DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/5544

Title: การคุ้มครองงานสร้างสรรค์ที่เกิดจากอินฟลูเอนเซอร์เสมือนจริง (Virtual Influencer)
Other Titles: The protection of copyright works made by virtual influencer
Authors: เบนาซี เมียเซฟ
Keywords: การคุ้มครองลิขสิทธิ์
ผู้สร้างสรรค์
อินฟลูเอนเซอร์เสมือนจริง
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: สารนิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์หลักเกณฑ์ในการคุ้มครองงานที่เกิดจากการสร้างสรรค์โดย Virtual Influencer ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความคุ้มครอง และการเป็นเจ้าของงานสร้างสรรค์ตามกฎหมายลิขสิทธิ์ โดยทำการศึกษาและเปรียบเทียบจากกฎหมายลิขสิทธิ์ของประเทศไทย สหรัฐอเมริกา และประเทศญี่ปุ่น เพื่อกำหนดแนวทางในการปรับใช้กฎหมายและเป็นแนวทางในการบังคับใช้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 เรื่องการเป็นเจ้าของงานสร้างสรรค์และการให้ความคุ้มครองงานสร้างสรรค์ ให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับปัญหาการคุ้มครองงาน ที่เกิดจากการสร้างสรรค์โดย Virtual Influencer ซึ่งไม่ใช่มนุษย์และไม่มีสถานะเป็นบุคคลในทางกฎหมายลิขสิทธิ์ การคุ้มครองงานสร้างสรรค์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ได้มีการกำหนดเงื่อนไข ของการเป็นผู้สร้างสรรค์ไว้ในมาตรา 4 และหลักเกณฑ์การเป็นผู้สร้างสรรค์ไว้ในมาตรา 8 ที่ให้ผู้สร้าง สรรค์ หมายถึง เป็นผู้ทำหรือผู้ก่อให้เกิดงานสร้างสรรค์อย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ และ ผู้สร้างสรรค์ต้องเป็นผู้ที่มีสัญชาติไทย หรือสัญชาติของประเทศภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ อย่างไรก็ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวไม่ได้กำหนดถึงกรณีที่สิ่งที่ไม่ใช่บุคคลได้สร้างสรรค์งานออก มาไว้อย่างชัดเจนว่าสามารถเป็นผู้สร้างสรรค์ และงานดังกล่าวสามารถได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ จึงอาจส่งผลทำให้มีความสับสนต่อการตีความและบังคับใช้กฎหมายหากมีกรณีดังกล่าวเกิดขึ้น อนึ่ง จากการศึกษาและเปรียบเทียบกฎหมายในเรื่อง“การคุ้มครองงานที่เกิดจากการสร้างสรรค์โดย Virtual Influencer” ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความคุ้มครอง และการเป็นเจ้าของงานสร้างสรรค์ตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ของประเทศไทย สหรัฐอเมริกา และประเทศญี่ปุ่นเห็นได้ว่า ทั้งสามประเทศได้กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเป็นผู้สร้างสรรค์และการคุ้มครองงานสร้างสรรค์ในทำนองเดียวกัน คือ ผู้สร้างสรรค์ต้องเป็นบุคคลเท่านั้น ไม่ได้มีการบัญญัติเกี่ยวกับการเป็นผู้สร้างสรรค์และการคุ้มครองงานสร้างสรรค์ที่เกิดขึ้นจากสิ่งอื่นนอกจากบุคคลไว้ ทั้งนี้ หลักการเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์และการคุ้มครองลิขสิทธิ์จะมีประสิทธิภาพในการบังคับใช้ได้นั้นต้องอาศัยความสมดุลในการบังคับใช้กฎหมายและเทคโนโลยีในปัจจุบันเพื่อให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมายลิขสิทธิ์ที่มุ่งคุ้มครองงานที่ได้สร้างสรรค์ขึ้น
The purpose of this independent study is to study and analyze the criteria for the protection of works produced by Virtual Influencer on issues related to protection and the adherence to copyright laws on ownership of creative works. The processes are studying and comparing the copyright laws of Thailand, The United States, and Japan to establish standards for the legal implementation and enforcement of the Copyright Act B.E. 2537 (1994), which addresses the ownership and protection of creative works. For the purpose of resolving the issue of the protection of works created by Virtual Influencer who are not people and do not have the status of persons under the copyright law. The protection of creative works under the Copyright Act B.E. 2537 (1994) stipulates the conditions of being a creator in Section 4 and the criteria for being a creator in Section 8, which refers to a person who produces or creates a creative work that is protected by copyright. In addition, a person must have Thai nationality or the nationality of a nation that is a signatory to the Convention for the Protection of Copyright. However, such criteria do not clearly define the case in which a non-person has created a work that can be a creator, and such works can be subject to copyright protection. If such a situation occurs, it might complicate the application and interpretation of the law. Accordingly, the law on "the protection of works produced by Virtual Influencer" was studied, and comparisons were made about matters pertaining to the creator and protection of creative works in accordance with the copyright laws of Thailand, the United States, and Japan. The result is that similar regulations for creators and the protection of creative works have been created in all three nations, i.e., only people could be the creators. Regarding the protection of authors and works produced by entities other than people, there are no provisions. However, the principles of copyright ownership and protection must be effective in enforcing a balance of application and current technology to comply with the spirit of copyright law aimed at protecting the work of creation.
Description: การค้นคว้าอิสระ (น.ม.)--สาขาวิชากฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาและเทคโนโลยีสารสนเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2565
Advisor(s): วรรณวิภา พัวศิริ
กริชผกา บุญเฟื่อง
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/5544
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
baenazee_mias.pdf16.42 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback