DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2918

Title: ปัญหาการสอบสวนกรณีความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจทางอิเล็กทรอนิกส์: อำนาจในการสืบสวนสอบสวนของเจ้าพนักงานสอบสวน
Other Titles: Electronic economic crime investigation: Authority of inquiry official
Authors: ปฏิภาน ยืนทนต์
Keywords: สอบสวน
ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
อาชญากรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: ปัจจุบันสังคมได้เข้าสู่ยุคการติดต่อสื่อสารข้อมูลผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นการ ติดต่อสื่อสารทั่วไป การติดต่อทางการค้า รวมถึงการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งทำให้รูปแบบ ของอาชญากรรมเปลี่ยนแปลงไปอยู่ในรูปแบบของระบบอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมาก ซึ่งยากต่อการ ควบคุมและป้องกัน เนื่องจากเจ้าหน้าที่ยังไม่ขั้นตอนและแนวทางการที่ชัดเจนในการปฏิบัติหน้าที่ อีกทั้งยังไม่มีอำนาจที่มากพอในการสืบสวนสอบสวนในกรณีความผิดดังกล่าว ทำให้อาชญากรรม ประเภทนี้แพร่หลายมากขึ้น เนื่องจากผู้กระทำความผิดมักไม่ถูกจับกุมโดยทันทีหลังก่อเหตุ ซึ่งมี เวลามากในการหลบหนีหรือยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิด และยังสามารถ ทำลายพยานหลักฐานต่าง ๆ ได้ง่ายอีกด้วย สารนิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาเกี่ยวกับอำนาจในการสืบสวนสอบสวนของ เจ้าพนักงานสอบสวนกรณีการสอบสวนกรณีความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจทางอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากปัจจุบันมีคดีลักษณะนี้เกิดขึ้นจำนวนมาก แต่พนักงานสอบสวนยังไม่มี ขั้นตอนหรือแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน อีกทั้งยังไม่มีอำนาจมากพอในการรวบรวมพยานหลักฐานให้ทันท่วงทีหลังจากที่ได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น นับว่าเป็นปัญหาที่สำคัญมากในการสืบสวน สอบสวน หากการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสอบสวนเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ จากการศึกษาพบว่า การสืบสวนสอบสวนกรณีความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ทางอิเล็กทรอนิกส์นั้นยังมีปัญหา แม้ในปัจจุบันจะมีพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยว กับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 ออกมาบังคับใช้ แต่ก็ไม่ได้แก้ปัญหาให้การสืบสวนสอบสวนกรณีความผิดอาชญากรรม ทางเศรษฐกิจทางอิเล็กทรอนิกส์นั้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควรแต่อย่างใด จึงจำเป็นต้อง ศึกษาเพื่อหาขั้นตอนและแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนในการสืบสวนสอบสวนและศึกษาถึงอำนาจหน้าที่ ของพนักงานสอบสวนว่าเพียงพอต่อการรวบรวมพยานหลักฐานหรือไม่ เพื่อแก้ปัญหาการสืบสวน สอบสวนกรณีความผิดอาชญากรรมทางเศรษฐกิจทางอิเล็กทรอนิกส์ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมและความสงบสุขของประชาชน
Now, society has entered the era of electronic communications. Whether it is general communication. Trade contact Including electronic transactions. This makes the form of crime change into many forms of electronic systems. This is difficult to control and prevent. Because officials are not yet clear procedures and guidelines for their duties. Also, there is not enough authority to investigate the offense. This type of crime is more widespread. Because the offender is not immediately arrested after the offense. It has a lot of time to escape or manipulate the property acquired from the offense. And it can also easily destroy the evidence. This thesis aims to study the power of investigation of the investigating officers in the case of the investigation of electronic economic crime cases. Due to the large number of cases nowadays. But the investigator has no clear procedures or guidelines. There is not enough power to gather evidence immediately after the offense has occurred. This is a very important issue in the investigation. If the performance of the inquiry officer is ineffective. The study found that investigations into cybercrimes were still problematic. Even today there is a computer offense Act BE 2550 and the Act on Computer Offenses 2560 came into force. But it does not solve the problem of electronic economic crime investigation. It is necessary to study to find clear procedures and practices in investigations and to investigate whether investigators are competent to gather evidence. To effectively solve the problem of electronic economic crime investigation. To preserve the justice and peace of the people.
Description: การค้นคว้าอิสระ (น.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2559
Subjects: อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ
อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
การก่อการร้ายทางไซเบอร์
การฉ้อโกงทางอินเทอร์เน็ต -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
แฮกเกอร์
พนักงานสืบสวน
การสืบสวนอาชญากรรม
Advisor(s): ปวริศร เลิศธรรมเทวี
ไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2918
Appears in Collections:Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
patiphan_yuen.pdf1.43 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback