DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Cluster of New Media & Design >
School of Law >
Master Degree >
Independent Studies >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/913

Title: วิเคราะห์ถึงปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ในประเทศไทย
Other Titles: Analyzing the problem and any obstacle involves the geographical indications (GI) registration in Thailand
Authors: นเรศ ชูดวง
Keywords: การขึ้นทะเบียนสิ้งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
สิ้งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
ทรัพย์สินทางปัญญา
Issue Date: 2550
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: สารานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อการศึกษาและวิเคราะห์ถึงปัญหาและอุปสรรคที่เกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ในประเทศไทย เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ให้มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการศึกษาถึงกฎเกณฑ์ระหว่างประเทศและกฎหมายของประเทศมาเลเซียที่ให้ความคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ผลการศึกษาพบว่า หลักเกณฑ์ในการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ในประเทศไทยตามที่ได้ศึกษามานี้ ยังมีข้อบกพร่องหรือจุดอ่อนอยู่หลายประการ ซึ่งทำให้คนในชุมชนหรือผู้ที่ประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ยังขาดศักยภาพที่จะขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ จากปัญหาดังกล่าวผู้เขียนมีข้อเสนอแนะว่า ประเทศไทยควรแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ให้มีความเหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน และกำหนดให้หน่วยงานราชการหลายหน่วยงานที่มีเขตรับผิดชอบในพื้นที่เดียวกันและสามารถขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ได้เหมือนกัน และควรที่จะกำหนดให้มีหน่วยงานของรัฐเป็นตัวแทนของประชาชนนำสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไปขึ้นทะเบียนแทน และมีหน่วยงานที่จะให้ความช่วยเหลือหรือให้คำปรึกษาทางวิทยาศาสตร์ที่แสดงว่าแหล่งภูมิศาสตร์นั้นมีอิทธิพลต่อตัวสินค้านั้นจริง และที่สำคัญควรที่จะให้ความรู้แก่ประชาชนหรือบุคคลที่ต้องการขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ เพื่อให้บุคคลเหล่านั้นเข้าใจระเบียบและวิธีการต่างๆ และสามารถเตรียมความพร้อมในการขอขึ้นทะเบียนได้อย่างไม่มีปัญหาหรืออุปสรรคใดๆ
This independent study will focus on study and analyze the problem and any obstacle involves the Geographical Indications (GI) registration in Thailand to find the effective and appropriate solution in this matter. The author will delicately research all of the aspect between international law and Malaysia domestic law in the matter of the Geographical Indications (GI). After studying on this matter the author found that there were many flaw and weakness in Thailand Geographical Indications (GI) registration. People and community will lacked the capability to register the Geographical Indications (GI). The author has the solution for this problem. The author considered that Thailand should redraft the Geographical Indications (GI) law which should be modern and suitable for current situation. Thailand should equalize the authority of the government agency in the same district to have equal right to register the Geographical Indications (GI). The government agency , which provide the geographical information to the people who want to register the Geographical Indications (GI), must be established to indicate the influence origin of every each product. This government agency will support people in every way such as give the information, describe the regulation and protocol and help people to prepare their readiness to register the Geographical Indications (GI).
Description: สารนิพนธ์ (น.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2550
Subjects: สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์--วิจัย
ทรัพย์สินทางปัญญา (กฎหมายระหว่างประเทศ)--วิจัย
Advisor(s): อุดมศักดิ์ สินธิพงษ์,
วีรวิทย์ วีรวรวิทย์
URI: http://dspace2.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/913
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
naret_choo.pdf828.37 kBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback