DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/5831

Title: ลิขสิทธิ์งานสร้างสรรค์ใน Augmented Reality (AR)
Authors: ประภากร กัลยาวงศ์
Keywords: คุ้มครอง
ลิขสิทธิ์
ผู้สร้างสรรค์
งานเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน
กรรมสิทธิ์ร่วม
Issue Date: 2567
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มุ่งศึกษาประเด็นทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน (Augmented Reality: AR) ในบริบทของกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา โดยมีวัตถุประสงค์หลักสามประการ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ถึงปัญหาความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ Augmented Reality: AR ตามกฎหมายลิขสิทธิ์ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิสำหรับการแสดงผลงานออกสู่สาธารณะนั้นจากเจ้าของลิขสิทธิ์หรือไม่ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการเข้าถึงสิทธิ์ในงานลิขสิทธิ์ Augmented Reality: AR ที่เป็นกรรมสิทธิ์ร่วมตามพระราชบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในการแสดงงานต่อสาธารณะชน 4) เพื่อศึกษาปัญหาความเป็นเจ้าของ Augmented Reality: AR ตามกฎหมายลิขสิทธิ์ของประเทศสหรัฐอเมริกา จากการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาและกฎหมายของประเทศไทยและการวิเคราะห์กรณีศึกษาของประเทศสหรัฐอเมริกาที่เกิดขึ้น พบว่าการให้ความคุ้มครองผู้สร้างสรรค์ร่วมยังขาดความชัดเจนในแง่ของนิยามทางกฎหมาย แม้แต่ในระบบกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาเองก็มิได้กำหนดคำนิยามของผู้สร้างสรรค์ไว้อย่างชัดแจ้ง ผลการศึกษานำไปสู่ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงกฎหมายลิขสิทธิ์ AR ของไทย โดยเสนอให้เพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองกรรมสิทธิ์ร่วมแก่ผู้สร้างสรรค์งาน AR ให้สอดคล้องกับพัฒนาการทางเทคโนโลยีในปัจจุบัน และการนำหลักการใช้งานโดยธรรม (Fair Use) มาปรับใช้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้เพื่อให้กฎหมายไทยมีความทันสมัยและสอดคล้องกับแนวทางการคุ้มครองลิขสิทธิ์ในระดับสากล
การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มุ่งศึกษาประเด็นทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน (Augmented Reality: AR) ในบริบทของกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา โดยมีวัตถุประสงค์หลักสามประการ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ถึงปัญหาความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ Augmented Reality: AR ตามกฎหมายลิขสิทธิ์ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิสำหรับการแสดงผลงานออกสู่สาธารณะนั้นจากเจ้าของลิขสิทธิ์หรือไม่ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการเข้าถึงสิทธิ์ในงานลิขสิทธิ์ Augmented Reality: AR ที่เป็นกรรมสิทธิ์ร่วมตามพระราชบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในการแสดงงานต่อสาธารณะชน 4) เพื่อศึกษาปัญหาความเป็นเจ้าของ Augmented Reality: AR ตามกฎหมายลิขสิทธิ์ของประเทศสหรัฐอเมริกา จากการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาและกฎหมายของประเทศไทยและการวิเคราะห์กรณีศึกษาของประเทศสหรัฐอเมริกาที่เกิดขึ้น พบว่าการให้ความคุ้มครองผู้สร้างสรรค์ร่วมยังขาดความชัดเจนในแง่ของนิยามทางกฎหมาย แม้แต่ในระบบกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาเองก็มิได้กำหนดคำนิยามของผู้สร้างสรรค์ไว้อย่างชัดแจ้ง ผลการศึกษานำไปสู่ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงกฎหมายลิขสิทธิ์ AR ของไทย โดยเสนอให้เพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองกรรมสิทธิ์ร่วมแก่ผู้สร้างสรรค์งาน AR ให้สอดคล้องกับพัฒนาการทางเทคโนโลยีในปัจจุบัน และการนำหลักการใช้งานโดยธรรม (Fair Use) มาปรับใช้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้เพื่อให้กฎหมายไทยมีความทันสมัยและสอดคล้องกับแนวทางการคุ้มครองลิขสิทธิ์ในระดับสากล
This independent study aims to examine legal issues on Augmented Reality (AR) technology under the context of intellectual property laws, with four main objectives; 1 to explore and analyze the issue of copyright ownership for works in augmented reality under copyright laws; 2 to develop appropriate guidelines to license such works for public display; 3 to make recommendations on the process for purchasing or obtaining license to access copyrighted works in augmented reality which is co-owned, for public display, as prescribed by the Civil and Commercial Code; 4 to investigate the issue of ownership of copyrighted works in augmented reality under the US copyright laws. This independent study utilizes the qualitative research methodology by conducting documentary research from various different sources such as provisions of the law, books, academic journals, judgments, academic theses, research reports and academic documents on copyright protection for works in augmented reality to analyze the information systematically. In the comparative study between US laws and Thai laws and the analysis of US case laws, it is found that legal protection for co-creators of works in augmented reality (AR) is still lacking in terms of legal definition. US law does not even have a clear definition of a creator of copyrighted works. As a result, it is recommended that Thai copyright law be amended to include provisions on protection for co-creators of works in augmented reality (AR), in line with current technological advancements and appropriate shall implementation of the fair use doctrine, to keep Thai law up-to-date with international standards for copyright protection.
Description: การค้นคว้าอิสระ (น.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2566
Advisor(s): วรรณวิภา พัวศิริ
ภราดา แก้วภราดัย
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/5831
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
prapakorn_kanl.pdf10.06 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback