DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1291

Title: โครงการจัดตั้งธุรกิจร้านไอศกรีมสมุนไพรเพื่อสุขภาพ (ไขมัน 0%) ทำจากไนโตรเจนเหลว
Other Titles: Establishment Project of Herbal Ice Cream for Health Shop (0% Fat) Made from Liquid Nitrogen
Authors: ภาคย์ มหิธิธรรมธร
Keywords: ไอศกรีมสมุนไพร
ไอศกรีมไนโตรเจนเหลว
ไอศกรีมสมุนไพรไนโตรเจนเหลว
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การศึกษาเฉพาะบุคคลเรื่อง “โครงการจัดตั้งธุรกิจร้านไอศกรีมสมุนไพรเพื่อสุขภาพ (ไขมัน 0%) ทำจากไนโตรเจนเหลว” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.) เพื่อศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคต่อไอศกรีมสมุนไพรเพื่อสุขภาพทำจากไนโตรเจนเหลว 2.) เพื่อศึกษาปัจจัยทางการตลาดที่เกี่ยวข้องกับร้านขายไอศกรีมสมุนไพรเพื่อสุขภาพทำจากไนโตรเจนเหลว 3.) เพื่อศึกษาแนวโน้มในการจัดตั้งร้านขายไอศกรีมสมุนไพรเพื่อสุขภาพทำจากไนโตรเจนเหลว โดยผู้วิจัยได้เลือกใช้การเก็บข้อมูลจากผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 350 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) จากผู้บริโภคที่มาใช้บริการศูนย์การค้าบริเวณเขตปทุมวันในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2558 ดังนี้ 1.) ศูนย์การค้าสยามพารากอน 2.) ศูนย์การค้าสยามเซ็นเตอร์ 3.) ศูนย์การค้ามาบุญครอง 4.) ศูนย์การค้าสยามสแควร์วัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) และใช้การวิเคราะห์เชิงปริมาณ (Quantitative Research) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย เพื่อหาตัวแปรต่างๆ ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 26-35 ปี ระดับการศึกษาสูงสุดปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และมีรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท ด้านพฤติกรรมการบริโภคพบว่า ส่วนใหญ่ปริมาณการบริโภคไอศกรีม 2 ลูก (สกู๊ป)/ครั้ง จำนวน 2 ครั้ง/เดือน ค่าใช้จ่ายในการซื้อ 51-100 บาท/ครั้ง ชอบนั่งทานในร้าน และชอบทานที่ศูนย์การค้า ด้านสุขภาพและพฤติกรรมในการเลือกบริโภคสมุนไพรของผู้บริโภคพบว่า ส่วนใหญ่มักมีอาการปวดหัวเป็นไข้ แต่ไม่มีโรคประจำตัว และเคยใช้สมุนไพรแทนยาแผนปัจจุบัน ด้านผลการวิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยทางการตลาดพบว่า ปัจจัยทางด้านผลิตภัณฑ์ที่กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญมากที่สุด ได้แก่ รสชาติไอศกรีมมีความหลากหลาย มีกรรมวิธีการผลิตปลอดภัย และพนักงานมีความสามารถในการทำไอศกรีม ปัจจัยทางด้านราคาที่กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญมากที่สุด ได้แก่ ราคาเหมาะสมกับคุณภาพ ราคาเหมาะสมกับปริมาณ และราคามีความหลากหลายตามรูปแบบของไอศกรีม ปัจจัยทางด้านช่องทางการจัดจำหน่ายที่กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญมากที่สุด ได้แก่ ร้านตกแต่งสวยงาม แบ่งส่วนพื้นที่ในการให้บริการเป็นสัดเป็นส่วน และร้านตั้งอยู่ในทำเลที่ดี ปัจจัยทางด้านการส่งเสริมการตลาดที่กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญมากที่สุด ได้แก่ การโฆษณาผ่านสื่อให้เป็นที่รู้จักอย่างต่อเนื่อง การให้ทดลองชิมฟรี มีความถี่และความหลากหลายในการจัดกิจกรรม การมีส่วนร่วมของลูกค้า และความใกล้ชิดในการสื่อสารกันระหว่างร้านและลูกค้า ตามลำดับ
The objectives of the research “Establishment Project of Herbal Ice Cream for Health Shop (0% Fat) Made from Liquid Nitrogen” are 1) to study the behavior of consumers on healthy herbal ice cream made from liquid nitrogen; 2) to determine marketing factors related to health in consideration of herbal ice cream made from liquid nitrogen, and 3) to reinvestigate trends in the shop establishment with a focus on health issues related to herbal ice cream made of liquid nitrogen. The researchers collected the data from the target group of 350 people by the Accidental Sampling method from consumers who came to the shopping centers in Pathumwan area during April 2015 as follows: 1) Siam Paragon 2) Siam Center Shopping Center 3) MBK 4) Siam Square One Shopping Center. A questionnaire and Quantitative Research Analysis were used in the research. The statistics used in the analysis include Percentage, Mean for analyzing different variables. The results showed that most consumers were females, aged between 26 - 35 years old, achieved a Bachelor's Degree or equivalent level of education, earned less than 10,000 baht. Regarding consumption behavior, it was found that most participants consumed 2 scoops of ice cream per occurrence, usually twice per month. The cost of purchase was between 51 - 100 baht / time. Participants preferred sitting in the shop and at the shopping mall. Regarding health and behavior in selecting herbs of consumers, results showed that most had a headache and fever, but no underlying disease, and had used herbs instead of modern drugs. The results from the analysis of marketing factors, in terms of product, found that the respondents paid attention to the variety of flavors, safe production processes, and staff’s skills of ice cream making rated as the highest point of attention. The price factors that respondents cared most about included reasonable price with quality, balance of volume and price, and various price rates according to ice cream types. The factors in the distribution channels that respondents focused on most were beautiful shop decorations, functional segmentation of the service area, and attractive location. The most important marketing factors for the respondents were advertisements via media for continuous recognition, free taste facility, frequent and various activities for customers to participate, and reachable communication between the shop and customers, respectively.
Description: การค้นคว้าอิสระ (นศ.ม.) -- สาขาการบริหารธุรกิจบันเทิงและการผลิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2558
Advisor(s): ปีเตอร์ กัน
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1291
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
phark_mahi.pdf6.43 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback