DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Cluster of New Media & Design >
School of Communication Arts >
Master Degree >
Theses >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/724

Title: การสื่อสารเพื่อสืบทอดประเพณีแซนโฎนตา
Other Titles: Communication for inheriting San-Don-Ta Tradition
Authors: กนกพร จิตร์มานะโรจน์
Keywords: ประเพณีแซนโฎนตา
การสื่อสาร
Issue Date: 2553
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและกระบวนการสื่อสารเพื่อสืบทอดประเพณีแซนโฎนตา ปัจจัยด้านสังคม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยีที่มีความสัมพันธ์กับการสืบทอดประเพณีแซนโฎนตา และการรับรู้ของประชาชนที่มีต่อประเพณีแซนโฎนตา การวิจัยครั้งนี้เป็นงานผสมระหว่างวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) กับวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ในการวิจัยเชิงคุณภาพนั้น ผู้วิจัยใช้การเลือกผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยเป็นกลุ่มที่มีความเกี่ยวข้องกับประเพณีแซนโฎนตาซึ่งมี 4 กลุ่ม จำนวน 21 คน ได้แก่ กลุ่มราชการ ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำท้องถิ่น และสมาชิกภายในครอบครัว เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลไปพร้อมๆ กับการเก็บรวบรวมข้อมูลตามหลักการของการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้ระยะเวลาเก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2552 ถึงวันที่ 27 ตุลาคม 2552 และทำการตรวจสอบข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวม โดยใช้การตรวจสอบความเชื่อถือได้ของข้อมูลแบบสามเส้า (Triangulation) และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยการจำแนกประเภทข้อมูล (Typological Analysis) แล้วพิจารณาความสัมพันธ์ของข้อมูลชนิดต่างๆ ที่แบ่งไว้ โดยอิงจากวัตถุประสงค์และประเด็นหรือแนวคำถามการวิจัยที่กำหนดไว้เบื้องต้น ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบและกระบวนการสื่อสารในการจัดประเพณีแซนโฎนตาแบ่งออกเป็น 3 ช่วง คือ 1. การสื่อสารช่วงเตรียมงานประเพณี เป็นการสื่อสารแบบเป็นทางการ และไม่เป็นทางการ มีทิศทางการสื่อสารเป็นแบบสองทาง และแบบทางเดียว โดยใช้ทั้งวัจนะภาษาและอวัจนะภาษา ทิศทางการไหลของข่าวสารแบ่งเป็น 3 ลักษณะคือ ทิศทางการไหลของสารจากบนลงล่าง ทิศทางการไหลของสารตามแนวระนาบและทิศทางการไหลของสารจากล่างขึ้นบน 2. การสื่อสารช่วงการจัดงานประเพณี เป็นการสื่อสารแบบไม่เป็นทางการ มีทิศทางการสื่อสารเป็นแบบสองทางและแบบทางเดียว โดยใช้ทั้งวัจนะภาษาและอวัจนะภาษาทิศทางการไหลของข่าวสารแบ่งเป็น 2 ลักษณะคือ ทิศทางการไหลของสารจากบนลงล่างและทิศทางการไหลของสารตามแนวระนาบ 3. การสื่อสารช่วงหลังการจัดงานประเพณี เป็นการสื่อสารแบบเป็นทางการ มีทิศทางการสื่อสารเป็นแบบสองทาง โดยใช้ทั้งวัจนะภาษาและอวัจนะภาษา มีทิศทางการไหลของข่าวสารจากล่างขึ้นบน ส่วนการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประเพณีแซนโฎนตา ผู้วิจัยพบว่า แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกิดขึ้น อาจจะด้วยสังคม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี แต่ประชาชนชาวไทยเชื้อสายเขมรสุรินทร์ก็ยังคงปฏิบัติประเพณีแซนโฎนตาเป็นประจำทุกปี ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมิได้ส่งผลแต่เพียงเชิงลบเท่านั้น เพราะการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง อาทิ เทคโนโลยีที่ทันสมัยขึ้น ก็ทำให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว ในการส่งข่าวสารหรือชักชวนกันมาร่วมงานประเพณีแซนโฎนตา สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ ผู้วิจัยใช้การสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) โดยใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับการรับรู้ของประชาชนที่มีต่อประเพณีแซนโฎนตา ซึ่งกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่เข้าร่วมงานประเพณีแซนโฎนตาบริเวณอนุสาวรีย์พระยาสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง จำนวน 200 คน เมื่อได้ข้อมูลเรียบร้อยแล้ว จึงนำมาประมวลและวิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติพรรณนาเพื่ออภิปรายผลตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ผลการวิจัยพบว่า ประชาชนที่เข้าร่วมงานประเพณีแซนโฎนตามีการรับรู้ต่อประเพณีแซนโฎนตา ได้แก่ ประเพณีแซนโฎนตาแสดงให้เห็นถึงการเคารพต่อผู้มีพระคุณที่ล่วงลับไปแล้ว การแสดงออกถึงการกตัญญูกตเวที ความสามัคคีกลมเกลียวกันในสังคม นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นถึงลักษณะโครงสร้างของชาวไทยเชื้อสายเขมร การปลูกฝังการให้และความเมตตาเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ สร้างความสัมพันธ์อันดีของสมาชิกในครอบครัว อีกทั้งเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัด และเป็นการสืบทอดความเชื่อเรื่องผีบรรพบุรุษ ตลอดจนทำให้ญาติพี่น้องได้พบปะกัน อย่างไรก็ตาม ประชาชนบางกลุ่มกลับมองว่าประเพณีแซนโฎนตาเป็นสิ่งแปลกน่าสนใจ เป็นความสนุกสนานบันเทิง และเป็นเรื่องไสยศาสตร์งมงาย แม้ว่าประชาชนจะมีการรับรู้ต่อประเพณีแซนโฎนตาที่แตกต่างกัน แต่สิ่งที่ทุกคนมีความเห็นสอดคล้องและเป็นไปในแนวทางเดียวกันคือ ควรอนุรักษ์ประเพณีแซนโฎนตาไว้โดยคงรูปแบบเดิม และประชาชนบางกลุ่มมีความเห็นว่าควรปรับเปลี่ยนให้ทันสมัย แต่ไม่มีผู้ใดระบุว่าควรยกเลิกประพณีนี้
The research aimed at studying the pattern and process of communication for inheriting San-Don-Ta Tradition as well as relevant factors namely; social, economic, and technology is People’s perception of San-Don-Ta Tradition was also analyzed. The research mixed both qualitative and quantitative research. Qualitative research the purposive sampling was used from the group of villagers. Target group was divided into four categories from 21 people that consisted of bureaucrats, rural Wisemen, community leaders and family members. This research used in-depth interview to collect qualitative data. The analysis of research was liable with the data collected since September 16, 2009 to October 27, 2009 and checking the data from in-depth interviewing. The reliability of data was achieved by data triangulation and analysis using typological analysis and then consider the relevance of data types that are divided based on the objectives and issues along the research question or set initially. The result of the research reveals that the pattern and process of communication for inhering San-Don-Ta Tradition is divided into 3 phases; 1. Two-way communication was used during the pre-phase of tradition fairs in the form of formal and informal, with verbal and non-verbal languages. The flow of communication is divided into 3 kinds: up-down, horizontal, and bottom-up. 2. Two-way communication was used during the transmission-phase of traditional fairs, in the form of formal and informal, with verbal and non-verbal languages. The flow of communication is divided into 2 kinds: up-down, and horizontal. 3. Two-way communication was used during the post-phase of traditional fairs in the form of formal and informal, with verbal and non-verbal languages. The flow of communication is only one kind: bottom-up. The factors that are associated with the San-Don-Ta traditional. Researchers found that Although there are any changes might occur with the technology, but social, economic and ethnic Khmer Surin Thai people still practice San-Don-Ta traditional every year. The changes that occur not only negatively affect only because some changes such as more modern technology. It makes to send the same message or to persuade to join San-Don-Ta Festival. The Quantitative research was used the accidental sampling to ask about the attitude of 200 people almost San-Don-Ta tradition. This sampling was collected during the people who were joined the San-Don-Ta Tradition Fairs at Surin province. Descriptive statistics was used to analysis data. The people also reveal the attitude that San-Don-Ta tradition reflect the respect and gratitude forwards ancestor, unity within the community. Furthermore, it showed the structure of Thai Khmer people, their generosity, and strong relationship among family members as well as promotes the provincial tourist attraction. However, certain groups of people look at that San-Don-Ta Tradition is something strange like a fun entertainment. It is ignorance and superstition. Although people are perceived to San-Don-Ta Tradition. But what everyone has seen a consistent and be in the same way. San-Don-Ta Tradition should preserve with the constant traditional. And some members of the public opinion that they should change to date. But no one indicated that this tradition should be canceled.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2553
Subjects: การสื่อสารกับวัฒนธรรม--ไทย--สุรินทร์--วิจัย
การสื่อสารทางคติชาวบ้าน--ไทย--สุรินทร์--วิจัย
การสื่อสาร--แง่สังคม--ไทย--สุรินทร์--วิจัย
การสื่อสารกับวัฒนธรรม--วิจัย
การสื่อสารทางคติชาวบ้าน--วิจัย
การสื่อสาร--แง่สังคม--วิจัย
Advisor(s): รสชงพร โกมลเสวิน
ธีรพล ภูรัต
URI: http://dspace2.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/724
Appears in Collections:Theses
Theses

Files in This Item:

File Description SizeFormat
kanokporn_chit.pdf7.13 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback