DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2298

Title: แผนธุรกิจร้านไอศกรีม แน็คซ์ ดิไอศกรีมแซนวิช
Other Titles: Business plan for Nackz the ice-cream sandwich shop
Authors: ธีรวัฒน์ บุตรรัตน์
Keywords: ไอศกรีมแซนวิช
ปัจจัยสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ
คู่แข่งขัน
กลยุทธ์ทางธุรกิจ
ice-cream sandwich
business’s environmental factor
competitor
business strategy
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การจัดทำแผนธุรกิจฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เตรียมความพร้อมในการดำเนินงาน (2) เป็นแนวทางให้กับเจ้าของกิจการ หรือผู้ที่ปล่อยสินเชื่อให้แก่กิจการ (3) ลดความเสี่ยงในการดำเนินการของธุรกิจ และมีแผนสำรองเพื่อลดความเสี่ยงทางธุรกิจที่อาจเกิดจากปัจจัยภายนอกที่ธุรกิจไม่สามารถควบคุมได้ (4) ให้เจ้าของกิจการมีการลำดับความคิด การเตรียมความพร้อมสำหรับเริ่มประกอบการค้าปลีกขนาดย่อม แผนธุรกิจได้จัดทำขึ้นสำหรับธุรกิจประเภทจำหน่ายไอศกรีมแซนวิชและเครื่องเคียง โดยเป็นการดำเนินธุรกิจใหม่ เทคนิคและวิธีการในการจัดทำแผน คือ การศึกษาจากแนวคิดและทฤษฎี และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการรับประทานไอศกรีมจำนวน 20 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่มีการเตรียมคำถามไว้ล่วงหน้า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น คือ ค่าร้อยละ ผลการวิเคราะห์ปัจจัยแวดล้อมภายใน พบว่า การใช้เครื่องผลิตมีความยุ่งยากไม่มาก บุคลากรที่ใช้จึงไม่จำเป็นต้องมีความรู้มากนัก พนักงานที่ใช้มีจำนวนไม่มากจึงสามารถควบคุมพนักงานได้ง่าย เป็นกิจการขนาดเล็ก ทางเจ้าของกิจการจึงมีเงินทุนเพียงพอ มีเทคโนโลยีการผลิตสินค้าที่รองรับอยู่แล้วยกเว้นในส่วนของแผ่นขนมปังแซนวิช ไอศกรีมอ่อนไหวต่ออุณหภูมิแวดล้อมจึงต้องจัดหาเครื่องมือเพื่อเก็บรักษาไอศกรีม เจ้าของไม่มีความรู้เกี่ยวกับการทำไอศกรีมจึงต้องมีการค้นคว้าข้อมูลอย่างมาก และผลการวิเคราะห์ปัจจัยแวดล้อมภายนอก พบว่า คู่แข่งทางตรงสี่แบรนด์ได้แก่ Dairy Queen, Häagen-Dazs, บิงกือเร และลอตเต้ ขายสินค้าอยู่ภายในห้างสรรพสินค้า ส่วนคู่แข่งทางอ้อมเป็นร้านของหวานบริเวณใกล้เคียง ด้านวัตถุดิบสำหรับการผลิตซื้อจากผู้จำหน่ายหลายราย คนไทยนิยมรับประทานของหวานเนื่องด้วยสภาพอากาศที่ค่อนข้างร้อน ยังไม่มีกฎหมายที่ควบคุมสินค้าชนิดนี้เป็นพิเศษ ปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากปัจจัยแวดล้อมภายในและภายนอกได้แก่ ปัจจัยด้านเทคโนโลยีการผลิตและขนส่ง ปัจจัยด้านความรู้ ปัจจัยด้านคู่แข่ง ส่วนปัจจัยด้าน Supplier ไม่มีความเสี่ยงมากนัก สภาพการแข่งขันของธุรกิจนี้มีไม่มาก คู่แข่งขันหลักที่สำคัญคือ Dairy Queen เมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งขัน พบว่า ตำแหน่งของธุรกิจในตลาดคือผู้นำ ข้อได้เปรียบคู่แข่งขันคือ สินค้าไอศกรีมแซนวิชที่มีเครื่องเคียง การจัดจำหน่าย และการส่งเสริมการขายที่หลากหลาย ในขณะที่ข้อเสียเปรียบทางการแข่งขันคือ แบรนด์ใหม่ที่ยังไม่เป็นที่รู้จัก กลยุทธ์ที่สำคัญในการทำธุรกิจคือ กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ที่เลือกใช้สื่อออนไลน์และการจัดแสดงสินค้า กลยุทธ์การสร้างฐานลูกค้าด้วยการนำเสนอสินค้าที่มีความแตกต่างจากตลาดในปัจจุบัน กลยุทธ์การรักษาฐานลูกค้าที่ใช้กิจกรรมส่งเสริมการตลาดรูปแบบต่างๆเพื่อกระตุ้นยอดขาย กลยุทธ์การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์เพื่อให้เพียงพอสำหรับการดำเนินงานเสมอ กลยุทธ์การจัดซื้อในการเลือก Supplier การบริหารสินค้าคงคลังเพื่อรักษาระดับสมดุลของสินค้าเข้าและออก กลยุทธ์การผลิตที่ใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด และลดโอกาสการเกิดของเสีย กลยุทธ์การเงินที่มีระยะเวลาคืนทุนอยู่ที่ 1 ปี 11 เดือน อัตราผลตอบแทนภายในที่ร้อยละ 36 โดยใช้แหล่งเงินทุนจากเจ้าของกิจการเอง
This business plan was made up on purpose: 1) To prepare for operation, 2) To be a business owner’s guideline or a loan approver for business, 3) To reduce risks in business operation, and having a backup plan in case of encountering with an uncontrollable environmental factor, 4) To provide a business owner to prioritize their thought about the preparation of creating a SMEs business. The business plan was prepared for sandwich ice-cream and side dish. Due to it is a new business, a technique and method using for this setup plan was to study from idea, theory, and depth-interview from samples who involved with ice-cream’s tasting from 20 people by using an advanced preparation’s interview question format. A percentage had been used for statistic method to analyze a primary data. The results of an internal environmental factors analysis had found that using production machine was not too difficult; workers had no necessary to have high-skill level; having fewer employees then it’s easy to control; being a small business, which an owner had enough amount of investment; and already having production technology supported except a piece of sandwich, soft ice-cream which sensitive with a surrounding temperature. Therefore, it was required to seek for ice-cream’s storage equipment. An owner lacked of knowledge about making an ice-cream, thus doing a lot of research was highly required. In part of an external environmental factor analysis’s result found that there are 4 direct competitors such as; Dairy Queen, Häagen-Dazs, Binggrae, and Lotte, which were distributed in department stores. On the other hand, an indirect competitor was a nearby dessert shop. Raw material for production could buy from plenty of distributors. Thai people favors to consume a dessert dish because the normally weather condition is quite hot. There have no special regulation law to control the product. The internal and external risks of environmental factors were; production technology, transportation, knowledge, and competitors. Nevertheless, a supplier factor had low rate of risk from less competitive condition. Only major competitor was Dairy Queen. However, after comparing among competitors, it was found that business positioning could be a market’s leader. In term of competitive advantages, sandwich ice-cream with side dish, distribution, and various sales’ promotions. Vice versa, a disadvantage was an unknown brand. The important strategies for running business were; brand building strategy by selecting online media and product exhibition; building a client strategy by presenting a differentiate product against an existing market; maintaining client strategy by using various of promotional marketing to impulse sales volume; human resources management strategy was to adequate with a regular business’s operation; purchasing strategy in selecting suppliers, and inventory management to maintain a balance of product’s turnover; production strategy by using efficient resources method to get highest utilization and minimize defects; financial strategy had a break-even point’s period in 1 year with 11 months, and return on investment was 36% by using a private owner’s equity.
Description: การค้นคว้าอิสระ (บธ.ม.)--สาขาวิชาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2558
Advisor(s): เกษมสันต์ พิพัฒน์ศิริศักดิ์
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2298
Appears in Collections:Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
teerawat_butr.pdf2.39 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback