DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1537

Title: โครงการจัดตั้งรีสอร์ทเชิงอนุรักษ์
Other Titles: Eco Resort Establishment Project
Authors: ณัฐภน ใจแสน
Keywords: การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาดในการเลือกใช้บริการที่พัก ความพึงพอใจ และวิธีการดำเนินกิจการที่พักเชิงอนุรักษ์ ตลอดจนการวิเคราะห์โอกาสในการพัฒนา การจัดตั้งที่พักและการท่องเที่ยว เชิงอนุรักษ์ โดยกลุ่มประชากรตัวอย่างคือ นักท่องเที่ยวที่เดินทาง มาท่องเที่ยวใน อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 385 คน เครื่องมือที่ใช้ในเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถาม (Questionnaire Method) และแบบสัมภาษณ์ (Interview Method) สัมภาษณ์ผู้ที่ มีส่วนเกี่ยวข้องหรือดำเนินธุรกิจรีสอร์ทในพื้นที่ ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง จำนวน 241 คน คิดเป็นร้อยละ 62.60 และ เพศชาย จำนวน 144 คน คิดเป็นร้อยละ 37.40 ส่วนใหญ่ มีอายุระหว่าง 20-29 ปี จำนวน 178 คน คิดเป็นร้อยละ 46.23 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นพนักงานบริษัทเอกชน จำนวน 113 คน คิดเป็น ร้อยละ 29.35 มีรายได้ ต่อเดือนระหว่าง 10,000-20,000 บาท จำนวน 153 คน คิดเป็น ร้อยละ 39.74 มีวัตถุประสงค์เพื่อการท่องเที่ยวและพักผ่อน จำนวน 274 คน คิดเป็นร้อยละ 71.17 โดยกลุ่ม ตัวอย่าง จำนวน 239 คน คิดเป็นร้อยละ 62.08 เคยมาท่องเที่ยว อำเภอศรีสวัสดิ์ มีระยะเวลาในการ ใช้บริการ จำนวน 1 คืน จำนวน 166 คน คิดเป็นร้อยละ 43.12 บุคคลที่ร่วมเดินทางท่องเที่ยว มากสุดคือ เพื่อน จำนวน 149 คน คิดเป็นร้อยละ 38.70 และมีค่าใช้จ่ายสำหรับที่พักต่อคนต่อคืน ระหว่าง 1,000-2,000 บาท จำนวน 199 คน คิดเป็น ร้อยละ 51.69 ความคิดเห็นต่อส่วนประสม ทางการตลาดในการเลือกใช้ บริการที่พัก ให้ความสำคัญ ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านผลิตภัณฑ์ สูงสุดคือ การตกแต่ง ด้านราคา สูงสุดคือ ราคาเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและทำเลที่ตั้ง ด้านทำเลที่ตั้ง สูงสุดคือ บรรยากาศ ด้านการส่งเสริมการตลาด สูงสุดคือ การบริการของพนักงาน ความพึงพอใจในการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ธรรมชาติ มีความพึงพอใจระดับมาก โดยสูงสุดคือ การอนุรักษ์ธรรมชาติมีความสำคัญ การมีส่วนร่วมต่อวิธีการ ดำเนินกิจการที่พักเชิงอนุรักษ์ มีความคิดเห็นในระดับมาก โดยสูงสุด คือ สร้างงานและรายได้ ให้กับชุมชนท้องถิ่น ผลการศึกษาความต้องการต่อสิ่งอำนวยความสะดวกในการท่องเที่ยว ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก พบว่า มีความต้องการมากสุด คือ เครื่องปรับอากาศ จำนวน 297 คน คิดเป็น ร้อยละ 12.45 ด้านกีฬาและ สันทนาการ พบว่า มีความต้องการมากสุด คือ ท่องเที่ยวเชิงนิเวศ จำนวน 261 คน คิดเป็น ร้อยละ 15.46
This research is to study the marketing mix in the choice of lodging satisfaction and how to operate eco-accommodation as well as analyze opportunities for establishing property development and ecotourism. The demographic samples were 385 tourists who came to visit Sri Sawat District, Karnchanaburi Province. The questionnaire and interview methods were used to collect data from those involved or engaged in a resort business in the area. The results showed that 241 samples, representing 62.60%, were female; 144 samples, representing 37.40%, were male. 178 people representing 46.23%, were between 20 – 29 years old. The majority, 113 people, representing 29.35%, were private company employees. 153 people, representing 39.74% earned 10,000 – 20,000 baht. 274 people, representing 71.17% came for traveling. 239 people, representing 62.08% had visited Sri Sawat District before, and 166 people, representing 43.12%, came for a period of 1 night. 149 people, representing 38.70%, traveled with friends. 199 people, representing 51.69%, spent up to between 1,000 – 2,000 baht per person per night for an accommodation. All aspects were weighted at high level in the reviews toward the marketing mix in the choice of lodging. Regarding the product, decorating style was rated highest. The price was considered reasonable for the environment and location. The highest rate went to the atmosphere and marketing promotion, service satisfaction with staff were rated at the highest level. The importance of participation in conservation was rated the highest, and participation in eco-accommodation operations, creating jobs and income for the community were rated the highest. The results, from 297 people or 12.45% of the study of tourism needs, in terms of facilities, showed that the need of air-conditioner was the highest; in terms of sports and recreations, it showed that ecotourism was required the most from 261 people, representing 15.46%.
Description: การค้นคว้าอิสระ (นศ.ม.) -- สาขาการบริหารธุรกิจบันเทิงและการผลิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2558
Advisor(s): ชัยฤทธิ์ ทองรอด
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1537
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
nattaphon_jais.pdf6.81 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback