DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Cluster of Business & Management >
School of Business Administration >
Master Degree >
Journal Articles - MBA >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1381

Title: ความคิดเห็นต่อส่วนประสมการตลาดที่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจใช้บริการ Dtac TriNet ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Consumers' Opinions towards Marketing Mix Relating to the Willingness to Use Dtac TriNet Services in Bangkok.
Authors: สุภาวดี พรหมเกาะ
Keywords: ส่วนประสมการตลาด
ความตั้งใจใช้บริการ
Dtac TriNet
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาลักษณะและความแตกต่างด้านประชากรศาสตร์ที่มีผล ต่อความตั้งใจใช้บริการ Dtac TriNet ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้าน เทคโนโลยี (Technology) ต่อความตั้งใจใช้บริการ Dtac TriNet ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร และ 3) เพื่อ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจใช้บริการ Dtac TriNet ของ ผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร ทาการเก็บข้อมูลจากลูกค้าที่ใช้บริการระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่เครือข่าย Dtac TriNet ในเขตกรุงเทพมหานคร จานวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามและการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์การถดถอย เชิงพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ที่ระดับนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาสรุปได้ว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุ ประมาณ 21–30 ปี สถานภาพโสด มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน มี รายได้ต่อเดือนประมาณ 10,001–30,000 บาท โดยรวมกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อส่วนประสมการตลาดของ Dtac TriNet ในภาพรวมอยู่ในระดับสูง ซึ่งด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านช่องทาง การจัดจาหน่าย รองลงมาคือ ด้าน ผลิตภัณฑ์ ด้านราคา และด้านการส่งเสริมการตลาด ตามลาดับ โดยรวมกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อปัจจัยด้าน เทคโนโลยี (Technology) ของ Dtac TriNet อยู่ในระดับสูง ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือระบบ Dtac TriNet มีความ รวดเร็วในการเชื่อมต่อสัญญาณ โดยรวมกลุ่มตัวอย่างมีความตั้งใจใช้บริการ Dtac TriNet อยู่ในระดับสูง ซึ่งข้อที่มี ค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ไม่มีเครือข่ายใดน่าใช้บริการไปมากกว่า Dtac TriNet ส่วนผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า เพศ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน ของลูกค้าที่ใช้บริการ Dtac TriNet ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ที่แตกต่างกันมีผลต่อความตั้งใจใช้บริการ Dtac TriNet แตกต่างกันและปัจจัยด้านเทคโนโลยีและปัจจัยส่วนประสม การตลาดของลูกค้าที่ใช้บริการ Dtac TriNet ในพื้นที่กรุงเทพมหานครมีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้บริการ Dtac TriNet อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลจากการวิจัยมีข้อเสนอแนะดังนี้ คือ ผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือ ควรจะดาเนินการปรับปรุงระบบสัญญาณให้มีความเสถียรมากยิ่งขึ้น โดยควรมีการสารวจพื้นที่ที่ยังรับสัญญาณได้ไม่ชัดเจนและดาเนินการติดตั้งอุปกรณ์เพื่อขยายสัญญาณให้ผู้ใช้บริการได้รับความสะดวกในการใช้บริการได้ต่อไป
The objectives of this study were 1) to examine the demographic characteristics and differences affecting the consumers’ willingness to use Dtac TriNet services in Bangkok, 2) to examine the relationship between technology and the consumers’ willingness to use Dtac TriNet services in Bangkok, and 3) to examine the relationship between marketing mix and the consumers’ willingness to use Dtac TriNet services in Bangkok. Data were collected from customers who use Dtac TriNet services. The sample of this study 400 users in Bangkok. The research instrument was questionnaire. Data were analyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation and Multiple Regression Analysis at the statistical significance of 0.05 level. The results of this study could be concluded as follows. The sample mostly were males, those aged around 21–30 years old, single, finished the undergraduate level, employees / private company’s employees, and earned monthly income of about 10,001 to 30,000 baht. Overall the sample’s opinion towards the marketing mix of Dtac TriNet was at high level. Considering each aspect, the highest mean score was Place, followed by Product, Price and Promotion, respectively. Overall the sample opinion toward technology of Dtac TriNet was at high level. The highest mean score was Dtac TriNet’s quick network connection. The sample’s willingness to use Dtac TriNet services was at high level. The highest mean score was Dtac TriNet’s position as the most attractive service provider. The results of hypothesis testing were found that sex, marital status, educational level, occupation and monthly income were factors affecting different willingness to use Dtac TriNet. Technology and Marketing mix were factors influencing the willingness to use Dtac TriNet services at the statistical significance of 0.05 level. This study provides suggestions as follows. The mobile network service provider should continuously improve and stabilize its signal system. The service provide should observe some locations facing weak signal and thus install necessary devices to expand signal range to meet users’ wants.
Description: การค้นคว้าอิสระ (บธ.ม.)—บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1381
Appears in Collections:Journal Articles - MBA

Files in This Item:

File Description SizeFormat
j_supawadee.prom.pdf343.47 kBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback