DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2835

Title: หลักเกณฑ์การพิจารณาการนำเข้า-ส่งออกน้ำมันเชื้อเพลิงบริเวณแท่นขุดเจาะน้ำมันเหนือไหล่ทวีป: กรณีศึกษา บริษัท เชฟรอน (ไทย) จำกัด
Other Titles: The standard of consider for fuel oil importing - exporting from drilling platforms over continental shelf: Case study Chevron limited company (Thailand)
Authors: ราวิน ไชยทิพย์
Keywords: ไหล่ทวีป
กฎหมายทะเล
กาารส่งออก
น้ำมัน
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อทำการศึกษาปัญหาทางกฎหมายในการนำเข้าส่งออกน้ำมันเชื้อเพลิงไปยังแท่นขุดเจาะน้ำมันบนพื้นที่ไหล่ทวีป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักกฎหมายเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การพิจารณานำเข้าส่งออกน้ำมันเชื้อเพลิงไปยังแท่นขุดเจาะน้ำมันบนพื้นที่ไหล่ทวีป และกรณีศึกษา ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงเกิดขึ้นระหว่างกรมศุลกากร กับ บริษัท เชฟรอน (ไทย) จำกัด ผู้ได้รับสัมปทานขุดเจาะน้ำมันบนพื้นที่บริเวณไหล่ทวีปทางด้านอ่าวไทย และต่อมาได้มีการส่งน้ำมันเชื้อเพลิงจากโรงกลั่นชายฝั่งเพื่อนำออกไปใช้กับเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่แท่นขุดเจาะน้ำมันบนพื้นที่ไหล่ทวีป โดยกรมศุลกากรเห็นว่า ไหล่ทวีปมิใช่อาณาเขตของประเทศเนื่องจากเป็นเขตแดนที่อยู่นอกทะเลอาณาเขต จึงถือเป็นการส่งออกได้รับการยกเว้นอากรขาออก และไม่ต้องเสียภาษีในรูปแบบของการค้าน้ำมันในประเทศจึงไม่ต้องชำระภาษีสำหรับการค้าน้ำมันภายในทุกประเภท เช่น ภาษีสรรพสามิต ภาษีเพื่อมหาดไทย กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน และภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่คณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นว่า กรณีดังกล่าวถือว่าอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยถือตามกฎหมายปิโตรเลียมที่กำหนดให้ “ราชอาณาจักร” หมายรวมถึงไหล่ทวีปด้วย ทำให้จะต้องมีการจัดเก็บภาษีและเรียกให้บริษัท เชฟรอน (ไทย) จำกัด ชำระในส่วนที่ได้รับการยกเว้นหรือได้รับคืน ทำให้เกิดปัญหาการตีความเพื่อการจัดเก็บภาษีดังกล่าว และเกิดประเด็นความคิดเห็นที่ขัดแย้งกันในเรื่องของนำน้ำมันเชื้อเพลิงไปยังแท่นขุดเจาะน้ำมันว่าจะเป็นการส่งออกหรือการเคลื่อนย้ายภายใน เพื่อค้นหาข้อเสนอแนะและแนวทางในหลักเกณฑ์การพิจารณาและปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย จากผลการศึกษาพบว่า สถานะตามกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยทะเลของบริเวณพื้นที่ไหล่ทวีป ตามกรณีศึกษาแท่นขุดเจาะน้ำมันของบริษัท เชฟรอน (ไทย) จำกัด ถือเป็นส่วนหนึ่งในการใช้สิทธิอธิปไตยเหนือไหล่ทวีปเฉพาะสิทธิอธิปไตยเพื่อการสำรวจหรือแสวงหาการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติบนพื้นที่ไหล่ทวีปของประเทศไทย และถือว่าไหล่ทวีปยังไม่มีสถานะที่จะถือเป็นอาณาเขตของรัฐใด แต่หลักเกณฑ์การพิจารณา การนำเข้า ส่งออกน้ำมันเชื้อเพลิงบนพื้นที่ไหล่ทวีป หากใช้การตีความตามกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยทะเลที่กำหนดให้ไหล่ทวีปมิได้ถือเป็นราชอาณาจักร จึงส่งผลให้เป็นการนำเข้า ส่งออกน้ำมันเชื้อเพลิงบนพื้นที่ไหล่ทวีป ซึ่งทำให้ไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเพราะการนำเข้า ส่งออกดังกล่าวไม่ได้กระทำระหว่างรัฐหรือเพื่อการค้าระหว่างรัฐจึงไม่อาจถือเป็นการค้าระหว่างประเทศและยังไม่ถือเป็นการการส่งออก หรือนำเข้าตามกฎหมายศุลกากรซึ่งเป็นกฎหมายที่มาจากหลักกฎหมายการค้าระหว่างประเทศได้ ผู้ศึกษาได้เสนอแนวทางการพิจารณาหลักเกณฑ์การนำเข้าส่งออกดังกล่าวจะต้องมีการคำนึงถึง หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งหลักกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยทะเล หลักกฎหมายเฉพาะที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ กฎหมายศุลกากร และต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของรัฐเป็นประการสำคัญในการพิจารณาเพื่อไม่ให้รัฐต้องเสียประโยชน์ ดังนั้นจึงได้ข้อเสนอแนะว่า รัฐจึงมีความจำเป็นต้องมีการกำหนดของเขตของราชอาณาจักรไว้โดยเฉพาะให้หมายถึงไหล่ทวีปด้วยในกฎหมายศุลกากรเพื่อให้สามารถใช้บังคับบนพื้นที่ไหล่ทวีปหรือการกำหนดกรอบอำนาจหรือวิธีการทางศุลกากรในเขตพื้นที่ไหล่ทวีปไว้โดยชัดเจนว่ายังไม่ถือเป็นการนำเข้าหรือส่งออก
This research purposes to study lawsuit concerning import and export petroleum to drilling platforms on the continental shelf and study the cases between Customs Department and Chevron limited company (Thailand). While Chevron export petroleum from refinery on the coast for use in drilling platforms’re machine and tool, Customs Department commented the continental shelf wasn’t Thailand territory because the continental shelf wasn’t in territorial sea. For that Customs Department believed that the export duty exception and didn’t pay for tax any type of domestic trade for example excise tax, interior tax, petroleum fund, energy conserve fund and value added tax (VAT). But the Council of State has commented that the continental shelf was Thailand territory according to petroleum law. From that reason Chevron must pay tax in export duty exception. That issue leads to the conflict of interpretation of law. The study found that according to international law, the continental shelf sea area which Chevron limited company (Thailand) located be regarded as exercise right on continental shelf for discovery or find the benefit from natural resources. The continental shelf wasn’t any country territory. When consider by international law which rule regulate continental shelf wasn’t Thailand territory that affect the import and export on continental shelf wasn’t conform to the case. Because that import and export wasn’t commercial benefit in international trade and not export according to customs law. Researcher proposed the guideline for considering the rule of import and export must consider to international law of the sea, petroleum law, international trade law and customs law especially benefit of state. As a result, researcher proposed the state must specify the area of Thailand cover to continental shelf in customs law to enforce on continental shelf or customs method on continental shelf the actions on continental shelf aren’t import and export.
Description: การค้นคว้าอิสระ (น.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2559
Subjects: แหล่งน้ำมัน -- เครื่องมือและอุปกรณ์
ปิโตรเลียม -- การขนส่ง -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
การขุดเจาะบ่อน้ำมัน -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
อุตสาหกรรมปิโตรเลียม -- กฎระเบียบการรักษาความปลอดภัย
ภาษีน้ำมัน -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
บริษัท เชฟรอน (ไทย) จำกัด
Advisor(s): อุดมศักดิ์ สินธิพงษ์
ชวลิต อัตถศาสตร์
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2835
Appears in Collections:Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
rawin_chai.pdf4.08 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback