DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1026

Title: การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การนำหีบห่อหรือภาชนะที่แสดงเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนเพื่อลวงขายสินค้าของตน (Refilling)
Other Titles: Trademark infringement: Refilling packages or containers bearing registered trademarks for the passing off non-trademark poprietor’s products
Authors: ปาณิศา บุญวิวัฒน์
Keywords: หีบห่อหรือภาชนะ
ลวงขาย
Packges or Container
Passing-off
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การศึกษา เรื่อง “การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การนำหีบห่อหรือภาชนะที่แสดงเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนเพื่อลวงขายสินค้าของตน (Refilling) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบัญญัติกฎหมายการคุ้มครองเครื่องหมายการค้าและบทกำหนดโทษสำหรับการละเมิดเครื่องหมายการค้าและตัวอย่างแนวคำพิพากษาและปัญหาการใช้บทบัญญัติกฎหมายและบทกำหนดโทษของ สำหรับการละเมิดเครื่องหมายการค้ากรณี การนำหีบห่อหรือภาชนะที่แสดงเครื่องหมายการค้า จดทะเบียนเพื่อลวงขายสินค้าของตน (Refilling) ของไทยและต่างประเทศ รวมถึงวิเคราะห์และ สร้างข้อเสนอแนะในการปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายและบทกำหนดโทษในกรณีดังกล่าว มีผลการศึกษา ดังนี้ ทั้งประเทศไทย ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศฝรั่งเศส ได้กำหนดการกระทำที่ถือเป็นการล่วงสิทธิในเครื่องหมายการค้าอยู่ในหลักการเดียวกัน คือ บุคคลใดใช้เครื่องหมายการค้าโดยมิได้รับอนุญาต ด้วยการนำมาในราชอาณาจักร จำหน่าย เสนอจำหน่าย หรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมหรือเลียนเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นหรือบุคคลใดกระทำปลอมเครื่องหมายการค้าหรือเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นย่อมเป็นความผิดและต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้และบทกำหนดโทษจะเป็นมาตรการทางกฎหมายอาญา โดยตัวอย่างแนวคำพิพากษาของศาล กรณีการนำหีบห่อหรือภาชนะที่แสดงเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนเพื่อลวงขายสินค้าของตน (Refilling) ของประเทศไทย วินิจฉัยความผิดโดยใช้ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 272(1) ในประเด็นการเอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์หรือข้อความใด ๆ ในการประกอบการค้าของผู้อื่นมาใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต ส่วนประเทศสหรัฐอเมริกา วินิจฉัยความผิดโดยใช้ประมวลกฎหมายเครื่องหมายการค้าสหรัฐอเมริกา (18 U.S.C.§) Lanham Act มาตรา 2320 (d) ซึ่งได้นิยาม เครื่องหมายการค้าปลอมแปลงไว้ว่า คือ“เครื่องหมายไม่แท้”รวมถึง การใช้เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนกับสินค้าที่ไม่ใช่สินค้าของเครื่องหมายการค้านั้นจริง ให้ถือเป็นความผิดการใช้เครื่องหมายปลอมแปลงด้วย ในขณะที่ประเทศฝรั่งเศสโดยศาลยุโรปได้วินิจฉัยการนำถังก๊าซที่ได้จดทะเบียนมาบรรจุก๊าซใหม่ว่าไม่เป็นการละเมิด โดยตีความว่า ผู้ถือใบอนุญาตเฉพาะสำหรับการใช้องค์ประกอบต่าง ๆ ของถังบรรจุก๊าซโดยตั้งใจที่จะนำกลับมาใช้ใหม่ เครื่องหมายการค้าที่ได้รับการคุ้มครองอาจไม่สามารถป้องกันการถูกซื้อโดยบุคคลที่สามหลังจาก ถังบรรจุก๊าซที่ผู้บริโภคซื้อไปและได้ใช้ก๊าซที่บรรจุไว้เดิมหมดแล้ว เพื่อนำถังก๊าซดังกล่าวไปบรรจุก๊าซซึ่งมิได้ผลิตโดยผู้ถือใบอนุญาตนั้น” ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ทั้งประเทศไทยและต่างประเทศยังไม่มีบทบัญญัติกฎหมายและบทกำหนดโทษที่ครอบคลุมถึงการละเมิดลักษณะ “การนำหีบห่อหรือภาชนะที่มีเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนมาใช้เพื่อลวงขายสินค้าของตน (Refilling)” โดยตรง เนื่องจากความผิดในลักษณะนี้ ไม่ตรงกับลักษณะความผิดที่มีกำหนดไว้อยู่ก่อน คือ การปลอม การเลียน หรือ การนำเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งเป็นการกล่าวถึงการละเมิดเฉพาะตัวเครื่องหมายการค้าไม่รวมไปถึงหีบ ห่อหรือบรรจุภัณฑ์ การที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้เสนอ (ร่าง) พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าเพิ่มเติม มาตรา 110/1 ขึ้นใหม่ให้ครอบคลุมการกระทำความผิดดังกล่าวนั้น นับว่าจะเป็นประโยชน์ต่อกระบวนการทางกฎหมายเกี่ยวกับการละเมิดเครื่องหมายการค้าทั้งภายใน ประเทศหรือระหว่างประเทศเป็นอย่างยิ่ง โดยมีข้อเสนอแนะที่ควรให้มีการพิจารณาเพิ่มเติม คือ บทบัญญัติกรณี การนำถังก๊าซที่ใช้แล้วมาบรรจุก๊าซใหม่ ซึ่งจะเป็นการแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้อีกประเด็นหนึ่ง
The purposes of this study, “Trademark Infringement: Refilling Packages or Containers Bearing Registered Trademarks for the Passing off Non-Trademark Proprietor’s Products (Refilling) are to examine provisions of trademark protection laws and penalties for trademark infringement, samples of ruling patterns, problems in the use of laws and penalties for trademark infringement in the case of refilling packages or containers bearing registered trademarks for the passing off non-trademark proprietor’s products (refilling) in both Thailand and foreign countries, as well as analyzing and formulating recommendations for the improvement of provisions and penalties for such cases. The study results show that actions considered trademark infringement in Thailand, the United States of America and France are specified in the same principle: the use of trademark without authorization in bringing in the kingdom, selling, offering for sale or holding for commercialization products with spurious trademarks or imitating other people’s trademarks; counterfeiting or replicating other people’s trademarks to make people to believe that they are trademarks of the other person is an infringement and subject to penalties as prescribed in the criminal law. Examples of court ruling in the case of refilling packages or containers bearing registered trademarks for the passing off non-trademark proprietor’s products (refilling) in Thailand is based on Criminal Code, Section 272 (1) with an action of using names, pictures, marks or any terms used in other people’s business without authorization. In the United State of America, the court ruling is based on Code of the United State of America Trademark Law (18 U.S.C. §) Lanham Act, Section 2320 (d) which describes counterfeit trademarks as “not genuine marks” which include the use of registered trademarks on products which are not the authentic products of the registered trademarks is also considered trademark infringement. In France, however,
Description: การค้นคว้าอิสระ (น.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2556
Advisor(s): อุดมศักดิ์ สินธิพงษ์
ปัจฉิมา ธนสันติ
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1026
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
panisa.boon.pdf3.45 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback