DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Cluster of New Media & Design >
School of Law >
Master Degree >
Independent Studies >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/931

Title: วิเคราะห์ข้อกำหนดการเรียกค่าเสียหายที่เกิดจากการหลีกเลี่ยงหรือบรรเทาความเสียหายจากผู้เอาประกันภัยทางทะเล
Other Titles: Claim provision related loss arising from the insured exercise sue and labour duty
Authors: ชัยสิทธิ์ ศรีกฤษดาพร
Keywords: ค่าเสียหาย
ประกันภัยทางทะเล
Issue Date: 2551
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การประกันภัยทางทะเลมีหลักสำคัญประการหนึ่งว่า ผู้เอาประกันภัยที่จะมีสิทธิ เรียกร้องให้ผู้รับประกันภัยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ตนได้นั้น จะต้องมีส่วนได้เสียในวัตถุที่ เอาประกันภัยในเวลาที่เกิดวินาศภัย โดยความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นทางทะเลแบ่งออกได้หลาย ชนิดด้วยกัน ที่ได้แบ่งไว้หลายชนิดก็เพื่อจะกำหนดขอบเขตความรับผิดชอบของผู้รับ ประกันภัย หรือสัดส่วนของการชดใช้ค่าเสียหายให้เป็นไปตามความเสียหายที่ได้รับ ซึ่งการหา สาเหตุของความเสียหายจะต้องพิจารณาจากลักษณะของความเสียหายที่ได้รับ และผู้เอา ประกันภัยที่จะได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากผู้รับประกันภัยได้เกิดความเสียหายทั้งหมด บางส่วน หรือไม่ได้รับความเสียหายเลย โดยสิทธิที่จะได้รับชดใช้ความเสียหายตามที่มีประกันไว้จะต้อง พิจารณาดูเป็นเรื่อง ๆ ไป ผลจากการศึกษาพบว่ายังมีบางเรื่องเกี่ยวกับค่าเสียหายที่ผู้เอาประกันตามกฎหมายใน ประเทศอังกฤษยังไม่สามารถหาคำตอบได้อย่างชัดเจน ซึ่งมี 2 เรื่องที่น่าสนใจ เรื่องแรกเป็นเรื่องของการกำหนดหน้าที่ของผู้เอาประกันภัยไว้ว่าจะต้องใช้วิธีต่าง ๆ ตามสมควรเพื่อที่จะหลีกเลี่ยงความเสียหายให้น้อยที่สุด (sue and labour) ในกรณีที่สัญญา ประกันภัยมิได้ระบุเงื่อนไข sue and labour ไว้ แต่เกิดมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นในลักษณะ sue and labour ในเรื่องนี้ได้มีความเห็นแตกแยกเป็น 2 ความเห็น ความเห็นแรกเห็นว่าเมื่อมิได้ระบุ เงื่อนไข sue and labour ในสัญญา ผู้เอาประกันภัยสามารถเรียกร้องค่าเสียหายได้แม้ว่าจะไม่ มีข้อกำหนดในสัญญาเอาไว้ อีกความเห็นมีความเห็นว่าเมื่อไม่ได้ระบุเงื่อนไข sue and labour ไว้ ถือว่าไม่เป็นไปตามหลักการ sue and labour เพราะเห็นว่าการที่ไม่ได้ระบุเงื่อนไข sue and labour ให้ถูกต้องนั้น ถ้ามีคดีเกิดขึ้นอีกก็ไม่จำเป็นที่จะต้องใส่ข้อกำหนด sue and labour ไว้ในกรมธรรม์อีกต่อไป เรื่องที่สองเป็นเรื่องของความประมาทเลินเล่อของนายเรือและลูกเรือในฐานะที่เป็น ตัวแทนของผู้เอาประกันภัย ซึ่งถ้าความประมาทเลินเล่อของนายเรือและลูกเรือก่อให้เกิดสิทธิ แก่ผู้รับประกันภัยที่จะใช้เป็นข้อต่อสู้หรือเรียกค่าเสียหายเอาจากผู้เอาประกันภัย โดยเป็น ความคุ้มครองในความเสียหายอันเป็นผลใกล้ชิดจากความประมาทเลินล่อของนายเรือและ ลูกเรือ โดยมีท่านผู้พิพากษาที่อธิบายเรื่องนี้ว่าหากผู้เอาประกันภัยหรือตัวแทนไม่ได้ใช้ มาตราการที่จะหลีกเลี่ยงหรือบรรเทาความเสียหายให้น้อยลง ถือว่าเป็นความเสียหายจากผล ใกล้ชิดจากการกระทำของบุคคลดังกล่าว ในเรื่องนี้คำพิพากษาของศาลอังกฤษยังไม่ชัดเจน และนักกฎหมายอังกฤษก็ยังไม่มีความเห็นเป็นที่ยุติ สำหรับในประเทศไทยแม้จะยังมิได้มีบทบัญญัติเฉพาะที่เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อใช้ บังคับแก่การประกันภัยทางทะเล แต่การประกันภัยทางทะเลก็ได้มีการทำขึ้นในประเทศและ นอกประเทศเนื่องมาจากประเทศไทยมีเรือเดินทะเล และยังมีการนำสินค้าเข้าและส่งสินค้าออก ซึ่งก็ได้มีการทำการประกันภัยทางทะเลไว้กับบริษัทภายในประเทศและบริษัทในต่างประเทศ เมื่อมีคดีที่เกิดจากวินาศภัยที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่สินค้าหรือตัวเรือขึ้น ศาลไทยจึงต้องนำ กฎหมายประกันภัยทางทะเลของประเทศอังกฤษมาปรับใช้ เนื่องจากกฎหมายประกันภัยทาง ทะเลของประเทศไทยยังไม่ได้มีเป็นลายลักษณ์อักษร ประกอบกับจารีตประเพณีของประเทศ ไทยก็ไม่ได้มีปรากฎไว้ จึงต้องวินิจฉัยคดีเป็นเรื่อง ๆ ตามหลักกฎหมายทั่วไป
Sea insurance has one main principle that is the insured, who may claim compensation from the insurer, must share interests in the insured objects at the time that hazard occurs. Damages in the sea are separated into many types to restrict the insurer’s scopes of responsibilities and to keep the compensation rate in proportion to the damages that occurred. The Causes of damages shall be considered based on its nature and whether the damages that occurred to the insured are total loss, partial loss or not at all. The rights to receive compensation under the insurance coverage shall be considered on case by case basis. Outcomes of studies found some matters involving damage compensations still pending and even the British law is unable to finalize clear solution. Among these are two cases deemed interesting to know: First being the specifications about the insured’s duties to ensure that all suitable measures had conducted to avert or minimize loss. However, if sue and labor expenses occurred where the Insurance Contract has not specified; this matters shows 2 different opinions. The Fist deemed that since sue and labor were not specified in the Insurance Contract, the insured may claim for damages even no such conditions specified in the Contract. Another opinion deemed that since sue and labor conditions were not specified in the Contract, it is deemed against the principles of sue and labor, therefore, if sue and labor conditions are not rightly specified in the Contract, and lawsuit occurred, it is not necessary to specified the sue and conditions in the policy anymore. The second is due to negligence and carelessness of the ship master and the crews who hold position as the insured’s agent, which means if the negligence and carelessness of the ship master and crews gives rise to the ground for the insurer to claim or used it as a ground to fight or claim for damages from the insured deeming it as being closely to the coverage of damages caused by negligence and carelessness of the ship master and the crews. The judge who explained this matter clarified that if the insured or the agent had not exercised the measures to avoid or relieve or keep the damages at minimum, it shall be deemed as damages are caused by the closely concern party. The British Court’s judgment in this matter remains unclear and the British lawyer has no definite solution to finalize this matter. In Thailand, even though there is no specific written provisions to govern sea insurance, but there are sea insurances being made in Thailand and abroad due to Thailand’s vessels has to carry both inbound and outbound cargoes and insurances are made with various companies in Thailand and overseas. In case of hazards occurred and caused damages to cargoes or the vessel, the Thai court shall apply or adapt the British laws, due to sea insurance law in Thailand has not been written so far, nor has it appear in any of the Thai tradition; thus it need consideration from case to case based on general relevant laws.
Description: สารนิพนธ์ (น.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2551
Subjects: ประกันภัยทางทะเล--ไทย--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ--การศึกษาเฉพาะกรณี
ประกันภัยทางทะเล--การศึกษาเฉพาะกรณี
การสำรวจค่าเสียหายทางประกันภัย--การศึกษาเฉพาะกรณี
การชดใช้ค่าเสียหาย--การศึกษาเฉพาะกรณี
Advisor(s): ศิรภา จำปาทอง
อดิศร พิพัฒน์วรพงศ์
URI: http://dspace2.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/931
Appears in Collections:Independent Studies

Files in This Item:

File Description SizeFormat
chaiyasit_srik.pdf616.73 kBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback