DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2782

Title: ปัจจัยที่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความตั้งใจในการใช้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ของพนักงานในกรุงเทพมหานคร ในช่วงเดือนเมษายน 2560
Other Titles: Factors Positively Impacting Intention of Using Electronic Cash Behavior of Employees in Bangkok
Authors: ณัฐพงศ์ กริยาผล
Keywords: เงินอิเล็กทรอนิกส์
ความตั้งใจในการใช้
บรรทัดฐานทางสังคม
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: งานวิจัยนี้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลเชิงบวกของปัจจัยด้านการรับรู้ประโยชน์ใช้สอย ปัจจัยด้านการรับรู้ถึงความง่ายในการใช้ ปัจจัยด้านความสอดคล้อง ปัจจัยด้านบรรทัดฐานทางสังคม ปัจจัยด้านการรับรู้ความเสี่ยง ปัจจัยด้านคุณค่าทางสังคม ปัจจัยด้านการรับรู้ถึงความน่าเชื่อถือ ปัจจัยด้านการรับรู้ถึงค่าใช้จ่าย ที่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความตั้งใจในการใช้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ของพนักงานในกรุงเทพมหานคร จำนวน 239 ชุด และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถดถอยเชิงพหุคูณ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมีอายุมากกว่า 41 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี มีอาชีพเป็นพนักงานเอกชน มีรายได้ต่อเดือนรวม 25,001-50,000 บาท มีสถานภาพโสด รู้จักหรือเคยใช้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ 7-11 wallet มีเหตุผลที่จะใช้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์คือไม่มีเวลาเดินทางไปธนาคาร หรือท่านเดินทางบ่อย ซึ่งการใช้ Electronic Ccash ผ่าน Smartphone ทำให้สะดวกขึ้น และเคยเห็นโฆษณาของเงินอิเล็กทรอนิกส์จาก facebook / line / ig/ twitter และพบว่า มีเพียงปัจจัยด้านการรับรู้ถึงความง่ายในการใช้ ค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยของตัวพยากรณ์เท่ากับ 0.313 ปัจจัยด้านความสอดคล้อง ค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยของตัวพยากรณ์เท่ากับ 0.289 และปัจจัยด้านบรรทัดฐานทางสังคม ค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยของตัวพยากรณ์เท่ากับ 0.217 มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความตั้งใจในการใช้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ ถึงร้อยละ 49.3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ดังนั้นผู้ประกอบการหรือผู้จัดการด้านการตลาดควรวางแผนและพัฒนากลยุทธ์ที่จะส่งผลให้พนักงานเลือกใช้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์โดยพิจารณาจากปัจจัยด้านการรับรู้ถึงความง่ายในการใช้ ปัจจัยด้านความสอดคล้องและปัจจัยด้านบรรทัดฐานทางสังคม เพื่อก่อให้เกิดความตั้งใจในการใช้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ของพนักงานได้
The objective of this research was to study the perceived usefulness, perceived ease of use, compatibility, subjective norm, perceived risk, social value, perceived trust, and perceived cost towards intention of using the electronic cash of employees in Bangkok with 239 questionnaires. According to the Multiple Regression Analysis, it was found that the majority of the respondents were females, working as private company employees, and older than 41 years old with education in bachelor degrees, monthly income from 25,001 to 50,000 baht, singles. They knew or had used the electronic cash which was 7-11 wallet. The main reason to use the electronic cash because it could save their times to go to bank. In addition, they could manage their cash flow with smartphone for their convenience. They had seen many advertisings from facebook / line / ig / twitter. The data reveals perceived ease of use (β = 0.313), compatibility (β = 0.289) and subjective norm (β = 0.217), explaining 49.3% of the positive influence towards intention of using electronic cash of employees in Bangkok with the significant level at .01. Therefore, entrepreneurs or marketers should plan and develop strategies for employee to towards intention of using electronic cash by considering perceived ease of use, compatibility and subjective norm.
Description: การค้นคว้าอิสระ (บธ.ม.) --บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2559
Subjects: ไอโฟน -- โปรแกรมประยุกต์บนอุปกรณ์เคลื่อนที่
การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
การชำระเงิน
ธนาคารและการธนาคาร -- บริการลูกค้า
พฤติกรรมผู้บริโภค
Advisor(s): เพ็ญจิรา คันธวงศ์
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2782
Appears in Collections:Independent Studies - Master
Independent Studies

Files in This Item:

File Description SizeFormat
natthaphong_kari.pdf4.82 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback