DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Cluster of New Media & Design >
School of Communication Arts >
Master Degree >
Theses >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/679

Title: กระบวนการสร้างกระแสนิยมในการเล่นกีฬาเทนนิสอาชีพของสื่อหนังสือพิมพ์ในปี 2546 : กรณีศึกษา วาทกรรมภราดรฟีเวอร์
Other Titles: Popularizing process of professional tennis on newspapers in year 2003 : a case study of Paradorn fever discourse
Authors: อรนุช กล่อมดี
Keywords: กระแสนิยม
ภราดรฟีเวอร์
Issue Date: 2550
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยในการสร้างกระแสนิยมในการเล่นกีฬาเทนนิสอาชีพของสื่อหนังสือพิมพ์ ในปี 2546 2) เพื่อศึกษากลวิธีของสื่อหนังสือพิมพ์ในการสร้างวาทกรรมภราดรฟีเวอร์ ในปี 2546 และ 3) เพื่อศึกษาและสังเคราะห์รูปแบบของกระบวนการสร้างกระแสนิยมในการเล่นกีฬาเทนนิสอาชีพของสื่อหนังสือพิมพ์ ในปี 2546 การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การวิเคราะห์วาทกรรม “ภราดรฟีเวอร์” ที่ปรากฏในสื่อหนังสือพิมพ์ 4 ประเภท ได้แก่ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ หนังสือพิมพ์มติชน และหนังสือพิมพ์สยามกีฬา และใช้การสัมภาษณ์เจาะลึกผู้ผลิตและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการผลิตวาทกรรม “ภราดรฟีเวอร์” ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างกระแสนิยมในการเล่นกีฬาเทนนิสอาชีพ ประกอบด้วย 1.1) กรอบการทำงานด้านข่าว อันได้แก่ การนำเสนอความสำคัญของข่าว และการนำเสนอความน่าสนใจของข่าว 1.2) กรอบความคิดส่วนบุคคล ได้แก่ การเลือกที่จะนำเสนอข่าวเกี่ยวกับบุคคลที่ได้รับความนิยม และการมองว่าตนเองเป็นกลุ่มที่มีอภิสิทธิ์ทางสังคม 1.3) กรอบนโยบายของสถาบันที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ นโยบายทางธุรกิจขององค์กร นโยบายการทำข่าวขององค์กร อิทธิพลทางการเมือง นโยบายการสนับสนุนเทคโนโลยีและการสื่อสารอิเล็กทรอนิกจากภาครัฐและเอกชน และ 1.4) กรอบความคิดทางสังคม วัฒนธรรม บรรทัดฐาน ค่านิยม อันได้แก่ ค่านิยมในการบริโภคข่าวสาร และค่านิยมการนับถือและการยกย่องคนเก่งและคนดีของสังคมไทย 2. กลวิธีในการผลิตสร้างวาทกรรมภราดรฟีเวอร์ของสื่อหนังสือพิมพ์ทั้ง 4 แนวเนื้อหา ได้แก่ 2.1) การให้พื้นที่ในการนำเสนอข่าวภราดร ศรีชาพันธ์ 2.2) การให้ความถี่ในการนำเสนอข่าวภราดร ศรีชาพันธ์ 2.3) ระยะเวลาและความต่อเนื่องในการนำเสนอข่าวภราดร ศรีชาพันธ์ 2.4) การกำหนดหัวข้อเรื่องพิจารณา โดยการจัดทำสกู๊ปพิเศษ บทความ บทวิจารณ์ 2.5) การจัดวางข่าวไว้ในตำแหน่งหน้าหนึ่ง 2.6) การสร้างความสนใจด้วยภาพ 2.7) การสร้างความโดดเด่นด้วยการเขียนข่าวเพื่อสร้างความสนใจหรือให้บุคคลนั้นดูน่าสนใจ และ 2.8) การสร้างคำศัพท์ ด้วยการบัญญัติคำใหม่ ๆ 3. กระบวนการสร้างกระแสนิยมในการเล่นกีฬาเทนนิสอาชีพของสื่อหนังสือพิมพ์ ผ่านวาทกรรม “ภราดรฟีเวอร์” ประกอบไปด้วยขั้นตอนสำคัญ 2 ขั้นตอน คือ 3.1) ขั้นตอนการสร้างกรอบ และ 3.2) ขั้นตอนการกำหนดกรอบ โดยการดำเนินงานของทั้งสองขั้นตอนแสดงลักษณะเชิงสหสัมพันธ์ต่อกัน
The objectives of this qualitative research were 1) to study the factors involved in the popularizing process of professional tennis on newspapers in year 2003, 2) to examine news-making and news-telling techniques in constructing Paradorn Srichapan fever discourse, and 3) to reconstruct the framework of popularization process of professional tennis on newspaper in 2003. The study was based on 1) the textual and discourse analysis of Paradorn Fever found in four newspapers-- Daily News, Krung Thep Turakit, Matichon, and Siam Sport and 2) in-depth interviews with 4 representing journalists and those involved in constructing Paradorn Fever discourse. The research results show that 1. The factors involved in the popularizing process of professional tennis on newspaper in 2003 were categorized into four frames of references: 1.1) the professional frame of reference includes news values and news quality, 1.2) The individual frame of reference includes human interest and news media privilege, 1.3) The organizational frame of reference includes political influence, business policy, news policy, technology and electronic communication policy promoted by the government and private sectors, 1.4) The socio-culture frame of reference includes the power of consumerism and a hero-worship culture. 2. The news-reporting and news-constructing techniques were: 2.1) reporting space allocation, 2.2) reporting frequency, 2.3) reporting continuity, 2.4) setting agenda through special article/scoop, 2.5) front-page placement, 2.6) reconstructing new and catchy words. 3. The framework of popularizing process for professional tennis on newspaper consisted of two major steps: 3.1) The frame building and 3.2) The frame setting. This framework is situated in multi-related context of the production practice, discourse practice, and socio-cultural practice. All of these components play important roles in the frame building and the frame setting process.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2550
Subjects: สื่อมวลชนกับกีฬา--ไทย--วิจัย
หนังสือพิมพ์กับสังคม--ไทย--วิจัย
หนังสือพิมพ์--ไทย--วิจัย
ข่าวหนังสือพิมพ์--ไทย--วิจัย
การสื่อข่าวและการเขียนข่าว--ไทย--วิจัย
เทนนิส--ไทย--วิจัย
ภราดร ศรีชาพันธ์--วิจัย
Advisor(s): พีรยา หาญพงษ์พันธุ์
URI: http://dspace2.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/679
Appears in Collections:Theses
Theses

Files in This Item:

File Description SizeFormat
orranuch_krom.pdf11.13 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback