญิงที่เป็นแม่ศรีเรือน มีความเป็นกุลสตรี ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการยึดติดกับอุดมคติความเป็นผู้หญิงแบบเก่าที่ผู้หญิงต้องอยู่ด้อยกว่าผู้ชาย ผู้หญิงต้องได้รับการดูแลภายใต้การปกป้องของผู้ชาย โดยในละครนั้นผู้หญิงเป็นเพศที่ด้อยกว่าผู้ชาย และมักจะถูกกระทำความรุนแรงจากฝ่ายชายก่อนเสมอ จึงอธิบายได้ว่า ความรุนแรงเป็นสิ่งที่มนุษย์นำมาใช้ในการยุติความขัดแย้งต่างๆ จากปัจจัยหรือสภาพแวดล้อมต่างๆ ซึ่งเกิดจากการกระทำที่ตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ ดังนั้นละครจึงได้ให้บทเรียนถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น เพื่อให้ตะหนักรู้ว่า การกระทำความรุนแรงในการยุติปัญหา ไม่ใช่ทางออกที่ดีเสมอไป
The purpose of this research were to study the narrative of the Club Friday The Series 9 to analyze the type of the violence that occurs in Club Friday The Series 9 and to analyze the violence that occurs in Club Friday The Series 9 that reflects the characteristics of Thai society. Using the main purpose to study and the conceptual framework of narrative, violence and the concept of female reflection in the media. The research was qualitative methods by textual analyzing. The results showed that the violence from the drama representation of women in reality social. The film, it showed from true life and women in the memory that their behaviors were nice and based below men. Women or female were protected by men. Many films showed that the representation of women and violence by men firstly. Then this type of story/research stated show that violence is not the best way to solve the problems.
Description: การค้นคว้าอิสระ (นศ.ม.) -- สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2560
Subjects: ความรุนแรง
ละครโทรทัศน์
ความรุนแรงต่อสตรี
ละครโทรทัศน์ไทย
Advisor(s): มนฑิรา ธาดาอำนวยชัย
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3179
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
panicha_pimt.pdf5.49 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback