DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Cluster of New Media & Design >
School of Law >
Master Degree >
Independent Studies >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/908

Title: อำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนในการรวบรวมพยานหลักฐานที่เป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างประเทศไทยกับสหรัฐอเมริกา
Other Titles: The authority of investigated officer in collecting the electronic information evidence : comparing between Thailand and United State of America
Authors: วิศรุต อนุศาสนนันทน์
Keywords: พนักงานสอบสวน
พยานหลักฐาน
ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
อาชญากรรมคอมพิวเตอร์
Issue Date: 2550
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: สังคมในปัจจุบันเข้าสู่ยุคเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นการสื่อสาร ทำให้สามารถส่งผ่านข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็ว อีกทั้งยังช่วยให้การติดต่อสื่อสารเป็นอย่างสะดวกยิ่งขึ้นด้วย แต่ระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นสิ่งที่อำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสารกลับไม่ได้คุ้มครองทางกฎหมาย เนื่องจากกฎหมายในการที่จะเข้ามาดูแลสังคมให้ปลอดภัยจากการกระทำความผิดนั้นอย่างเป็นไปอย่างเชื่องช้าและไม่ทันต่อสถานการณ์ อีกทั้งพนักงานสอบสวนยังไม่มีอำนาจเพียงพอที่จะเข้าไปดูแลอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ ทำให้เกิดช่องว่างมากมายในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมประเภทนี้ สารนิพนธ์ฉบับนี้มีจุดหมายที่จะศึกษาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนในการรวบรวมพยานหลักฐานที่เป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากการในปัจจุบันได้มีอาชญากรรมเกิดขึ้นมากมาย แต่หน่วยงานที่ดูแลยังไม่มีศักยภาพในการทำงานเพียงพอ เช่น พนักงานสอบสวนยังไม่มีความรู้ความสามารถในการที่จะหาข้อมูลและพยานหลักฐานที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ อีกทั้งยังอาจจะเป็นผู้ทำลายพยานหลักฐานแบบรู้เท่าไม่ถึงการณ์ได้ นับว่าปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่สำคัญเนื่องจากปัญหาอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ ได้พัฒนารูปแบบที่สลับซับซ้อน และยากต่อการที่จะเข้าไปควบคุมกำกับดูแลและปราบปรามได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากบทบัญญัติของกฎหมาย เจ้าหน้าที่ และหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องยังไม่มีศักยภาพที่เพียงพอ จากการศึกษาข้อมูลพบว่า ในหลายประเทศก็พบกับปัญหาในลักษณะนี้เช่นกัน และได้มีความพยายามที่จะใช้มาตรการทางกฎหมายที่ออกมาใช้บังคับเฉพาะกับการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ รวมถึงมาตรการต่างๆ ที่เข้ามาควบคุมดูแลปัญหานี้ สำหรับประเทศไทยขณะนี้มีพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ออกมาใช้บังคับกับปัญหาดังกล่าว และเพื่อที่จะทำให้กฎหมายออกมามีประสิทธิภาพมากขึ้น ประเทศไทยควรจำเป็นต้องจัดตั้งหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ โดยการสรรหาและพัฒนาบุคลากรจากกลุ่มผู้มีประสบการณ์ด้านการสอบสวนคดีอาญา ที่มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อฝึกอบรมในด้านวิธีการตรวจค้นและยึดพยานหลักฐานในคดีอาชญากรรมคอมพิวเตอร์เพื่อให้พนักงานสอบสวนมีศักยภาพในการทำงาน เพื่อที่จะจัดการกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยต่อไป
Description: สารนิพนธ์ (น.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2550
Subjects: พยานหลักฐาน--ไทย--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ--วิจัย
พยานหลักฐาน--สหรัฐอเมริกา--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ--วิจัย
เอกสารประมวลผลข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์--สหรัฐอเมริกา--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ--วิจัย
เอกสารประมวลผลข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์--ไทย--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ--วิจัย
การสอบสวนคดีอาญา--ไทย--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ--วิจัย
การสอบสวนคดีอาญา--สหรัฐอเมริกา--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ--วิจัย
Advisor(s): อรรยา สิงห์สงบ
อำนาจ เนตยสุภา
URI: http://dspace2.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/908
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
visarut_anus.pdf660.47 kBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback