DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/5559

Title: การวิเคราะห์การออกแบบคอนเทนต์เพื่อใช้ในการสื่อสารการตลาดดิจิทัล กรณีศึกษาเพจ ข้าวโพด NK ประเทศไทย
Other Titles: Analysis of Content Design for Digital Marketing Communications: A Case Study of the 'Thailand NK Corn'
Authors: สิญาพร เตชะแก้ว
Keywords: Mock Up Content
Key Farmer
Content Marketing
บันไดแห่งการมีส่วนร่วม
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: งานวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงทดลอง เรื่อง การวิเคราะห์การออกแบบคอนเทนต์เพื่อใช้ในการสื่อสารการตลาดดิจิทัล กรณีศึกษาเพจ ข้าวโพด NK ประเทศไทย โดยวัตถุประสงค์การวิจัยดังนี้ 1) เพื่อพัฒนา Mock Up Content สำหรับรูปแบบการตลาดเชิงเนื้อหา (Content Marketing) ที่มี ประสิทธิผล และมีส่วนช่วยกระตุ้นความสนใจของกลุ่มเป้าหมายให้เกิดการเข้าชมเนื้อหา 2) เพื่อศึกษาวิธีการนำเสนอ Content Marketing ผ่าน Mock Up เพื่อกระตุ้นความสนใจ โดยการนำเสนอรูปแบบคอนเทนต์ เพื่อสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น และ 3) เพื่อเขียนข้อเสนอแนะในการพัฒนาคอนเทนต์สำหรับเฟซบุ๊กเพจข้าวโพด NK ประเทศไทย การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการทำ Mock Up Content ในรูปแบบปฏิทินรวม 12 เดือน จำนวน 28 คอนเทนต์เพื่อนำไปสัมภาษณ์เชิงลึกกับเกษตรกรที่มีความเชี่ยวชาญในการปลูกข้าวโพดอาหารสัตว์ ระยะเวลาในการเก็บข้อมูลเริ่มตั้งแต่ 1 กันยายน 2565 - 31 กรกฎาคม 2566 ระยะเวลารวม 11 เดือน เพื่อให้เห็นการเปรียบเทียบประสิทธิผลของการทำ Content จริง ผู้วิจัยได้นำตัวอย่าง Content ที่เกษตรกรส่วนใหญ่เลือกใน Mock Up Content ไปโพสต์บนเฟซบุ๊กแฟนเพจ ข้าวโพด NK ประเทศไทย โดยได้เก็บข้อมูลจากการเผยแพร่ Content VDO จำนวน 2 คอนเทนต์ ผลการทดลองพบว่า การทำ Mock Up Content สำหรับรูปแบบการตลาดเชิงเนื้อหา การทำคอนเทนต์รูปแบบวิดีโอคลิป ที่ถ่ายทอดเรื่องราวโดยให้ Key Farmer เป็นตัวหลักในการนำเสนอ และมีรูปแบบ การนำเสนอที่เน้นให้เกษตรกรมีส่วนร่วม ซึ่งสอดคล้องกับที่ Alavi (2016) (อ้างถึงใน Sweeney, 2017) กล่าวถึงบันไดแห่งการมีส่วนร่วมนี้พยายามกระตุ้นให้กลุ่มผู้ใช้กลายมาเป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์เนื้อหา (co-creators of content) โดย Key Farmer มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์เนื้อหา เช่น การใช้คำถาม Q&A ท้ายคลิป การให้เกษตรกรที่เป็นที่รู้จักในพื้นที่มาร่วมทำคอนเทนต์ ก็จะสามารถดึงดูดผู้ชมได้มากขึ้น เห็นได้ว่าการมีส่วนร่วมโดยการกดถูกใจ การแสดงความคิดเห็น และการแชร์ของเพจเพิ่มมากขึ้น และจะสามารถทำคอนเทนต์เพื่อทำแคมเปญโฆษณาในเพจครั้งต่อไป
This research was an experimental study on the analysis of content design for digital marketing communications: a case study of the ‘Thailand NK Corn’ page. The research objectives were as follows: 1) To develop mock-up content for a content marketing format that effectively stimulated the target audience's interest in viewing the content, 2) To study the presentation of content marketing through mock-ups, aiming to stimulate interest by presenting content format to reach a broader target group, and 3) To provide suggestions for developing content for the 'Thailand NK Corn' Facebook page. Data was collected by creating mock-up content in a 12-month calendar format, amounting to 28 pieces of content. This was done to conduct in-depth interviews with farmers who specialize in feed corn cultivation. The data collection spanned from September 1, 2022, to July 31, 2023, totaling 11 months. To compare the effectiveness of the actual content creation, the researcher posted sample content that most farmers preferred from the mock-up content on the ‘Thailand NK Corn’ Facebook fan page. The data collection included the release of two video content pieces. The experimental results indicated that creating mock-up content for content marketing in the form of video clips that tell stories with key farmers as the central presenters, and using a presentation style that emphasizes farmer engagement, aligns with Alavi (2016)'s concept of the ladder of engagement. This approach can encourage the user group to become co-creators of content. Involving key farmers in content creation, such as including Q&A segments at the end of clips and collaborating with well-known local farmers can attract more viewers. It's evident that engagement through likes, comments, and shares on the page increased, and content can be created for advertising campaigns on the page in the future.
Description: การค้นคว้าอิสระ (นศ.ม.)--สาขาวิชาการสื่อสารการตลาดดิจิทัล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ,2565
Advisor(s): มนฑิรา ธาดาอำนวยชัย
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/5559
Appears in Collections:Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
siyaporn.tech.pdf2.94 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback