DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1809

Title: ปัญหาการคุ้มครองลิขสิทธิ์ในงานกราฟฟิตี้ในประเทศไทย
Other Titles: The problems of Copyright Protection in Graffiti in Thailand
Authors: อรรัตน์ อยู่วัฒนา
Keywords: การคุ้มครองลิขสิทธิ์
กราฟฟิตี้
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงลักษณะของงานกราฟฟิตี้ ปัญหาของงานลิขสิทธิ์เกี่ยวกับงานกราฟฟิตี้ และวิเคราะห์มาตรการการคุ้มครองลิขสิทธิ์ของงานกราฟฟิตี้ในกฎหมายของต่างประเทศและกฎหมายของระหว่างประเทศ และแนวทางการแก้ไขปัญหาการคุ้มครองลิขสิทธิ์ในงานกราฟฟิตี้ของประเทศไทย ผลการวิจัย ปัญหาเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์เกี่ยวกับงานกราฟฟิตี้ พบว่า เกิดปัญหาใน 3 ประเด็น ได้แก่ (1) งานกราฟฟิตี้ที่เกิดขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมาย (2) งานกราฟฟิตี้ ที่ไม่ปรากฏชื่อผู้สร้างสรรค์ และ (3) งานกราฟฟิตี้ที่ริเริ่มสร้างสรรค์ลงบนทรัพย์สินของบุคคลอื่น ซึ่งส่งผลกระทบต่อบุคลากรในหลายภาคอุตสาหกรรม อันก่อให้เกิดปัญหาและอุปสรรคสำคัญใน การสร้างเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ตามเจตนารมณ์ของกฎหมายลิขสิทธิ์ นอกจากนี้ การวิจัยพบว่า มาตรการการคุ้มครองลิขสิทธิ์ของงานกราฟฟิตี้ในกฎหมายของต่างประเทศและกฎหมายของระหว่างประเทศ พบว่า มีกฎหมายหลายฉบับที่เกี่ยวข้องกับปัญหาดังกล่าว แต่ก็เป็นเพียงกฎหมายที่ไม่ได้จำกัดไว้อย่างชัดเจน อีกทั้งจากการศึกษา ยังไม่พบว่าประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายที่มุ่งเน้นในการแก้ปัญหานี้อย่างชัดเจน และจากการศึกษาค้นคว้ากรณีกฎหมายลิขสิทธิ์ของสหรัฐอเมริกาและประเทศออสเตรเลีย พบว่า การใช้ระบบมาตรการบังคับใช้สิทธิภายใต้กฎหมายลิขสิทธิ์ของออสเตรเลีย โดยประเทศไทย ควรประยุกต์และปรับใช้กฎหมายลิขสิทธิ์ของออสเตรเลียมาประยุกต์ใช้ภายในประเทศไทย โดยรายละเอียดนั้นอาจปรับปรุงให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ของประเทศไทย เพราะแม้ว่าในประเทศไทยจะยังไม่มีวิธีทางกฎหมายที่รับมือกับปัญหา นี้อย่างชัดเจน ตลอดจนการที่ยังไม่มีข้อพิพาทเกี่ยวการติดตามหรือระบุเจ้าของลิขสิทธิ์งานกราฟฟิตี้ อันเป็นงานที่มีลิขสิทธิ์ที่ไม่ปรากฏชื่อผู้สร้างสรรค์ผลงานก็ตาม แต่จะเป็นการป้องกันปัญหาที่ดีได้หากประเทศไทยจะมีการบัญญัติกฎหมายลิขสิทธิ์ที่เตรียมความพร้อมรับมือกับปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานกราฟฟิตี้ที่ถือเป็นงานศิลปกรรมรูปแบบหนึ่ง โดยผู้วิจัยทำการวิเคราะห์และเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาการคุ้มครองลิขสิทธิ์ในงานกราฟฟิตี้โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเด็น ได้แก่ 1) กราฟฟิตี้ไม่ว่าจะเป็นกรณีงานที่ปรากฏชื่อผู้สร้างสรรค์หรืองานที่ไม่ปรากฏชื่อผู้สร้างสรรค์ก็ตาม สำหรับในประเทศไทยถือเป็นงานศิลปกรรมประเภทจิตรกรรม อันได้รับความคุ้มครองภายใต้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 งานศิลปกรรมประเภทจิตรกรรม ดังนั้นหากมีผู้ใดนำงานกราฟฟิตี้ไปใช้แสวงหาประโยชน์ในเชิงพาณิชย์โดยมิได้รับอนุญาตจากผู้สร้างสรรค์ซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ก็จะถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 เว้นแต่บุคคลอื่นนำไปใช้ตามข้อยกเว้นในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 และ 2) ควรที่จะคุ้มครองงานกราฟฟิตี้ในฉบับดั้งเดิมให้เป็นสิทธิของผู้สร้างสรรค์ที่สามารถ ทำซ้ำ ดัดแปลง เผยแพร่ ในตัวงานดังกล่าวได้แต่ผู้สร้างสรรค์นั้นไม่มีสิทธิครอบครองงานกราฟฟิตี้ที่ตนเองสร้างสรรค์ขึ้นโดยกายภาพเนื่องจากปรากฏอยู่บนทรัพย์สินของบุคคลอื่น โดยควรที่จะแยกความเป็นงานสร้างสรรค์ศิลปะกราฟฟิตี้ออกจากการกระทำที่ผิดตามประมวลกฎหมายอื่น เว้นแต่ว่าในการสร้างสรรค์ผลงานนั้นถูกสร้างสรรค์ขึ้นมาโดยมีการละเมิดของสิทธิบางประเภทเดียวกันจากการคุ้มครองกฎหมายลิขสิทธิ์ แนวทางการแก้ไขปัญหาการคุ้มครองลิขสิทธิ์ในงานกราฟฟิตี้ของประเทศไทย พบว่า แก้ไขพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ในเรื่องของการเข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์ที่ไม่ปรากฏชื่อผู้สร้างสรรค์ โดยการการบังคับใช้สิทธิ์ เพราะการแก้ไขดังกล่าว จะเป็นการแก้ไขในส่วนของการใช้สิทธิ์ในพฤติการณ์พิเศษ ซึ่งการนำระบบหรือข้อกำหนดทางกฎหมายเพื่อรับมือกับปัญหาผลงานอันมีลิขสิทธิ์ที่ไม่ปรากฏชื่อผู้สร้างสรรค์ผลงานนี้ จำเป็นที่จะต้องได้รับการพิจารณา เนื่องจากแก้ไขพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ในเรื่องของการเข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์ที่ไม่ปรากฏชื่อผู้สร้างสรรค์ โดยการบังคับใช้สิทธิ์นั้น จะเป็นกลไกที่จะสามารถอนุญาตให้มีการใช้งานผลงานอันมีลิขสิทธิ์แต่ไม่ปรากฏชื่อผู้สร้างสรรค์ผลงานนั้น ๆ ได้ ดังนั้นการแก้ไขในพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ในมาตรา 54 เพื่อให้สามารถเข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์ได้ทุกประเภท ให้รวมถึงงานอันมีลิขสิทธิ์ที่ไม่ปรากฏชื่อผู้สร้างสรรค์ และให้กำหนดระยะเวลามากกว่า 3 ปีขึ้นไป
The objective of this research are as follows: 1) To study the characteristic of the graffiti. 2) To study the issue of copyright about graffiti. 3) To study and analyze copyright protection measures of graffiti in foreign Laws and international laws. 4) To offer solutions of copyright protection in graffiti in Thailand. The research about the copyright protection measures in graffiti found in three cases as follows; graffiti that formed by law, graffiti that an unidentified producer, and graffiti that initiate on other people’s intellectual property infringement with the growing number and impact on personnel in a number of industries. There are important barriers in creating a creative economy in the spirit of copyright law. Because of such problems hinder the process of conservative culture, the educational development, and the economic drivers, and also damages society as a whole.The copyright protection measures of graffiti in foreign laws and international laws found that there are several laws related to as above issues, but it is the law that is not clearly defined. The study also found that there are no laws in Thailand that seriously focuses on solving this problem. The study case about copyright laws of United States and Australia found that the right system is the use of compulsory licensing under Australia's copyright laws. Thailand should deploy Australia's copyright laws to apply in the country. Details can be adjusted to suit the situation of the country. Although Thailand doesn’t have a law for clearly solving this problem and it doesn’t dispute about the track or identify the owner of the copyright in graffiti, it is the good solution if Thailand will legislate about the copyright for solving the copyright infringement in graffiti which is a type of art. The researcher analyzes and proposes solutions about the copyright protection in graffiti divided into two aspects: 1) whether the graffiti will be identified or unidentified the creative, in Thailand, it is a creative work and can be protected under the copyright act in section 4 in 1994 as the art of painting, to create works on the walls using line, light, color. So if there is anyone using graffiti to exploit in commercial without permission from the creative, the copyright owner is deemed an infringement under section 27 of the copyright act in 1994 unless the person applied according to the exception in section 32 of the copyright act in 1994. 2) It should protect the original of graffiti as the rights of creative which can replicate, adapt, publish in work, but the creative cannot be the possession of it graffiti in physical due to it appears on the property of another person. It should separate the creative in graffiti and the action which against the other law codes except in that creation of works were created by the violation of certain rights protected by the copyright laws. The solutions of copyright protection in the graffiti of Thailand found that the expert should have a campaign for giving the knowledge to the creative regarding a notice of copyright and the prevention of creative works, which do not unidentified the creative, including encourage the creative to join the existing of copyright at the copyright office. But the solution as mentioned above is not the directly solution to solve this problem because there are differences on how the law more effective.
Description: การค้นคว้าอิสระ (น.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2557
Advisor(s): อรรยา สิงห์สงบ
ปัจฉิมา ธนสันติ
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1809
Appears in Collections:Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
orarat.yoow.pdf3.36 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback