DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3039

Title: ปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับรู้ความง่าย ความมีประโยชน์ และความตั้งใจใช้ระบบ การชำระเงิน SAMSUNG PAY ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Factors affecting perceived ease of use, perceived usefulness and intention to use SAMSUNG PAY payment system of consumers in Bangkok
Authors: อัครภาส เกียรติเสริมขจร
Keywords: ระบบชำระเงิน
คุณลักษณะนวัตกรรม
การรับรู้ความง่าย
ความมีประโยชน์
ความตั้งใจใช้ระบบ
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับรู้ความง่าย และการรับรู้ความมีประโยชน์ที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้ระบบการชำระเงิน SAMSUNGPAY โดยใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลจากผู้ใช้ระบบ SAMSUNG PAY ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ตัวแปรที่ศึกษาในครั้งนี้ ได้แก่ ตัวแปรอิสระคือ ลักษณะบุคคลด้านความมีนวัตกรรม และ ด้านประสบการณ์ ลักษณะนวัตกรรมด้านความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ ความสลับซับซ้อน ความเข้ากันได้ การสังเกตเห็นได้ และการทดลองได้ ตัวแปรคั่นกลางคือ การรับรู้ความง่ายในการใช้งาน การรับรู้ความมีประโยชน์ และตัวแปรตาม คือ ความตั้งใจใช้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ การแจกแจงความถี่ การหาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นหญิง อายุ 21-30 ปี สถานภาพสมรส/แต่งงาน/ อยู่กินร่วมกัน การศึกษาระดับปริญญาตรี รายได้อยู่ในช่วง 15,001 - 30,000 บาท และประกอบอาชีพพนักงานบริษัท/ ลูกจ้างเอกชน ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ลักษณะบุคคลด้านประสบการณ์มีอิทธิพลทางบวกต่อการรับรู้ความมีประโยชน์ของระบบ SAMSUNG PAY และมีอิทธิพลทางบวกต่อ การรับรู้ความง่ายในการใช้งานของระบบ SAMSUNG PAY ลักษณะนวัตกรรมด้านการสังเกตเห็นได้มีอิทธิพลทางบวกต่อการรับรู้ความมีประโยชน์ของระบบ SAMSUNG PAY การรับรู้ความง่ายในการใช้งาน และการรับรู้ความมีประโยชน์ แต่ละปัจจัยมีอิทธิพลทางบวกต่อความตั้งใจระบบ SAMSUNG PAY ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
The study aims to study perceived ease of use and perceived usefulness factors that affect the intention to use SAMSUNG PAY payment system by using the questionnaire as the tool to collect data from the sample group of 400 Bangkok consumers. The variables in this research consisted of consumer’s innovativeness and mobile payment experiences, the innovation attributes of relative advantage, complexity, compatibility, observability and trialability as the independent variables; perceived ease of use and perceived usefulness as the mediating variables; and intention to use as the dependent variable. Statistics used for data analysis were percentage, frequency, standard deviation and linear model of multiple regression analyses. The results indicated that the majority of respondents were females with 21-30 years of age, married or living together with their partners, Bachelor’s degree holders, employees with monthly personal income ranged 15,001 - 30,000 baht. The results of hypothesis test showed that mobile payment experiences had a positive influence on both perceived usefulness and perceived ease of use. The innovation attributes of observability influenced positively on perceived usefulness. Both the perceived ease of use and perceived usefulness had positive effects to the intention to use of SAMSUNG PAY payment system at .05 significant level.
Description: การค้นคว้าอิสระ (บธ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2560
Subjects: การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
การชำระเงิน
การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
การพาณิชย์เคลื่อนที่
ความตั้งใจ
การชำระเงิน -- นวัตกรรมทางเทคโนโลยี
Advisor(s): ศรัณยพงศ์ เที่ยงธรรม
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3039
Appears in Collections:Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
akarapas_kiat.pdf1.8 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback