DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1012

Title: ประสิทธิผลของการโฆษณาผ่านเกม (Advergaming) ต่อความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการกรณีศึกษาบริษัท เกมอินดี้ จำกัด
Other Titles: The effectiveness of advergaming towards knowledge, attitude and practice: The case study of GAMEINDY company limited
Authors: ฉันทวิทย์ พงษ์ศิริ
Keywords: โฆษณาผ่านเกม
โฆษณา
ประสิทธิผล
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยเรื่องประสิทธิผลของการโฆษณาผ่านเกม (Advergaming) ต่อความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการ กรณีศึกษาบริษัท เกมอินดี้ จำกัด มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างลักษณะประชากรศาสตร์ของผู้เล่นเกมออนไลน์รวมถึงพฤติกรรมการเล่นเกม พฤติกรรมการเปิดรับสื่อโฆษณา และประสิทธิผลของการโฆษณาภายในเกมออนไลน์ของบริษัท เกมอินดี้ จำกัด และ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเล่นเกมกับพฤติกรรมการเปิดรับสื่อโฆษณาที่มีผลต่อประสิทธิผลของการโฆษณาภายในเกมออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ กลุ่มบุคคลทั่วไปที่เล่นเกมดัมมี่ออนไลน์ บนเฟสบุ๊คของบริษัท เกมอินดี้ จำกัด จำนวน 124 คน แสดงผลการวิเคราะห์ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ยร้อยละ และสถิติเพื่อทดสอบสมมติฐาน One-way ANOVA การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson Correlation) หากพบความแตกต่างจะทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบรายคู่ด้วยสูตร Scheffe’ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 20 - 30 ปี มีระดับการศึกษาปริญญาตรีและรายได้อยู่ที่10,001 – 20,000 บาท ส่วนใหญ่เป็นพนักงานเอกชนและลูกจ้างบริษัทเอกชน โดยกลุ่มตัวอย่างจะมีพฤติกรรมการเล่นเกมออนไลน์เกือบทุกวัน ระยะเวลาในการเล่นเกมออนไลน์ในแต่ละครั้งอยู่ที่ 1-3 ชั่วโมงต่อวัน ส่วนใหญ่จะเล่นเกมที่ที่พักของตนในช่วงกลางวันเวลา 10.01 น.- 14.00 น. มีพฤติกรรมการเปิดรับสื่อป้ายโฆษณาแบนเนอร์ภายในเกมดัมมี่ออนไลน์แบบเห็นแค่บางครั้ง มีความสนใจแบบดูผ่าน ๆ และจดจำป้ายโฆษณาได้ 1 แบบ โดยลักษณะประชากรด้าน เพศ อายุ การศึกษา รายได้ และอาชีพ ไม่มีผลต่อประสิทธิผลของโฆษณาในเกมออนไลน์ พฤติกรรมการเล่นเกมดัมมี่ออนไลน์ในด้านความบ่อยครั้งในการเล่นเกม ระยะเวลาในการเล่นเกม ช่วงเวลาที่เล่นเกม และสถานที่เล่นเกมไม่ส่งผลใด ๆ ต่อประสิทธิผลของโฆษณาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนด้านพฤติกรรมการเปิดรับสื่อในด้านความบ่อยครั้งและการให้ความสนใจกับโฆษณาจะมีผลต่อประสิทธิผลของโฆษณาในเกมออนไลน์ ในด้านพฤติกรรมการเล่นเกมออนไลน์ตัวแปรด้านความบ่อยครั้งในเล่นเกมและช่วงเวลาจะมีผลต่อพฤติกรรมการเปิดรับสื่อโฆษณาของผู้เล่นเกมออนไลน์ และความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิผลของโฆษณาในเกมออนไลน์สามารถสรุปได้ว่าความรู้ส่งผลต่อทัศนคติ และทัศนคติส่งผลต่อเนื่องไปสู่พฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการได้
The purpose of this research was to study differences between demographic characteristics of online gamers, their gaming habits, media exposure, and the effectiveness of the effectivess of advergaming in an online game produced by GAMEINDY Company Limited. The relationship between gaming habits and media exposure affecting on that affect to knowledge, attitude and practice (KAP) was studied as well. The sample group was the gamer of “Dummy Online”. At least 124 gamers were chosen by selective sampling and convenience sampling. Hypothesis and relationship were tested by using percentage, One-way ANOVA, Pearson’s Correlation and Scheffe’. The study showed that the majority of the online gamers were male and aged between 20 and 30 years old. Most of them received bachelor’s degree, 10,001 – 20,000 Baht per month, and worked as employees in a private company. Most of the sample group had played “Dummy Online” everyday. They spent about 1-3 hours playing the game per day. They often played at their own accommodation during day time, in between 10.01 and 14.00. In favors of media exposure, most of the players had seen banner ads sometimes. They paid a little attention to banner and could remember ads only one from five of banners. From hypothesis testing, both demographic characteristics and gaming habits did not reveal significantly effects on KAP. Of all independent factors, frequency of playing and attention to ads of media exposure influenced KAP. In addition, some gaming habits, frequency and duration time of playing were significantly related to media exposure. Therefore, the effectiveness of banner ads in online game could be concluded that knowledge affects attitudes and attitudes affect to human behavior.
Description: การค้นคว้าอิสระ (นศ.ม.)--สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2556
Advisor(s): ปฐมา สตะเวทิน
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1012
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
chantawit_pong.pdf4.51 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback