DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2767

Title: การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อพฤติกรรมการซื้อเครื่องสำอางออนไลน์ ของผู้บริโภค ในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: A Study of Factors Positively Affecting Cosmetics Online’s Purchase Behavior of Consumers in Bangkok Area
Authors: ภัทราณี วีระภาคย์การุณ
Keywords: เครื่องสำอาง
พฤติกรรมการซื้อ
กรุงเทพมหานคร
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: งานวิจัยนี้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลเชิงบวกของด้านความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของผู้ใช้เว็บไซต์ ด้านการรับรู้นวัตกรรมส่วนบุคคล ด้านการรับรู้เกี่ยวกับความสะดวกในการซื้อ ด้านการรับรู้ประโยชน์ใช้สอย ด้านกิจกรรมการตลาดของผลิตภัณฑ์ ด้านภาพลักษณ์ขององค์กร ด้านภาพลักษณ์ของสินค้าหรือบริการ ด้านภาพลักษณ์ของผู้ใช้ ที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อเครื่องสำอางออนไลน์ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร จำนวน 259 ชุด ในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2560 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติถดถอยเชิงพหุคูณ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 31-40 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน รายได้ต่อเดือน 50,001 บาทขึ้นไป ในการซื้อเครื่องสำอางออนไลน์ส่วนใหญ่จะซื้อผ่านช่องทางตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Marketplace) เช่น www.tarad.com www.zalora.com www.lazada.co.th www.konvy.com www.central.co.th www.sephora.co.th www.wemall.com หรือ www.topvalue.com เป็นต้น ประเภทเครื่องสำอางที่ซื้อผ่านออนไลน์ ได้แก่ เครื่องสำอางตกแต่งความงาม (Make Up) เช่น ครีมรองพื้น แป้งพัฟ ลิปสติก อายแชโดว์ บรัชออน และมีจำนวนเงินในการซื้อเฉลี่ยต่อครั้ง อยู่ที่ 501 – 1,000 บาท ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านการรับรู้นวัตกรรมส่วนบุคคล (β = 0.535) ปัจจัยด้านการรับรู้ประโยชน์ใช้สอย (β = 0.371) ปัจจัยด้านภาพลักษณ์ของสินค้าหรือบริการ (β = 0.245) สามารถอธิบายอิทธิพลเชิงบวกต่อพฤติกรรมการซื้อเครื่องสำอางออนไลน์ได้ร้อยละ 54 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 ดังนั้น นักการตลาด และหรือเจ้าของกิจการ ควรมุ่งเน้นในการพัฒนา เว็บไซต์ หรือช่องทางออนไลน์ในการจำหน่ายเครื่องสำอางในด้านการรับรู้นวัตกรรมส่วนบุคคล และเน้นกลยุทธ์ด้านการรับรู้ประโยชน์ใช้สอย และกลยุทธ์ภาพลักษณ์ของสินค้าหรือบริการ
The objective of the research was to study the positive influence of web user security risks, perceived personal innovativeness, perceived ease of purchasing, perceived usefulness, product marketing activities, corporate image, product or service image, and user image towards cosmetics online’s purchase behavior of consumers in Bangkok of 259 questionnaire respondents during April 2017. The data was analyzed using Multiple Regression Analysis. The researcher found that most of the respondents of this questionnaire were females with 31-40 years old. Moreover they had bachelor's degrees. In addition, most of them had careers as company employees with incomes more than 50,001 baht/month. According to their opinions, most of their cosmetics purchases online through electronic marketplace (E-Marketplace) such as www.tarad.com, www.zalora.com, www.lazada.co.th, www.konvy.com, www.central.co.th, www.sephora.co.th, www.wemall.com or www.topvalue.com. Most of their purchased products were make-up cosmetic products such as lipsticks, eye shadows, blushes) and their average purchase amounts were 501 - 1,000 baht. Only criteria of personal innovativeness (β = 0.535), perceived usefulness (β = 0.371), and product or service image (β = 0.245) showed 54% of the positive influence towards cosmetics online’s purchase behavior of the consumers at .01 significant level. Therefore, marketers and entrepreneurs should develop online channels focusing personal innovation, perceived usefulness and product or service image.
Description: การค้นคว้าอิสระ (บธ.ม.) -- บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2559
Subjects: การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
การตลาดอินเทอร์เน็ต
การพัฒนาเว็บไซต์
พฤติกรรมผู้บริโภค
เครื่องสำอาง -- การติดฉลาก
อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง
Advisor(s): เพ็ญจิรา คันธวงศ์
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2767
Appears in Collections:Independent Studies - Master
Independent Studies

Files in This Item:

File Description SizeFormat
pattaranee_weer.pdf3.58 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback