DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2143

Title: ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บรรเทาอาการปวดที่ทำจากสมุนไพรของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Influential Factors on Purchase Decisions Concerning Muscle Pain Relief Herbal Products of Consumers in Bangkok
Authors: ปรียานุช แดงเดช
Keywords: พฤติกรรมผู้บริโภค
ส่วนประสมทางการตลาด
การตัดสินใจซื้อ
ผลิตภัณฑ์สมุนไพร
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค และส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บรรเทาปวดกล้ามเนื้อที่ทำจากสมุนไพรของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และทดสอบค่าความเชื่อมั่นด้วยวิธีของครอนบาร์คกับกลุ่มตัวอย่าง ได้ระดับความเชื่อมั่น 0.873 และเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 150 ราย และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอ้างอิง คือ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 20 - 29 ปีสถานภาพโสดการศึกษาระดับปริญญาตรีเป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ/พนักงานมหาวิทยาลัย รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาทผลด้านพฤติกรรมผู้บริโภค พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามทุกคนเคยมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อแบบ MPS และเคยใช้หรือซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อแบบ MPS ส่วนใหญ่ซื้อใช้เอง และใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรมานาน 4 ปีขึ้นไป ความถี่ในการซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรในระยะเวลา 6 เดือนที่ผ่านมาคือ 2 ครั้ง ค่าใช้จ่ายต่อครั้ง 51-100 บาท โดยใช้หรือซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ช่วยบรรเทาปวดกล้ามเนื้อรูปแบบยาหม่องมากที่สุด เหตุผลที่ซื้อเนื่องจากใช้งานง่าย ตนเองมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรมากที่สุด และสถานที่ซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรซื้อที่ร้านค้าสมุนไพรโดยเฉพาะมากที่สุด โดยส่วนใหญ่ได้รับข่าวสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สมุนไพรจากคนรู้จัก และผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญต่อด้านการส่งเสริมทางการตลาดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05โดยเรื่องที่ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญมากที่สุด คือ การโฆษณาผลิตภัณฑ์สมุนไพรจากสื่อต่างๆ เช่น โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต วิทยุรองลงมาได้แก่ ด้านช่องทางจัดจำหน่ายที่สามารถหาซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรได้สะดวก ด้านราคาที่เหมาะสมกับคุณภาพและด้านผลิตภัณฑ์ เรื่องที่ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญมากที่สุดคือผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่มีบรรจุภัณฑ์สะอาด คุณภาพดี และมีเครื่องหมายมาตรฐานรับรอง
The objectives of this study were to study consumer behavior and marketing mix influencing purchase decisions of consumers concerning muscle pain relief herbal products in Bangkok. A questionnaire was used to collect data and Cronbach’s Alpha was used to test the reliability of the study, showing a coefficient of reliability of 0.873. The data was collected from 150 participants who had Myofascial pain syndrome (MPS), had used muscle pain relief herbal products, and lived in Bangkok. The data was then statistically analyzed using descriptive statistics including percentage, mean and standard deviation. Multiple Regression, an inferential statistics method, was also used to test hypotheses in the study. The study revealed that the majority of the participants were single, female, 20-29 years of age, and working as a government employee/ state enterprise employee/ university employee. Most of them had graduated with a bachelor degree and earned an average monthly income of 20,001 – 30,000 Baht. The results on consumer behavior indicated that every participant had MPS and had used muscle pain relief herbal products. Most of them bought the products for their own personal use and had used herbal products for more than 4 years. They had purchased herbal products 2 times in the previous 6 months and spent 51-100 Baht each time. Herbal balm products were purchased the most with their ease of use cited as an important reason by the participants. The most influential person in making buying decisions was themselves and most purchases were made in herb shops. Most participants received product information from their acquaintances. The result of the hypothesis test revealed that participants prioritized the promotional factors significantly at a statistical significance of 0.05. The most emphasized mean of promotional factors was the advertisement of herbal products on television, internet, and radio. It was followed by the availability of convenient places for herbal product purchases, a reasonable price for their quality, and packaging which was clean, high quality, and marked with FDA approval.
Description: การค้นคว้าอิสระ (บธ.ม.) -- บัณฑิตวิทยาลับ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2558
Advisor(s): สุเมธี วงศ์ศักดิ์
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2143
Appears in Collections:Independent Studies - Master
Independent Studies

Files in This Item:

File Description SizeFormat
preyanuch_dang.pdf4.95 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback