DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1653

Title: การรักษาความลับในกระบวนการอนุญาโตตุลาการของไทยกับหลักความโปร่งใสของ อนุสัญญาว่าด้วยความโปร่งใสในอนุสัญญาว่าด้วยการอนุญาโตตุลาการ ระหว่างนักลงทุนและรัฐผู้รับการลงทุน
Other Titles: The confidentiality of the procedures of thai arbitration and the principle of transparency under the Convention on Transparency in Treaty-based Investor-State Arbitration
Authors: หทัยชนก ชอบผล
Keywords: ความโปร่งใส
การรักษาความลับ
อนุญาโตตุลาการ
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: หลักความโปร่งใสของอนุสัญญาว่าด้วยความโปร่งใสในในอนุสัญญาว่าด้วยการอนุญาโตตุลาการระหว่างนักลงทุนและรัฐผู้รับการลงทุน เป็นหลักกฎหมายที่กำหนดให้ต้องเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวกับกระบวนการพิจารณารวมไปถึงการทำคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ โดยในการระงับข้อพิพาททาง อนุญาโตตุลาการหากคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายเป็นภาคีในอนุสัญญาเรื่องความโปร่งใสฯ คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะนำหลักความโปร่งใสในอนุสัญญานี้มาใช้ประกอบในการระงับข้อพิพาทได้ โดยในปี ค.ศ. 2013 มีการนำหลักความโปร่งใส่มาปรับใช้ในการระงับข้อพิพาท UNCITRAL Arbitration Rules ซึ่งเป็นการนำหลักความโปร่งใสนี้มีการนำไปใช้ในการระงับข้อพิพาทที่เกี่ยวกับการค้าการ ลงทุนด้วย โดยในส่วนของการค้นคว้าอิสระนี้ได้ทำการศึกษาอนุสัญญาว่าด้วยการระงับข้อพิพาททางการลงทุนระหว่างรัฐและคนชาติ ของรัฐอื่น (ICSID) การระงับข้อพิพาททางการค้าระหว่างประเทศผ่านทางสถาบันอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ (ICC) และ UNCITRAL Arbitration Rules นำมาทำการเปรียบเทียบกับอนุสัญญาเรื่องความโปร่งใสฯ โดยทำการเปรียบเทียบความ แตกต่างกันในการนำหลักเกณฑ์ของความโปร่งใสที่นำมาปรับใช้ใน ICSID ICC และ UNCITRAL Arbitration Rules นอกจากนั้นยังได้ทำการศึกษาหลักการระงับข้อพิพาททางอนุญาโตตุลาการของไทยอีกด้วย ซึ่งการระงับข้อพิพาทโดยการอนุญาโตตุลาการของไทยหากข้อพิพาทเป็นข้อพิพาทที่เกี่ยวกับทางด้าน การค้าและการลงทุนการอนุญาโตตุลาการของไทยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ การรักษาความลับในกระบวนการอนุญาโตตุลาการรวมถึงรักษาความลับในส่วนของข้อมูลที่ใช้ในการอนุญาโตตุลาการ โดย การรักษาความลับในการอนุญาโตตุลาการนั้นแม้ไม่ได้มีการบัญญัติไว้ใน พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 แต่มีการกำหนดไว้ใน กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประมวลจริยธรรมในการรักษาความลับเท่านั้น การรักษาความลับควรจะมีการกำหนดบทบัญญัติให้ชัดเจนโดยต้องมีการกำหนดในกฎหมายการอนุญาโตตุลาการ สำหรับหลักความโปร่งใสนั้น การนำหลักความโปร่งใสมาใช้ควบคู่กับ การระงับข้อพิพาทโดยการอนุญาโตตุลาการของไทยอาจเป็นการขัดกันกับการรักษาความลับในการอนุญาโตตุลาการของไทย เพราะ หลักความโปร่งใสมุ่งเน้นในเรื่องของการเปิดเผยข้อมูลและการเปิดเผยกระบวนการพิจารณา การนำหลักความโปร่งใสเข้ามาใช้ในการอนุญาโตตุลาการของไทยอาจเกิดความยุ่งยากในส่วนของการรักษาความลับในกระบวนการอนุญาโตตุลาการของไทย หากประเทศไทย จะเข้าร่วมเป็นภาคีในอนุสัญญาเรื่องความโปร่งใสในการอนุญาโตตุลาการระหว่างผู้ลงทุนกับรัฐภายใต้สนธิสัญญา ควรจะนำหลักความโปร่งใสมาปรับใช้ในสัญญาทางปกครองในกรณีพิพาทที่เกี่ยวกับรัฐผู้รับการลงทุนกับนักลงทุนชาวต่างชาติที่เข้ามาลงทุน หากมีการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการและนำหลักความโปร่งใสมาใช้เป็นเครื่องมือในการระงับข้อพิพาทด้วยแล้ว ย่อมเป็นผลดีกับทั้งฝ่ายรัฐ และผู้รับการลงทุน เพราะผู้รับการลงทุนสามารถตรวจสอบกระบวนการและขั้นตอนการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการได้ เพื่อเป็นการกำหนดการบังคับใช้หลักความโปร่งใสเฉพาะในส่วนของการระงับข้อพิพาทโดยการอนุญาโตตุลาการในกรณีพิพาทของสัญญาทางปกครองเท่านั้น ส่วนการระงับข้อพิพาททางการค้าก็ให้เป็นไปตามกระบวนการอนุญาโตตุลาการของไทยเช่นเดิม ดังนั้น ประเทศไทยควรจะเข้าร่วมเป็นภาคีนี้ การที่ประเทศไทยจะเข้าร่วมเป็นภาคีและมีการนำหลักความโปร่งใสมาใช้ควบคู่กับการอนุญาโตตุลาการของไทยก็ย่อมเป็นผลดีกับรัฐที่รับการลงทุนในเรื่องของความโปร่งใส โดยอาจมีการปรับปรุงเพิ่มเติมโดยนำหลักความโปร่งใสบัญญัติเพิ่มเติมไว้ในพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ และยังต้องมีการกำหนดในเรื่องของการรักษาความลับในกระบวนการ อนุญาโตตุลาการเพื่อให้มีผลบังคับใช้ทางกฎหมายด้วย
The principle of transparency under the Convention on Transparency in Treaty-based Investor-State Arbitration The principle of transparency is objective to public documents due to disclosure procedure to award arbitration. In disputes arbitration if parties join as associate members or parties agree to do transparency in disputes arbitration. Transparency apply disputes trade and investment. In 2013 UNCITRAL arbitration Rule implementation of the transparency. Therefore, this independent study researching International Centre for the Settlement of Investment Dispute–ICSID and International Chamber of Commerce- ICC for compare to the principle of transparency. Then, researching disputes settlement with International Commercial and investment arbitration of Thailand system. One of the main purpose confidentiality for the procedures of Thai arbitration include confidentiality for document use to in arbitration. The confidentiality not establish Arbitration Acts but impose confidentiality protection of arbitration in legal provision rules regulation or code of ethics. The principle of transparency use to settlement of disputes between investors and the States example the administrative contract. It‘s can dispute arbitration and use to principle of transparency .in which more benefit state and investors because the investors checklist procedure arbitration. But the principle of transparency used with arbitration system in Thai it conflict in confidentiality arbitration, because Thailand not join the member in the Convention on Transparency in Treaty-based Investor-State Arbitration. Soon joining in 2016. Therefore, the suggestion from independent study Thailand will to joining in member or not joining it. since the party consent procedure in Thailand of both agree bring transparency dispute with UNCITRAL Arbitration Rules , UNCITRAL Arbitration Rules apply principle in transparency and Thailand join member in UNCITRAL Arbitration Rules or domestic law Arbitration act Implementation of the transparency Last one the transparency is benefit for state.
Description: การค้นคว้าอิสระ (น.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2557
Advisor(s): ศิริชัย มงคลเกียรติศรี
ชวลิต อัตถศาสตร์
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1653
Appears in Collections:Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
Hataichanok.Chob.pdf1.42 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback