DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2530

Title: ปัญหาเกี่ยวกับกฎหมายคนเข้าเมืองของไทยในกรอบกฎหมายประชาคมอาเซียน
Other Titles: The problem of the immigration law of Thailand under the legal framework of ASEAN community
Authors: ฐิติรัตน์ สีเหมือน
Keywords: พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง
คนเข้าเมือง
ประชาคมอาเซียน
เสรีอาเซียน
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การศึกษาเรื่อง ปัญหาเกี่ยวกับกฎหมายคนเข้าเมืองของไทยในกรอบกฎหมายประชาคมอาเซียน มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาความเป็นมา แนวคิด และหลักการการจัดตั้งประชาคมอาเซียน ทฤษฎีและพัฒนาการเกี่ยวกับคนเข้าเมือง รวมถึงมาตรการทางกฎหมายคนเข้าเมืองของไทย คือ พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ที่นำมาบังคับใช้ภายใต้กรอบกฎหมายประชาคมอาเซียน โดยประเทศไทยในฐานะสมาชิกอาเซียนมีพันธกรณีต้องปฏิบัติตามกรอบกฎหมายอาเซียน ซึ่งในปี พ.ศ. 2558 เป็นต้นมา ได้มีการจัดตั้งประชาคมอาเซียนขึ้นอย่างเป็นทางการ ประเทศสมาชิกอาเซียนจึงต้องปฏิบัติตามพันธกรณีต่าง ๆ ที่ได้ตกลงระหว่างกันไว้ และเพื่อเป็นการขับเคลื่อนประชาคมอาเซียน ประเทศไทยจึงต้องทำการพัฒนากฎหมายให้สอดคล้องกับหลักการ วัตถุประสงค์ และเป้าหมายของประชาคมอาเซียนด้วย โดยปรากฏประเด็นทางกฎหมายที่สำคัญที่ไทยต้องเร่งพิจารณาคือ กฎหมายคนเข้าเมือง อันเป็นบทบัญญัติที่กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเข้ามาในราชอาณาจักร การอาศัยในราชอาณาจักร และการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร มีหลักการที่สำคัญที่เกี่ยวกับการตรวจลงตราหนังสือเดินทางสำหรับเข้ามาหรือออกไปนอกราชอาณาจักร การจำกัดคนต่างด้าวบางประเภทที่มีลักษณะต้องห้ามมิให้เข้ามาในราชอาณาจักร การจำกัดจำนวนคนต่างด้าวที่จะเข้ามามีถิ่นที่อยู่อาศัยในราชอาณาจักร รวมทั้งกำหนดมาตรการควบคุมคนต่างด้าวที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักร กล่าวคือ จากการที่ประเทศไทยได้ลงนามในข้อตกลงยอมรับร่วมกันด้านคุณสมบัติในสาขาวิชาชีพหลัก (Mutual Recognition Arrangements: MRAs) และความตกลงว่าด้วยการเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดาของอาเซียน (ASEAN Agreement on the Movement of Natural Persons: MNP) ทำให้ต้องมีการกำหนดแก้ไขหรือปรับปรุงพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ให้เหมาะสมและสนับสนุนการเคลื่อนย้ายแรงงานวิชาชีพและบุคคลธรรมดาให้เป็นไปตามกรอบกฎหมายประชาคมอาเซียนดังกล่าว จากการศึกษาพบว่า บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 นั้น มีความไม่สอดคล้องกับกรอบกฎหมายประชาคมอาเซียนในเรื่องของการเปิดแรงงานเสรี และการเปิดเสรีการค้า การบริการ และการลงทุนในอาเซียน ในเรื่องของระยะเวลาและการกำหนดจำนวนแรงงานวิชาชีพที่จะเข้ามาทำงานในประเทศไทย เช่น กรณีการอนุญาตให้คนต่างด้าวสามารถอาศัยอยู่ในประเทศไทยได้เป็นการชั่วคราวภายใต้วัตถุประสงค์บางประการซึ่งระยะเวลาในการอนุญาตดังกล่าวจะเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด หรือกรณีการกำหนดจำนวนคนต่างด้าวซึ่งจะมีถิ่นที่อยู่ในประเทศเป็นรายปี มิให้เกินประเทศละ 100 คนต่อปี เป็นต้น ซึ่งหลักเกณฑ์ของกฎหมายคนเข้าเมืองดังกล่าวมีลักษณะที่เป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนย้ายแรงงานวิชาชีพและบุคคลธรรมดาที่จะเข้ามาทำธุรกิจในไทยในการเปิดตลาดเสรีอาเซียน เพราะในการประกอบอาชีพหรือการดำเนินธุรกิจอาจจำเป็นต้องอยู่อาศัยในประเทศไทยเพื่อทำงานเกินกว่าระยะเวลาหรือจำนวนที่กฎหมายกำหนด จึงเห็นได้ว่าหากมีการแก้ไขกฎหมายคนเข้าเมืองให้สอดคล้องกับกรอบกฎหมายประชาคมอาเซียน ก็จะก่อให้เกิดแรงจูงใจให้แรงงานวิชาชีพที่ประเทศไทยขาดแคลนต้องการเข้ามาทำงานในประเทศเพิ่มมากขึ้น ผู้วิจัยจึงเห็นว่าเพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายคนเข้าเมืองของไทยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีความเป็นธรรมและรวดเร็ว รวมทั้งสอดคล้องกับกรอบกฎหมายประชาคมอาเซียนในเรื่องของการเปิดแรงงานเสรี และการเปิดเสรีการค้า การบริการ และการลงทุนในอาเซียน ที่จะมีการเคลื่อนย้ายของแรงงานวิชาชีพและบุคคลธรรมดาเข้ามาในประเทศไทย ดังนั้น จึงเห็นควรให้มีการพัฒนากฎหมายคนเข้าเมืองในลักษณะที่เป็นผ่อนปรนหลักเกณฑ์การเข้าเมือง และการอยู่อาศัยในประเทศไทยของแรงงานต่างด้าวไว้ในพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ให้แก่แรงงานวิชาชีพตามข้อตกลงยอมรับร่วมคุณสมบัตินักวิชาชีพของอาเซียน (MRAs) ให้สามารถเดินทางเข้ามายังประเทศไทยได้ตามระยะเวลาของสัญญาจ้างแรงงานของแต่ละวิชาชีพ ยกเว้นการตรวจลงตราแก่แรงงานวิชาชีพที่เข้ามาประกอบอาชีพในประเทศไทยตามแผนงานการสนับสนุนการเคลื่อนย้ายแรงงานวิชาชีพเสรีของอาเซียน รวมถึงกำหนดให้แรงงานวิชาชีพ และบุคคลธรรมดาตามความตกลงอาเซียนว่าด้วยการเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดา (MNP) ให้ได้รับยกเว้นไม่อยู่ภายใต้บังคับของประกาศกำหนดจำนวนคนต่างด้าวเข้าเมือง เพื่อให้สอดรับกับแผนงานการสนับสนุนการเคลื่อนย้ายแรงงานวิชาชีพเสรีของอาเซียนและการเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดาเพื่อทำการค้า การบริการ และการลงทุนในอาเซียน
The objective of research on Problem of the Immigration Law of Thailand under the legal framework of ASEAN Community was to study about derivation, idea and principle about Establishment of ASEAN Community, including theory and development of Immigration Act B.E. 2522 under the context of ASEAN Community. The establishment of an ASEAN Community by 2015 was henceforth operate under the legal framework to boost its community-building process and the 10 ASEAN Member States had obligations following the legal framework that ASEAN was prescribed. Thailand, which is a member of the Association of South East Asian Nations (ASEAN), has signed the Mutual Recognition Arrangements (MRAs) and ASEAN Agreement on the Movement of Natural Persons (MNP). There are obligations under the MRAs and MNP, so the Immigration Act B.E. 2522 must require correcting or update its provisions for providing the appropriate support of skilled workers mobility and individual in accordance with the legal framework of ASEAN. The study found that the provisions of Immigration Act B.E. 2522 are not conform to the legal framework of ASEAN Community on free movement of skilled workers and free flow of services in ASEAN, especially, the provision of periods of time which worker is authorized to stay in Thailand and fixing immigration quotas. For examples, aliens entering into Thailand for a temporary stay may enter for business authorized to stay not exceeding one year, or the minister shall have power to publish in the Government Gazette for immigration quotas from year to year (not exceeding 100 persons per year from each country and not exceeding 50 persons who have no nationality). These immigration laws are obstacle to the movement of skilled workers and natural persons who enter to Thailand following ASEAN free market policy, because in a career or business, it may be necessary to stay in Thailand to work over the time as legal limits. If the immigration law amend in line with the legal framework of ASEAN Community, it will motivate the skilled workers for working in Thailand increasable. The result of this research found out that the legal problem of provisions about the periods to stay in Thailand and fixing immigration quotas under the Immigration Act B.E. 2522 are impediments to ASEAN frameworks on free movement of skilled workers and free flow of services. The researcher has recommended of this research, as it is therefore desirable to develop immigration law in a relaxed manner about the immigration and residence of migrant workers in Thailand under the Immigration Act B.E. 2522 for the skilled workers under the MRAs to enter Thailand for the duration of the employment contract. We should visa exception for skilled workers who carry on an occupation in Thailand under the ASEAN free flows skilled workers framework. Including, skilled workers under the MRAs and individuals under the MNP are exempt from the declaration of the number of aliens entering Thailand.
Description: การค้นคว้าอิสระ (น.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2559
Advisor(s): ปวริศร เลิศธรรมเทวี
ชวลิต อัตถศาสตร์
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2530
Appears in Collections:Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
thitirat_seem.pdf9.63 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback