DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1197

Title: ปัจจัยความสำเร็จขององค์กรที่ส่งผลให้สถานีโทรทัศน์ไทยรัฐทีวี เป็นที่รับรู้และจดจำของผู้ชมใน เขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Organization success factors affecting audience perception and recognition: Case study of Thairath TV statioin
Authors: ปรียนันท์ พละศักดิ์
Keywords: ปัจจัยความสำเร็จองค์กร
การรับรู้และจดจำ
สถานีโทรทัศน์ไทยรัฐทีวี
ทีวีดิจิตอล
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจว่าปัจจัยความสำเร็จขององค์กรด้านใดที่ส่งผลต่อการรับรู้จดจำข่าวสารและโลโก้ของทางสถานีโทรทัศน์ไทยรัฐทีวี ซึ่งการวิจัยในครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) มีการศึกษาในรูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยมีแบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ซึ่งสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน คือ การหาวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สรุปผลการวิจัย คือ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 24 - 29 ปี จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี และมีอาชีพเป็นพนักงานของบริษัทเอกชน โดยส่วนใหญ่มีพฤติกรรมในการรับชมโทรทัศน์ทุกวันต่อสัปดาห์ โดยใช้เวลาในการรับชมรายการโทรทัศน์แต่ละวันมากกว่า 2 ชั่วโมงต่อวัน และชื่นชอบรายการโทรทัศน์ประเภทข่าว ซึ่งส่วนใหญ่จะรับชมรายการโทรทัศน์จากช่อง 3 ซึ่งรู้จักและเคยรับชมทีวีดิจิตอลทั้งสิ้น โดยผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นต่อปัจจัยความสำเร็จขององค์กรของสถานีโทรทัศน์ไทยรัฐทีวี มากที่สุดคือ ด้านการนำเสนอรายการของสถานี โดยมีความคิดเห็นมากที่สุดต่อประเด็นเรื่องไทยรัฐทีวีมีการนำเสนอรายการโดยคำนึงถึงความแปลกใหม่และไม่ซ้ำใคร ทั้งนี้เนื่องจากผู้ชมมีความคิดเห็นว่าได้รับชมรายการที่มีความแตกต่าง และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวจริง ๆ ทำให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกและได้รับประสบการณ์ใหม่ ๆ ในการรับชมรายการโทรทัศน์เพิ่มมากขึ้น และผู้ตอบแบบสอบถามมีการรับรู้และจดจำต่อสถานีโทรทัศน์ไทยรัฐทีวีมากที่สุดคือ การรับรู้และจดจำโลโก้ของสถานี โดยมีความคิดเห็นมากที่สุดต่อประเด็นเรื่องการรับรู้ ระลึกถึงและจดจำโลโก้ได้ ทั้งนี้เนื่องจากผู้ชมได้เห็นโลโก้ของสถานีตามสื่อประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ และมีความคุ้นชินกับโลโก้เดิมกับธุรกิจหนังสือของไทยรัฐอยู่บ้างแล้ว จึงทำให้จดจำโลโก้ไทยรัฐทีวีได้ไม่ยาก
This research objective is to find out factors which lead to recognition information of Thairath TV (logo and related news). The research is a quantitative research. (Quantitative Research), a study in the form of the survey (Survey Research), by a third party. As a tool to collect data from a sample of 400 people which statistics were used to analyze the data base. Descriptive statistics such as frequency, percentage, mean and standard deviation. And inferential statistics is to find multiple regression analysis (Multiple Regression) at a significance level of 0.05. The summary of the research are the majority of respondents were female, aged between 24 - 29 years old, graduated with a Bachelors degree and working in private companies. Most of them watching TV everyday at least 2 hours per day. They also interested in news program the most and spend most of time watching CH3 TV programs. They recognize and have been watching TV Digital. The respondents' opinion towards the achievement of Thairath TV is the program presentation which presented by considering the exotic and unique. This identity of Thairath TV programs brought new experience of watching tv program to audiences. The main factor that respondents recognize and remember Thairath TV is station logo because they see from advertising media and quite use to Thairath newspaper logo before.
Description: การค้นคว้าอิสระ (บธ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2556
Advisor(s): สุคนธ์ทิพย์ รัตนภูพันธ์
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1197
Appears in Collections:Independent Studies - Master
Independent Studies

Files in This Item:

File Description SizeFormat
priyanun_pala.pdf2.37 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback