DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2959

Title: อิทธิพลของการรับรู้ถึงประโยชน์ ความง่ายในการใช้งาน ความเสี่ยงที่ได้รับจากการใช้งานและ ความสอดคล้องกับรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวันที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้ระบบการชำระเงินแบบดิจิทัลของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: The influence of benefit perception, ease of use, risk from using and concordance with everyday life affected to the intention to use digital payment system of consumer in Bangkok
Authors: ภัทรภร ธนาริยางกูร
Keywords: การรับรู้ถึงประโยชน์
การรับรู้ความง่ายในการใช้งาน
การรับรู้ความเสี่ยง
รูปแบบการใช้ชีวิตประจำวัน
ความตั้งใจใช้บริการ
ระบบการชำระเงินแบบดิจิทัล
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของการรับรู้ถึงประโยชน์ ความง่ายในการใช้งาน ความเสี่ยงที่ได้รับจากการใช้งาน และความสอดคล้องกับรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวัน ที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้ระบบการชำระเงินแบบดิจิทัล ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร ประชากรในการศึกษาคือผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครที่สนใจใช้บริการระบบการชำระเงินแบบดิจิทัล และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 134 คนโดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบสะดวก สถิติวิเคราะห์ที่ใช้ในการข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริโภคมีการรับรู้ถึงประโยชน์และความง่ายในการใช้ง่ายของระบบการชำระเงินแบบดิจิทัล ในระดับมาก ในขณะที่ ผู้บริโภคมีการรับรู้ความเสี่ยงในระดับน้อยและมีความเห็นว่าระบบการชำระเงินแบบดิจิทัลมีความสอดคล้องกับรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวันในระดับมาก สำหรับผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า การรับรู้ถึงประโยชน์ การรับรู้ความเสี่ยง และความสอดคล้องกับรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวัน ส่งผลต่อความตั้งใจในการใช้ระบบการชำระเงินแบบดิจิทัลของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
The objective of this research was to study the influence of benefit perception, ease of use, risk from using and concordance with everyday life affected to the intention to use digital payment system of consumer in Bangkok. The population in this research was the consumer in Bangkok who interested in digital payment. The questionnaire was use to collect data from 134 samples by using convenience sampling method. Statistical analysis was used in this research were frequency, percentage, mean, standard deviation and multiple regression analysis. The result showed that the consumer had high benefit perception and ease of use in digital payment system while they had low risk perception and agreed that the digital payment system was consistent with the daily life style at a high level. For the hypothesis testing, it found that the benefit perception, risk perception and the concordance of daily life affected to the intention to use digital payment system of consumer in Bangkok at statistical significant level 0.05
Description: การค้นคว้าอิสระ (บธ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2559
Subjects: การตลาดอินเทอร์เน็ต
การชำระเงิน
การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
บริการธนาคารทางโทรศัพท์เคลื่อนที่
ธนาคารทางอินเทอร์เน็ต -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
Advisor(s): ไกรฤกษ์ ปิ่นแก้ว
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2959
Appears in Collections:Independent Studies - Master
Independent Studies

Files in This Item:

File Description SizeFormat
Phattaraporn.tana.pdf2.1 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback