DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3178

Title: การสื่อสารเพื่อธำรงอัตลักษณ์แฟนคลับฟุตบอลไทย
Other Titles: Communication for Maintaining Identity of Thai Football Fan Club
Authors: จีรนันท์ พหลโยธิน
Keywords: การสื่อสาร
แฟน
ฟุตบอลไทย
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาเกี่ยวกับการสื่อสารของแฟนคลับฟุตบอลไทย เพื่อชี้ให้เห็นบทบาทของแฟนบอลที่มีความสำคัญในการก่อให้เกิดกระแสนิยมในกีฬาฟุตบอลไทย ผู้วิจัยได้เลือกศึกษาจากกลุ่มแฟนบอล แบ่งออกเป็น 3 ทีม ได้แก่ แฟนบอลทีมชลบุรี เอฟซี, แฟนบอลทีมการท่าเรือ เอฟซี และแฟนบอลทีมเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด ด้วยแนวคิดเรื่องบทบาทของสื่อและการสื่อสารที่มุ่งศึกษาไปในด้านของการสื่อสารซึ่งเป็นพฤติกรรมหลักของมนุษย์ และแนวคิดแฟนและแฟนดอม ซึ่งมุ่งไปที่การพิจารณาในด้านความคลั่งไคล้จนนำไปสู่การอุทิศตน รวมทั้งแนวคิดเกี่ยวกับอัตลักษณ์ที่สอดคล้องกับการสื่อสารและความเป็นแฟนเพื่อบอกผู้อื่นให้รับรู้ว่า “เราคือใคร” ผ่านความรู้สึกนึกคิด โดยข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยมาจากการศึกษาเอกสารทบทวนวรรณกรรม การสนทนากลุ่ม และการสังเกตพฤติกรรมของแฟนบอลทั้งในสนามและนอกสนาม ผลการศึกษาพบว่า กิจกรรมในสนามเป็นเพียงจุดเริ่มต้นที่ต่อยอดความสัมพันธ์ภายในกลุ่มแฟนบอลไปสู่กิจกรรมนอกสนาม โดยกิจกรรมเหล่านี้ก่อให้เกิดการรวมตัวเป็นกลุ่มแฟนบอลหรือชุมชนแฟน เป็นสังคมที่เกิดขึ้นใหม่ที่มีความแตกต่างไปตามบริบททางสังคมและวัฒนธรรมภายในกลุ่ม แฟนบอลส่วนใหญ่ใช้เวลาร่วมกันนอกสนามทำกิจกรรมต่างๆ เช่น การสังสรรค์เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ภายในกลุ่ม การจัดทำสินค้าต่างๆ การติดต่อสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อออนไลน์ อีกทั้งการสร้างบรรยากาศร่วมกันของกลุ่มแฟนบอลในระหว่างการแข่งขันก็เป็นองค์ประกอบของการสื่อสารเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ของกลุ่มแฟนบอล การรวมตัวกันเป็นชุมชนแฟนนี้มีส่วนช่วยในการสื่อสารกีฬาฟุตบอลไทยไปสู่สังคมภายนอก จึงทำให้ในปัจจุบันฟุตบอลไทยเป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น จากการวิจัยสรุปได้ว่าบทบาทของแฟนบอลแต่ละกลุ่มเกิดขึ้นจากความรักและศรัทธาในทีมฟุตบอลไทย การรวมตัวและเกิดขึ้นของสังคมแฟนบอลเป็นหนึ่งองค์ประกอบในการก่อให้เกิดความเป็นอัตลักษณ์ของแฟนบอลแต่ละกลุ่ม และการสื่อสารได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการเชื่อมความสัมพันธ์ภายในกลุ่ม ในปัจจุบันการสื่อสารผ่านช่องทางออนไลน์เข้ามามีบทบาทในกลุ่มแฟนบอลมากขึ้น เนื่องจากมีความสะดวก รวดเร็ว และเข้าถึงได้ง่าย การสื่อสารผ่านช่องทางออนไลน์ในรูปแบบสื่อใหม่นี้เองที่มีส่วนช่วยในการทำให้เกิดการรวมตัวของกลุ่มแฟนบอลอันนำไปสู่โอกาสในการสื่อสารระหว่างบุคคลที่ก่อให้เกิดความเป็นอัตลักษณ์ และอัตลักษณ์เหล่านั้นจะดำรงอยู่ได้ต้องอาศัยความแน่นแฟ้นของกลุ่มแฟนบอล ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าการสื่อสารเป็นตัวแปรสำคัญในการเชื่อมความสัมพันธ์อันนำไปสู่การธำรงค์อัตลักษณ์ความเป็นแฟนฟุตบอลไทย
The objective of this qualitative research was to study the communication process of Thai football fans in order to see the role of football fans in starting a new trend of Thai football popularity. The researcher studied fans of three football teams, namely Chonburi FC, Port FC and SCG Muangthong United. The concept of the role of media and communication was based on and focused on exploring communication, which is main human behavior. The concept if fans and fandom were also studied by focusing on craziness towards self-devotion. The concept of identity that is consistent to the communication and fandom that reflect “Who we are” was explored. This can derive from the interaction between us and other through and emotion. The researcher also studied how to define the meanings and imagine for real things. Data collected were from related documents and researches, literature review, focus-group discussion and field data through observing fans’ behaviors inside and outside the field. The results of this study indicated that each FC group had single goal, which was craziness in Thai football team. However, they had difference in identity. Shared activities were not limited to cheering together inside the field but it was the starting point to build the relationship between fans, leading to doing activities outside the field. These activities could be done together on match day and normal day. These activities bring about football fans gathering, generating a new society that is different from in-group social and cultural context. Most of fans spent time together outside the field to do activities such as party for building in-group relationship, creating souvenir, contact and publicizing information via online media. Moreover, atmosphere was built to share the common emotion during the match as an element of communication and linking the relationship between them. This gathering of fans play important role for communicating Thai football team to outsiders, expanding Thai football team’s reputation.
Description: การค้นคว้าอิสระ (นศ.ม.) -- สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2560
Subjects: ฟุตบอล -- แง่สังคม
แฟนฟุตบอล
ผู้ชมกีฬา
ฟุตบอล
ทีมฟุตบอล
ทีมฟุตบอล -- ไทย
Advisor(s): วิโรจน์ สุทธิสีมา
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3178
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
jeeranun_paho.pdf4.12 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback