DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2421

Title: การศึกษาถึงอิทธิพลของกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่มีต่อความภักดีของพันธมิตรทางธุรกิจ: กรณีศึกษาธุรกิจบริการขนส่งสาธารณะผ่านเครือข่าย Online Application
Other Titles: Effects of Relationship Marketing Strategies on Partner Loyalty: A Study in Transport Network Company
Authors: ศุภวัฒน์ ตระกูลวีรศักดิ์
Keywords: การตลาดเพื่อสร้างความสัมพันธ์
ความภักดี
พันธมิตร
ธุรกิจผู้ให้บริการเครือข่ายขนส่งสาธารณะ
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) อันมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อสร้างความสัมพันธ์ (Relationship Marketing) ที่ส่งผลต่อระดับความภักดี (Loyalty) ของพันธมิตร ของธุรกิจผู้ให้บริการเครือข่ายขนส่งสาธารณะผ่าน (Online Application) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวมรวมข้อมูล และทดสอบความเที่ยงตรงและค่าน่าเชื่อถือของแบบทดสอบด้วยวิธีครอนแบ็คอัลฟ่า กับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.713 – 0.761 จึงได้มีการนำแบบทดสอบดังกล่าวไปใช้เพื่อเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ผู้เป็นพันธมิตรของผู้ให้บริการเครือข่าย บริษัท A (ประเทศไทย) จำกัด จำนวน 353 ตัวอย่าง และดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic) ได้แก่ การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression) ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 เพื่อใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ผลการศึกษาพบว่าพันธมิตรให้ความสำคัญกับกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อสร้างความสัมพันธ์ของผู้ให้บริการอยู่ในระดับมาก โดยกลยุทธ์ที่สำคัญคือ กลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อสร้างความสัมพันธ์ด้านความรับผิดชอบ และกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อสร้างความสัมพันธ์ด้านการสื่อสาร มีอิทธิพลต่อระดับความภักดีของพันธมิตรต่อผู้ให้บริการเครือข่าย ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ผู้ศึกษาตั้งไว้ ในทางกลับกับกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อสร้างความสัมพันธ์ด้านความเชื่อมั่น กลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อสร้างความสัมพันธ์ด้านการรับมือกับข้อขัดแย้ง และกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อสร้างความสัมพันธ์ด้านความพึงพอใจ ไม่มีอิทธิพลต่อความภักดีของพันธมิตร
This research is quantitative research that aims to study effect to partners’ loyalty toward prvider’s relationship marketing strategies in transporatation network company. The population of the research is partner of provider; A (Thailand) Co,. Ltd. Using questionaires to collect data from a sample 30 partners and tasted reliability of the questionaries by Cronbach’s Alpha Coefficient. The reliable results from samples gave alpha value from 0.713 to 0.761, was proved that this questionaries are accurate. The questionaries were used as an instrument to collect data from a sample 353 partners. The satatistic metod for data analysis was descriptive statistic and liner regression model as Multiple Regression to test hypothesis in significant level at 0.05. The research found that provider’s relationship marketing strategies are highly important to level of partners’ loyalty. The resuil reveals that commitment and communication strategy are the most important factors affect topartners’ loyalty at significant level 0.05 as the hypothesis. In the other hand, trust, conflicts handling and satisfaction strategy not affect to partners’ loyalty at same statistic condition.
Description: การค้นคว้าอิสระ (บธ.ม.) -- บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2558
Subjects: เครือข่ายธุรกิจ
กลยุทธ์พันธมิตรธุรกิจ
การรวมกลุ่มและเชื่อมโยงอุตสาหกรรม
ความเป็นพันธมิตร
ผู้ประกอบการ -- การรวมกลุ่ม -- การศึกษาเฉพาะกรณี
ผู้ประกอบการขนส่ง -- การรวมกลุ่ม -- การศึกษาเฉพาะกรณี
การจัดการตลาด -- ไทย -- การศึกษาเฉพาะกรณี
การตลาดอินเทอร์เน็ต -- ไทย -- กรุงเทพฯ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ -- ไทย -- กรุงเทพฯ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
Advisor(s): ศศิประภา พันธนาเสวี
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2421
Appears in Collections:Independent Studies - Master
Independent Studies

Files in This Item:

File Description SizeFormat
supawat_trak.pdf6.22 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback