DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3109

Title: การสื่อสารการตลาดดิจิทัลกับการตัดสินใจใช้บริการโมบายแอพพลิเคชั่นจัดส่งอาหาร ของผู้บริโภควัยทำงาน “Gen Y” ในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Digital marketing communication and customers decision making on food delivery application of gen y in Bangkok district
Authors: ปุณณัตถ์ คลังเพชร
Keywords: การสื่อสาร
ตลาดดิจิทัล
การตัดสินใจ
โมบายแอพพลิเคชั่น
จัดส่งอาหาร
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการตัดสินใจใช้บริการสั่งซื้ออาหารผ่านโมบายแอพพลิเคชั่น 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมทางการตลาดบริการกับพฤติกรรมการตัดสินใจใช้บริการสั่งซื้ออาหารผ่านโมบายแอพพลิเคชั่น และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการผ่านสื่อดิจิตอลที่ส่งผลต่อการตัดสินใจตัดสินใจใช้บริการสั่งซื้ออาหารผ่านโมบายแอพพลิเคชั่นในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยทำการเก็บข้อมูลแบบสอบถามกับผู้ใช้บริการโมบายแอพพลิเคชั่นบริการจัดส่งอาหารของวัยทำงาน “Gen Y” ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 204 ตัวอย่าง มีสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีช่วงอายุ 25-29 ปี เป็นเพศชาย มีระดับการศึกษาช่างเทคนิค/ อาชีวศึกษา ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน มีช่วงรายได้ 15,000-25,000 บาท ใช้อินเทอร์เน็ตผ่านสมาร์ทโฟนมากกว่า 12 ชั่วโมง/ วัน ใช้อินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือ ใช้งาน Twitter มีการใช้ งานโซเชียลเน็ตเวิร์คในช่วงเวลา 06.01-12.00 น. และทำการสืบค้นข้อมูลผ่าน Pantip ผู้ใช้บริการแอพพลิเคชั่นบริการจัดส่งอาหารรู้จักและเคยใช้งานแอพพลิเคชั่น Line Man ในการสั่งอาหารทำการสั่งอาหารผ่านแอพพลิเคชั่น Foodpanda สาเหตุที่ทำการสั่งอาหารผ่านแอพพลิเคชั่นเนื่องจากฝนตก และจากการความสัมพันธ์ทางสถิติเพื่อทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านกระบวนการใช้งานแอพพลิเคชั่น ด้านการให้บริการ ด้านราคาบริการ ด้านการประชาสัมพันธ์ ด้านการแนะนำจากบุคคลรอบข้าง และปัจจัยการสื่อสารการตลาดบูรณาการ ในเรื่องของความถี่การเปิดรับเฟซบุ๊ก ความถี่การเปิดรับยูทูป ความถี่การเปิดรับอินสตาแกรมความถี่การเปิดรับทวิตเตอร์ความถี่การเปิดรับ ไลน์ความถี่การเปิดรับบล็อกหรือเว็บไซต์ความถี่การเปิดรับการแจ้งเตือนข่าวสารผ่านทางอีเมลความถี่การเปิดรับการแจ้งเตือนข่าวสารผ่านแอพพลิเคชั่นมีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสั่งอาหารออนไลน์ผ่านแอพพลิเคชั่นของผู้บริโภค อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
This research was to study 1) the decision-making behavior of food service purchase pass mobile application. 2) To study the relationship between service marketing mix and decision-making behavior pass mobile applications and 3) to study the relationship between integrated marketing communications through digital media. Influence of decision making on food service purchase pass mobile application in Bangkok. Quantitative research the questionnaire was used to collect 204 questionnaires from the “Gen Y” group of food service applicants in Bangkok. The data were analyzed for frequency, percentage, mean, standard deviation and Pearson's correlation. The results were 25-29 years old, male, employees of private companies have a revenue range of 15,000-25,000 Baht using the Internet through smartphones over 12 hours a day using the internet through mobile phones. Twitter is used for social networks during the period 06.01-12.00. And search through Pantip. User’s applicationsfood delivery services and used the application Line Man to order food. Order food through the Foodpanda application. Cause food orders through the application due to rain. From statistical correlation testing, it was found that marketing mix factors, application process, service, price, public relations, recommendations from people and integrated marketing communication factors, in the frequency of exposure to Facebook, YouTube, Instargram, Twitter, Line, block or website, email, alert thought applicationin relationship with the decision to opt for online food service through consumer mobile applications. Statistically significant at the 0.05 level.
Description: การค้นคว้าอิสระ (นศ.ม.)--สาขาวิชาการสื่อสารการตลาดดิจิทัล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2560
Subjects: อาหาร -- การขนส่ง
อาหาร -- การจัดซื้อ
การตลาด -- การตัดสินใจ
อาหาร -- การตัดสินใจ
สื่อสังคมออนไลน์
เจนเนอเรชันวาย -- การตัดสินใจ
อาหาร -- การตลาดอินเทอร์เน็ต
การตลาดอินเทอร์เน็ต
Advisor(s): ชุติมา เกศดายุรัตน์
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3109
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
punnanath.clun.pdf3.44 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback