DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1901

Title: การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัสดุเหลือใช้ สู่ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม: กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์ตกแต่งบ้านจากเศษไม้
Other Titles: Maximizing the Value of Material scraps and Turning into Eco Products, Case Study: Home Decoration Products from Wood scraps
Authors: ปิยาภรณ์ คำยิ่งยง
Keywords: วัสดุเหลือใช้
ผลิตภัณฑ์ตกแต่งบ้านที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ส่วนประสมทางการตลาด
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางในการเพิ่มมูลค่าให้กับเศษไม้เหลือใช้ที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ตกแต่งบ้านที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อศึกษาปัจจัยประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อปัจจัยทางด้านส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ตกแต่งบ้านที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ ทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการคำนวณตามสูตรของคอแครน (W.G. Cochran) จากกลุ่มตัวอย่างประชากรในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ที่มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตและมีความสนใจในผลิตภัณฑ์ตกแต่งบ้านที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในปี พ.ศ. 2558 ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 250 คน และใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจผลิตภัณฑ์ตกแต่งบ้านและผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สถิติเชิงพรรณนา เพื่อใช้วิเคราะห์และประมวลผลจากการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถาม และนำมาแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติซึ่งจะวิเคราะห์ผลเป็นความถี่ ค่าร้อยละ และสถิติเชิงอ้างอิง เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์และผลกระทบต่างๆผลจากการศึกษา พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ช่วงอายุ 31-40 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ทั้งนี้โดยส่วนใหญ่มีลักษณะของที่อยู่อาศัยเป็นบ้านเดี่ยว มีพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าตกแต่งบ้านและสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยเหตุผลจากของตกแต่งบ้านชิ้นเดิมเสียหายหรือชำรุด และจะเลือกซื้อสินค้าตกแต่งบ้าน ซึ่งใช้ไม้เป็นวัสดุหลัก เพราะสินค้าที่ผลิตจากไม้ให้ความรู้สึกถึงความเป็นธรรมชาติหรือความอ่อนโยนที่ได้จากลวดลายของเนื้อไม้ และกลุ่มตัวอย่างให้ระดับความสำคัญกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านผลิตภัณฑ์มากที่สุดในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ตกแต่งบ้านและผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รองลงมาคือ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาดตามลำดับ
The objectives of this study were: 1.) to explore the methods to maximize the value of wood scraps, 2.) to examine the customer behaviors towards environmentally-friendly home decoration products, and 3.) to investigate demographic factors influencing marketing mix factors when making a decision to purchase the eco-friendly home decoration products. The study was a quantitative research, based on the information obtained from questionnaires. Employing the W.G. Cochran’s calculation methods, a sample of 250 people was selected from the citizens, who lived in Bangkok areas, used the internet and were interested in the eco-friendly home decoration products in 2015. The study was not only a quantitative research but also a qualitative one. It was based on the in-depth interviews with entrepreneurs in the eco-friendly home decoration products business. The descriptive statistics was also utilized to examine customer behaviors and information gained from the questionnaires. The results of statistical analysis were portrayed as frequency, percentage, mean, standard deviation (SD) and inferential statistics, to analyze the relations and effects among these factors. The findings indicated that the sample was mostly female, aged between 31 and 40, holding a Bachelor’s degree and working as an employee whose salary was approximately 10,001 – 20,000 per month. Most of the sample lived in a single-family house, and purchased eco-friendly home decoration products to replace the damaged old pieces. The sample would mainly choose the products made out of wood due to the senses of nature and tenderness gained from the patterns of wood. The sample gave the priority to the marketing mix factors, followed by price, channel of distribution and promotion factors respectively, when purchasing eco-friendly home decoration products.
Description: การค้นคว้าอิสระ (บธ.ม.)--สาขาวิชาการจัดการสาระและการสร้างคุณค่า บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2558
Advisor(s): ธนาทร เจียรกุล
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1901
Appears in Collections:Independent Studies - Master
Independent Studies

Files in This Item:

File Description SizeFormat
piyaporn_kamy.pdf5.5 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback