DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Cluster of New Media & Design >
School of Law >
Master Degree >
Theses >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/5653

Title: ปัญหากฎหมายบางประการในการให้ความคุ้มครองธรรมสิทธิ์
Other Titles: Certain legal issues related to moral rights protection
Authors: พัลลภ สิริพาณิชย์กุล
Issue Date: 2554
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาปัญหากฎหมายในการให้ความคุ้มครองธรรมสิทธิ์ของประเทศไทยเปรียบเทียบกับการให้ความคุ้มครองธรรมสิทธิ์ของต่างประเทศ เช่น ประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น ซึ่งในปัจจุบันประเทศเหล่านี้ได้มีการวางหลักเกณฑ์ในการรับรอง และให้ความคุ้มครองธรรมสิทธิ์ที่นอกเหนือไปกว่ามาตรฐานขั้นต่ำในการอนุสัญญากรุงเบอร์นด้วยกันทั้งสิ้น และหลักเกณฑ์ต่าง ๆ เหล่านั้นล้วนมีความครอบคลุม และชัดเจนกว่ากฎหมายของประเทศไทยอยู่มาก สำหรับประเทศไทย พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ในมาตรา 18 เป็นบทบัญญัติแต่เพียงมาตราเดียวที่ได้มีการวางหลักเกณฑ์ในเรื่องของธรรมสิทธิ์ไว้ และแม้ว่าบทบัญญัติดังกล่าวจะมีความสอดคล้องกับมาตรฐานขั้นต่ำของอนุสัญญากรุงเบอร์นที่ประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิกอยู่แล้วก็ตาม แต่ก็ยังคงมีปัญหาว่าหลักเกณฑ์ของการให้ความคุ้มครองธรรมสิทธิ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18 แต่เพียงมาตราเดียวนั้น จะมีความครอบคลุมและชัดเจนเพียงพอที่จะบังคับใช้ในการปฏิบัติหรือไม่ ซึ่งจากการศึกษาพบว่าบทบัญญัติดังกล่าวนั้นยังคงขาดหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ในการให้ความคุ้มครองธรรมสิทธิ์อีกหลายประการ เช่น คำจำกัดความ การโอนสิทธิ การสละธรรมสิทธิ์โดยการแสดงเจตนาฝ่ายเดียว ขอบเขตในการให้ความคุ้มครองธรรมสิทธิ์ ระยะเวลาในการฟ้องร้องคดี ละเมิดธรรมสิทธิ์ และหลักเกณฑ์ที่ศาลจะใช้ในการพิจารณาเพื่อเยียวยาความเสียหายในคดีละเมิดธรรมสิทธิ์ เป็นต้น รวมทั้งประเด็นปัญหาในเรื่องลักษณะการให้ความคุ้มครองธรรมสิทธิ์ ซึ่งจากการศึกษาพบว่า ลักษณะการใช้ความคุ้มครองธรรมสิทธิ์ของประเทศไทยเป็นเพียงลักษณะการให้ความคุ้มครองตามมาตรฐานขั้นต่ำของอนุสัญญากรุงเบอร์นเท่านั้น ยังคงมิได้เป็นไปเพื่อประโยชน์ของผู้สร้างสรรค์อย่างแท้จริง อีกทั้งประเด็นปัญหาในเรื่องของระยะเวลาในการให้ความคุ้มครองธรรมสิทธิ์ ซึ่งมีผลต่อประเด็นบุคคลที่จะเป็นผู้บังคับสิทธิ์ในธรรมสิทธิ์ภายหลังผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย จากการศึกษาพบว่า รูปแบบของการจำกัดระยะเวลาในการให้ความคุ้มครองธรรมสิทธิ์ของประเทศไทยยังไม่ต้องด้วยปรัชญาที่แท้จริงในการให้ความคุ้มครองธรรมสิทธิ์ ตลอดจนประเด็นปัญหาข้อกฎหมายในเรื่องของการให้ความคุ้มครองธรรมสิทธิ์ที่คาบเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองข้อมูลการบริหารสิทธิ ซึ่งภายหลังจากการที่ผู้เขียนได้นำปัญหาต่าง ๆ เหล่านั้นมาศึกษาพิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างกฎหมายลิขสิทธิ์ของประเทศไทย กับกฎหมายลิขสิทธิ์ของประเทศอื่น ๆ รวมทั้งพันธกรณีของอนุสัญญาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องแล้ว ผู้เขียนได้ทำการเสนอแนวทางในการรับรอง และให้ความคุ้มครองธรรมสิทธิ์ที่มีความเหมาะสมสำหรับประเทศไทยไว้ โดยสรุปได้ว่าควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายลิขสิทธิ์ฉบับปัจจุบัน ในส่วนที่ให้การรับรอง และให้ความคุ้มครองธรรมสิทธิ์ โดยจัดให้มีการแยกบทบัญญัติในการรับรอง และให้ความคุ้มครองธรรมสิทธิ์ไว้เป็นเอกเทศจากการให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์ รวมทั้งผู้เขียนได้เสนอแนวทางในเรื่องของคำจำกัดความ ลักษณะของการให้ความคุ้มครอง การโอนสิทธิ การสละสิทธิ ระยะเวลาในการให้ความคุ้มครอง และผู้ใช้ธรรมสิทธิ์ภายหลังผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย ขอบเขตของธรรมสิทธิ์ อายุความในการฟ้องร้อง และหลักเกณฑ์ที่ศาลใช้ในการเยียวยาความเสียหาย ตลอดจนข้อสังเกตบางประการในการให้ความคุ้มครองธรรมสิทธิ์ และการให้ความคุ้มครองข้อมูลการบริหารสิทธิซึ่งอาจเกิดมีขึ้นในอนาคตไว้ด้วย
The key objective of this thesis is to address the legal problem of moral rights protection. The main investigation focuses on moral rights protection under the Thai laws in comparison to those of protection mechanisms in United Kingdom, United States, France, Australia, and Japan. Unlike Thailand. It is found that those countries have developed less ambiguous legal frameworks that extend beyond the minimum requirements of the Berne Convention. Regarding Thailand, moral rights have been mentioned only under section 18 of the Copyright Act B.E. 2537 (1994). Although section 18 is consistent with the minimum requirements under the Berne Convention, where Thailand has properly ratified, there is a legal loophole lies in such section. Regarding the concerns of section 18, one striking issue that forms a main question is whether the scope of section 18 alone can provide a clear legal framework for the protection of moral rights in practice. To answer this question, the study indicated that there are inefficiencies associated with section 18 such as the definition and scope of moral rights, transfer and unilateral waiver of moral rights, length of liability in moral rights litigation, and the criteria of the remedies provided by the courts in moral rights cases. Specifically, the existing laws are inadequate in providing moral right protections since they tend to follow the minimum standards of the Berne Convention, rather than providing legal protection that ultimately benefits to the authors. Moreover, another problem is about the duration of moral rights protection, which enable the author’s successors to benefit economically from exploitation of the work, after the author’s death. The study shows that Thai law is inconsistent with a theoretical basic of the duration of moral rights protection. Also, the unclear definition between protection of moral rights and rights management information results in challenges for a legal enforcement. In analyzing the problems mentioned above, I review the principle of moral rights protection, as well as the context in which those principle operate. In this regard, I concentrate on moral rights protection policy in practice to study current trends of the legal framework that applied in other countries. Afterwards, I bring together the discussions in the all chapters, and offer a general guideline for moral rights protection framework for Thailand. In sum, this paper suggests effective management policies for moral rights protection framework. As such, Thailand should provide moral rights protection, which are separate from the copyright in the work. Besides, this paper also proposes the definition and scope of moral rights, transfer and waiver of moral rights, periods of protection for moral rights after the author’s death, enforcement of rights, limitations on lawsuit, the criteria of the remedies available through the courts, and the future possible of protection of rights management information.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2554
Advisor(s): อรรยา สิงห์สงบ
เพียงเพ็ญ บุตรกตัญญู
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/5653
Appears in Collections:Theses

Files in This Item:

File Description SizeFormat
phanlop_siri.pdf1.11 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback