DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2179

Title: ปัจจัยแรงจูงใจและความพึงพอใจที่มีต่อการทำงานในอุตสาหกรรมโรงแรม
Other Titles: Motivation and factors impact on work selection in hotel industry
Authors: นุตนลิน ลิมาพร
Keywords: ปัจจัยด้านแรงจูงใจ
ความพึงพอใจ
อุตสาหกรรมโรงแรม
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: งานวิจัยเรื่อง “ปัจจัยแรงจูงใจและความพึงพอใจที่มีต่อการทำงานในอุตสาหกรรมโรงแรม” นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านแรงจูงใจที่มีผลต่อการทำงานในอุตสาหกรรมโรงแรม และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านแรงจูงใจและความพึงพอใจในการทำงานในอุตสาหกรรมโรงแรม ประชากรตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ที่ทำงานอยู่ในอุตสาหกรรมโรงแรมระดับ 3-5 ดาว โดยมีขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาทำงานวิจัยครั้งเป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ถ้าพบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงทำการทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe’ Method) และการทดสอบความสัมพันธ์โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson Correlation) ผลการวิจัยพบว่า ผู้ที่ทำงานในอุตสาหกรรมโรงแรมส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 21-30 ปี มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี มีสถานภาพโสด ส่วนใหญ่ปฏิบัติงานอยู่ในตำแหน่งส่วนหน้า (Front Office) และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนระหว่าง 10,001 – 20,000 บาทปฏิบัติงานในโรงแรมระดับ 5 ดาว และผู้ที่ทำงานในอุตสาหกรรมโรงแรมส่วนใหญ่เห็นว่าจะทำงานต่อในอุตสาหกรรมโรงแรมต่ออีก 1-2 ปี จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ผู้ที่ทำงานในอุตสาหกรรมโรงแรม มีระดับความคิดเห็นต่อระดับแรงจูงใจที่มีผลต่อการทำงานในอุตสาหกรรมโรงแรม โดยรวมอยู่ “ระดับ มาก” โดยเรียงลำดับคือ 1) ประเด็นชื่อเสียงขององค์กร 2) ความสำเร็จของงาน 3) ความมั่นคงขององค์กร ตามลำดับ ผู้ที่ทำงานในอุตสาหกรรมโรงแรมมีระดับความคิดเห็นต่อระดับความพึงพอใจที่มี ผลต่อการทำงานในอุตสาหกรรมโรงแรม โดยรวมอยู่ “ระดับ มาก” โดยเรียงลำดับคือ 1) ภาพลักษณ์ขององค์กร/ โรงแรม 2) การมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน 3) ความน่าเชื่อถือของผู้บริหาร ตามลำดับ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแรงจูงใจและความพึงพอใจในการทำงานในอุตสาหกรรมโรงแรมพบว่า ปัจจัยด้านแรงจูงใจในการทำงานกับความพึงพอใจในการทำงานในอุตสาหกรรมโรงแรม มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทุกประเด็น งานวิจัยครั้งนี้เป็นประโยชน์ต่อ ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมสามารถนำผลที่ได้จากงานวิจัยครั้งนี้ไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงรูปแบบของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ภายในองค์กร เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการบริหารงาน
Research, entitled “Motivation and factors impact on work selection in hotel Industry” is aimed to compare the difference between demography with factor of motivation and satisfaction in working in the hotel industry. In addition this research also investigates the relationship between motivation factors and satisfaction factors in working hotel industry. The sample population used in this research is the employees who work in the hotel industry, the 3-5 star hotels with a sample number of 400 employees. Quantitative method was used for this study. The questionnaire was developing from the literature. To analyze the data, t-test, One-way Anova are used. If the difference was found statistically significant, the test pair differences by means of a Scheffe’ Method and Pearson Correlation were implemented. The result of the research found that employee who work in the hotel mainly are females, aged between 21-30 years. Most of them completed undergraduate degree. Most participants are single and work in a front office positions. The average monthly income is between 10,001-20,000 baht works in five-star hotels. The finds also show that they intend to continue working in the hotel for the next 1-2 years. Moreover the finding also show that hotel employees who have different demographic share the same opinion on motivational factor. The motivation factors that have been found from this research are 1) The reputation of the company 2) Achievement 3) Organize stability respectively. The satisfaction factors that have been found from this research are 1) The image of the organization 2) Interactions with colleagues 3) The credibility of the administration, respectively. The relation between motivation factors and satisfaction factors is statistically significant at the 0.05 level. The finding from the study can apply to hotel business. The hotel operators can apply all the result from the study and use them as guideline.
Description: การค้นคว้าอิสระ (ศศ.ม.)--สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2558
Advisor(s): ดวงธิดา นันทาภิรัตน์
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2179
Appears in Collections:Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
nutnarin_lima.pdf4.11 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback