DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1540

Title: โครงการจัดตั้งค่ายเพลงลูกทุ่งขนาดเล็กในยุคดิจิตอล
Other Titles: The establishment of small luk thung record labels in the digital age project
Authors: จีรวัลย์ สอนสะอาดดี
Keywords: เพลงลูกทุ่ง
ค่ายเพลงลูกทุ่ง
พฤติกรรมผู้บริโภคเพลงลูกทุ่ง
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคเพลงลูกทุ่งและแนวทางการบริหารค่ายเพลงลูกทุ่งขนาดเล็กในยุคดิจิตอล ให้อยู่รอดได้ในทางธุรกิจขณะเดียวกันก็ส่งเสริมและอนุรักษ์ให้เพลงแนวนี้คงอยู่ได้ในยุคปัจจุบันผ่านทางเทคโนโลยีร่วมสมัย โดยอาศัยการสัมภาษณ์ผู้ทีอยู่ในอุตสาหกรรมเพลงลูกทุ่ง และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ โดยคัดเลือกคำถามจากการทดสอบความสอดคล้องของคำถาม 28 ข้อ แจกให้กลุ่มตัวอย่างชายหญิงในเขตกรุงเทพมหานคร 400 คน และใช้สถิติพรรณนาเพื่ออธิบายข้อมูล พบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชาย 66 คน คิดเป็นร้อยละ 16.5 เพศหญิง 334 คน หรือร้อยละ 83.5 มีช่วงอายุ 20 - 30 ปี 127 คน ถือเป็นร้อยละ 31.6 มีสถานภาพโสด 265 คน คิดเป็นร้อยละ 66.25 มีระดับการศึกษาปริญญาตรี 208 คน เท่ากับร้อยละ 52 ประกอบอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน 112 คน หรือร้อยละ 28 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,000 - 20,000 บาท 125 คน คิดเป็นร้อยละ 31.25 แรงจูงใจในการเลือกฟังเพลงลูกทุ่งกลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญกับเนื้อหาของเพลง 291 คน ถือเป็นร้อยละ 72 ปัจจัยที่ทำให้ชื่นชอบศิลปินนักร้องกลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญกับน้ำเสียง 352 คน หรือร้อยละ 88  ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคเพลงลูกทุ่ง พบว่า ผู้บริโภคเลือกฟังเพลงที่เนื้อเพลงและจังหวะของเพลงที่ฟังง่ายติดหูในระดับมากที่สุด ความสามารถในการร้องของศิลปินมีผลต่อการเลือกฟังเพลงในระดับมาก มิวสิกวีดิโอมีส่วนช่วยส่งเสริมการจดจำเพลงและศิลปินในระดับมาก การโปรโมทเพลงและศิลปินในสื่อโทรทัศน์มีผลต่อการรับรู้ในระดับมาก การบริโภคเพลงลูกทุ่งผ่านสื่อวิทยุและเว็บไซต์ที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายอยู่ในระดับมากที่สุด และกลุ่มตัวอย่างเห็นว่าเพลงลูกทุ่งช่วยส่งเสริมเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมได้ดีในระดับดีมาก จากการวิเคราะห์ถึงความเป็นได้ในการดำเนินการของโครงการ สรุปได้ว่า โครงการนี้ช่วยส่งเสริมวัฒนธรรมลูกทุ่งได้ดีและมีความน่าสนใจในการลงทุน
The objectives of this research were to study behavior of Lukthung music consumer and the management style of small Lukthung record labels which help them survive in the digital age. The study also aimed to preserve this genre of music’s existence in Thai society through modern technology. Interviews reputable people in the industry and questionnaires were used as tools. Predefined 28-questions questionnaires were distributed to 400 sampled individuals in Bangkok. It was found that there were 66 men (16.5%) and 334 women (83.5%), 127 people were aged 20 – 30 years (31.6%), 265 people were single (66.25%), 208 people held a Bachelor’s degree (52%), 112 were employed in private companies (28%), and 125 people had a monthly income ranging within 10,000 – 20,000 baht (31.25%). Meaningful lyrics made 291 people (72%) listened to Lukthung music, while 352 people (88%) adored singers because of their tones. The sample group chose to listen to songs with easy listening rhythm and their lyrics at the highest levels. An artist’s singing ability affected music selection in high levels. Music videos contributed to song and artists memorization in high levels. Song and artist promotion through television affected recognition in high levels. Consumption of free music through radio and websites were ranked in the highest levels among the sampled group. They believed Lukthung music helped to sustain cultural identities in high levels. From the analysis, it was concluded that this project helped to promote Lukthung culture and is an interest for investment.
Description: การค้นคว้าอิสระ (นศ.ม.)--สาขาวิชาการบริหารธุรกิจบันเทิงและการผลิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2558
Advisor(s): ปีเตอร์ กัน
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1540
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
jeerawan_sons.pdf6.06 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback