DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3135

Title: การศึกษาสัมพันธบทของการเล่าเรื่องในภาพยนตร์เรื่องราโชมอนและอุโมงค์ผาเมือง
Other Titles: The Intertextuality of Narrative in Film: Rashomon and The Outrage
Authors: ธนดล กิตติพีรชล
Keywords: สัมพันธบท
การเล่าเรื่อง
วัฒนธรรม
ภาพยนตร์
ความเชื่อมโยง
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นการศึกษาสัมพันธบท (Intertextuality) โดยมีวัตถุประสงค์ศึกษาลักษณะสัมพันธบท (Intertextuality) และเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ระหว่างภาพยนตร์เรื่อง ราโชมอน และภาพยนตร์เรื่อง อุโมงค์ผาเมือง ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่มีแนวโครงเรื่องมาจากบทเดียวกัน โดยใช้แนวคิดในการเล่าเรื่อง (Narrative) มาเป็นเกณฑ์ในการวิเคราะห์ รวมถึงใช้แนวคิดสัมพันธบทและแนวคิดเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเข้ามาร่วมด้วย เพื่อศึกษาหาความเชื่อมโยงกัน ความแตกต่างทางวัฒนธรรมและบริบททางสังคมของภาพยนตร์เรื่อง ราโชมอน และภาพยนตร์เรื่อง อุโมงค์ผาเมือง ผลการศึกษาพบว่า การเชื่อมโยงของภาพยนตร์เรื่อง ราโชมอน และภาพยนตร์เรื่อง อุโมงค์ผาเมือง ประกอบไปด้วย การคงเดิม ดัดแปลง ขยายความ ภาพยนตร์เรื่อง อุโมงค์ผาเมือง มีการคงเดิมในส่วนของโครงเรื่องไว้ แต่มีการขยายความในส่วนของเนื้อหาและตัวละคร ภาพยนตร์เรื่อง อุโมงค์ผาเมือง ได้มีการปรับแต่งฉาก และวัฒนธรรมที่ใช้ทั้งหมดเพื่อให้เข้ากับประเทศไทย จากการศึกษาองค์ประกอบต่างๆ ของภาพยนตร์ประกอบกับบริบททางสังคมของประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทยในสมัยนั้น ทำให้มองเห็นประเด็นของภาพยนตร์ในแต่เรื่อง ภาพยนตร์เรื่อง ราโชมอน ของประเทศญี่ปุ่นนั้นจะเน้นหนักไปทางการเสนอความจริง ความไม่ไว้วางใจ ของตัวละครเพื่อสะท้อนสภาพสังคมในปีค.ศ. 1950 ที่ประเทศญี่ปุ่นอยู่ในสภาวะหลังสงคราม ซึ่งภาพยนตร์เรื่อง อุโมงค์ผาเมือง ได้สะท้อนสภาพสังคมของประเทศไทยในช่วงปี พ.ศ. 2554 ในช่วงที่ประเทศไทยกำลังมีปัญหาทางการเมืองอย่างรุนแรง จุดรวมของภาพยนตร์เรื่อง ราโชมอน และภาพยนตร์เรื่อง อุโมงค์ผาเมือง จากการศึกษาพบว่า การโกหกเพื่อให้ตนเองรอดพ้นจากความผิดเพื่อผลประโยชน์ของตนเองในการมีชีวิตรอดในสังคม ถึงแม้เรื่องนั้นจะไม่เป็นความจริงก็ตาม
This Qualitative research aims to study the Intertextuality and Cultural Identity between the films name “Rashomon” and “The Outrage” which have the same storyline. This research used the narrative concept together with Intertextuality and Cultural Identity concept as analytical tools. The research’s objectives are to study the coherence, culture differences and social context of films “Rashomon” and “The Outrage”. The results revealed that the coherence of films “Rashomon” and “The Outrage” consist of original, modification and expansion. The Outrage had remained the original storyline but had expansion in the contents and characters. The scenes and the cultures had been customized to match with Thai contexts. The study of film’s elements and social contexts of Japan and Thailand in those days revealed the subject matters of each film. The film “Rashomon” focus on proposing the truth and distrust of the characters to reflect the social conditions of Japan after war on 1950 A.D. The film “The Outrage” reflected the social conditions of Thailand experiencing severe political turmoil on 2554 B.E. The study also revealed that both “Rashomon” and “The Outrage” had the same point on lying to save them from guilty for their own sakes to survive in the society even if that was not true.
Description: การค้นคว้าอิสระ (นศ.ม.) -- สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2560
Advisor(s): องอาจ สิงห์ลำพอง
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3135
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
tanadon_kitt.pdf7.82 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback