DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/5499

Title: การศึกษาประสิทธิผลทางการโฆษณา บนแพลตฟอร์มเฟซบุ๊ก: กรณีศึกษา ร้าน DNA Garage
Other Titles: The effectiveness of advertising on facebook platform: case study DNA Garage
Authors: วรัทยา เป้าเปี่ยมทรัพย์
Keywords: ประสิทธิผลของการโฆษณา
การรับรู้ต่อแบรนด์
การสร้างการมีส่วนร่วม
แบบจำลองลูกค้า
ธุรกิจประดับยนต์
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยนี้มุ่งศึกษาและทดลองการโฆษณาบนแพลตฟอร์มเฟซบุ๊ก กรณีศึกษาร้าน DNA Garage เพื่อวัดประสิทธิผลของการโฆษณาผ่านแพลตฟอร์มเฟซบุ๊ก การศึกษารูปแบบและประเภทเนื้อหา และการสร้างการรับรู้กับกลุ่มเป้าหมาย และปฏิกิริยาตอบกลับทางอารมณ์ของผู้ติดตามบนเพจ DNA Garage การเก็บรวบรวมข้อมูลทดลองมีการทำสื่อโฆษณาผ่านแพลตฟอร์มเฟซบุ๊กเป็นระยะเวลา 30 วัน ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2566 ถึง 26 เมษายน 2566 โดยตรวจสอบประสิทธิผลของการโฆษณาในด้านการสร้างการรับรู้ต่อแบรนด์ และการสร้างการมีส่วนร่วม รวมถึงจำนวนของรถยนต์ที่ใช้บริการก่อนและหลังการทำโฆษณา โดยแบ่งการทำโฆษณาเป็น 4 แคมเปญ 6 ชุดโฆษณา ซึ่งประกอบไปด้วย Photo Album, Video Reels และ Image Ads และนำผลการทดลองมาวิเคราะห์ผ่าน Ad Manager ผลการวิจัยพบว่า โฆษณาที่มีผลลัพธ์ที่ดีจะต้องมีเนื้อหาที่มีรายละเอียดชัดเจนและใช้รูปภาพที่สวยงาม สำหรับธุรกิจประดับยนต์ การสร้างรูปแบบโฆษณาที่เหมาะสมจำเป็นต้องศึกษากลุ่มเป้าหมายอย่างลึกซึ้งเพื่อเข้าใจความสนใจและความต้องการของลูกค้า ผ่านการสร้างแบบจำลองลูกค้า (Persona) การทำโฆษณาที่เกี่ยวกับรถยนต์จำเป็นต้องมีการศึกษา เทรนด์ของสินค้าในขณะนั้นเพื่อเป็นแนวทางในการทำโฆษณา เนื่องจากสินค้าที่เกี่ยวกับธุรกิจประดับยนต์จะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และการทำโฆษณาในรูปแบบของ Video Reels สามารถสร้างผลลัพธ์ที่ดีมากกว่าในการทำโฆษณาที่เกี่ยวกับอุปกรณ์ประดับยนต์ หลังจากการทำโฆษณาครบทั้ง 4 แคมเปญ 6 ชุดโฆษณาสามารถเพิ่มจำนวนผู้ติดตามและผู้กดถูกใจในเพจร้าน DNA Garage และมีจำนวนรถยนต์เข้ามาใช้บริการที่เพิ่มมากขึ้นหลังจากการทำโฆษณา
This study aimed at studying and evaluating the effectiveness of Facebook advertising by applying a case study of DNA Garage as a case study, studying the formats and types of content for raising awareness among the target audience and analyzing the emotional reactions of followers on the DNA Garage page. The data was collected from experimental-based research by running advertising campaigns through the Facebook platform for a period of 30 days, i.e. from March 24, 2023, to April 26, 2023. The study examined the effectiveness of advertising in terms of brand awareness, engagement, and a number of cars serviced before and after the advertising campaigns launched. The advertising campaigns were divided into four campaigns and consisted of six sets of advertisements, including photo albums, video reels, and image ads. The experimental results revealed that the successful advertisements should have clear and detailed content and use visually appealing images. For the automotive business, it was necessary to study the target audience insightfully to understand their interests and needs by creating customer personas. In designing advertising related to automobiles, this required marketers to study current product trends in order to guide the advertising process. This was because the products in the automotive industry were constantly changing. Additionally, advertising in the form of video reels could yield a better result, compared to the one that was related to automotive accessories. After completing all of the four campaigns and six sets of the advertisements, there was an increase in the number of followers and likes on the DNA Garage page. There was also a significant increase in the number of cars serviced following the advertising campaigns.
Description: การค้นคว้าอิสระ (นศ.ม.)--สาขาวิชาการสื่อสารการตลาดดิจิทัล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ,2565
Advisor(s): ปฐมา สตะเวทิน
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/5499
Appears in Collections:Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
warataya_paop.pdf3.11 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback