DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1989

Title: การศึกษาข้อมูลส่วนบุคคล แรงจูงใจและพฤติกรรมภาวะผู้นำ ที่มีผลต่อคุณภาพการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการบริษัทเอกชน ในย่านสุขุมวิท จังหวัดกรุงเทพมหานคร
Other Titles: A Study of Personal Factors, Motivation, and Leadership Behaviors Affecting Work Quality of Operational Staff at a Private Company in Sukhumvit Area, Bangkok
Authors: อติคุณ ติ๊บแก้ว
Keywords: ข้อมูลส่วนบุคคล
แรงจูงใจ
พฤติกรรมภาวะผู้นำ
คุณภาพการทำงาน
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การศึกษา เรื่อง การศึกษาข้อมูลส่วนบุคคล แรงจูงใจและพฤติกรรมภาวะผู้นำ ที่มีผลต่อคุณภาพการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการบริษัทเอกชน ในย่านสุขุมวิท จังหวัดกรุงเทพมหานคร มีการกำหนดวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาข้อมูลส่วนบุคคลที่มีผลต่อคุณภาพการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการบริษัทเอกชน ในย่านสุขุมวิท จังหวัดกรุงเทพมหานคร (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของแรงจูงใจต่อคุณภาพการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการบริษัทเอกชน ในย่านสุขุมวิท จังหวัดกรุงเทพมหานคร (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของพฤติกรรมภาวะผู้นำต่อคุณภาพการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการบริษัทเอกชน ในย่านสุขุมวิท จังหวัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งผู้วิจัยจะใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพนักงานระดับปฏิบัติการบริษัทเอกชน ในย่านสุขุมวิท จังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 246 คน และและใช้ค่าสถิติต่างๆ เพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษา สามารถสรุปได้ว่า อายุ และอาชีพที่แตกต่างกัน มีผลต่อคุณภาพการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการบริษัทเอกชน ในย่านสุขุมวิท จังหวัดกรุงเทพมหานคร แตกต่างกัน ส่วนการวิเคราะห์ด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันระหว่างแรงจูงใจกับคุณภาพการทำงาน พบว่า (1) สวัสดิการที่ได้รับ สร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับพนักงานปฏิบัติการฯ มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจอยู่ในระดับต่ำ (r = .157) (2) ความมั่นคงในอาชีพการทำงาน สร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับพนักงานปฏิบัติการฯ มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจอยู่ในระดับต่ำ (r = .134) (3) การพัฒนาความรู้ ทักษะ ความสามารถในการทำงานที่องค์กรสนับสนุน สามาถสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับพนักงานปฏิบัติการฯ มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจอยู่ในระดับต่ำ (r = .132) (4) บุคลากร เช่น เพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน สร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับพนักงานปฏิบัติการฯ มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจอยู่ในระดับค่อนข้างสูง (r = .657) (5) สภาพแวดล้อมในองค์กร เช่น วัสดุ อุปกรณ์ อาคาร สถานที่ สร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับพนักงานปฏิบัติการฯ มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจอยู่ในระดับค่อนข้างสูง (r = .656) และการวิเคราะห์ด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันระหว่างพฤติกรรมภาวะผู้นำกับคุณภาพการทำงาน พบว่า (1) ภาพรวมผู้นำแบบเผด็จการ มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการทำงานอยู่ในระดับค่อนข้างสูง (r = .738) (2) ภาพรวมผู้นำแบบมีส่วนร่วม มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการทำงาน อยู่ในระดับค่อนข้างสูง (r = .660) (3) ภาพรวมผู้นำแบบประชาธิปไตย มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการทำงาน อยู่ในระดับปานกลาง (r = .468) (4) ภาพรวมผู้นำแบบเสรีนิยม มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ (r = .305)
The objectives of this research were 1) to study the personal factors affecting the work quality of the operational staff at a private company in Sukhumvit area, Bangkok, 2) to examine the relationship between the motivation factors and the work quality of the operational staff at a private company in Sukhumvit area, Bangkok, and 3) to study the relationship between the leadership behaviors and the work quality of the operational staff at a private company in Sukhumvit area, Bangkok. Questionnaires were used as the data collection tool, and distributed to 246 operational staff at a private company in Sukhumvit area, Bangkok. The statistical data analysis was conducted using the descriptive statistics and the inferential statistics. The results from the study showed that different ages and occupations had a different effect on the work quality of the staff. In addition, the statistical analysis conducted by using Pearson’s correlation coefficient revealed that (1) the relationship between the fringe benefits and the work quality of the operational staff was at a low level (r = .157), (2) the relationship between the job security factor and the work quality of the operational staff was at a low level (r = .134), (3) the relationship between the professional development factor supported by the organization and the work quality of the operational staff was at a low level (r = .132), (4) the relationship between the personnel factor including coworkers and supervisors, and the work quality of the operational staff was at a fairly high level (r = .657), and (5) the relationship between the work environment factor including materials, equipment, and building, and the work quality of the operational staff was at a fairly high level (r = .656). Furthermore, it was found that (1) the relationship between the autocratic leadership style and the work quality of the operational staff was at a fairly high level (r = .738), (2) the relationship between the participative leadership style and the work quality of the operational staff was at a fairly high level (r = .660), (3) the relationship between the democratic leadership style and the work quality of the operational staff was at a medium level (r = .468), and (4) the relationship between the laissez-faire leadership style and the work quality of the operational staff was at a fairly low level (r = .305).
Description: การค้นคว้าอิสระ (บธ.ม.) -- บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2558
Advisor(s): สุทธินันทน์ พรหมสุวรรณ
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1989
Appears in Collections:Independent Studies - Master
Independent Studies

Files in This Item:

File Description SizeFormat
atikhun_tibk.pdf3.86 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback