DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/5025

Title: เปรียบเทียบประสิทธิผลของการมีส่วนร่วมของโฆษณาบนแพลตฟอร์มเฟซบุ๊ก (Facebook Ads) และอินสตาแกรม (Instagram Ads) กรณีศึกษาร้านอาหารบ้านบางกระทึก (ฺฺBann Bangkrathuek Since 1988)
Other Titles: The effectiveness of engagement on Facebook Ads and Instagram Ads, The case study of Bann Bangkrathuek since 1988
Authors: กฤตนัย ปู่หลำ
Keywords: เฟซบุ๊กแอด
อินสตาแกรมแอด
เอนเกจเมนต์
Issue Date: 2565
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของการโฆษณาบนแพลตฟอร์มเฟซบุ๊กและอินสตาแกรมต่อการมีส่วนร่วมของโฆษณา กรณีศึกษาร้านอาหารบ้านบางกระทึก (Bangkrathuek Since 1988)” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาประสิทธิผลการมีส่วนร่วมของการโฆษณาสินค้าผ่านเฟซบุ๊ก ร้านบ้านบางกระทึก (2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลการมีส่วนร่วมของการโฆษณาสินค้าผ่านอินสตาแกรม ร้านบ้านบางกระทึก และ (3) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลการมีส่วนร่วมของการโฆษณาระหว่างช่องทางเฟซบุ๊กและอินสตาแกรมของร้านบ้านบางกระทึก ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research Method) ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยการ การทดลองโฆษณาผ่านเฟซบุ๊ก (Facebook Ads) และการทดลองโฆษณาผ่านอินสตาแกรม (Instagram Ads) ด้วยโปรแกรม Ads Manager โดยการใช้เนื้อหา 3 ประเภท ได้แก่ เนื้อหาแบบ Product โดยใช้รูปภาพเกี่ยวกับสินค้าของร้านบ้านบางกระทึก, เนื้อหาแบบ Promotion โดยใช้โปรโมชั่นและรูปภาพสินค้าของร้านบ้านบางกระทึก และเนื้อหาแบบ Real Time โดยใช้รูปภาพสินค้าและประเด็นกระแสที่เกิดขึ้นกับธุรกิจ และนำผลลัพธ์ในการทดลองมาคำนวณหาอัตราการมีส่วนร่วมต่อการแสดงผล (Engagement rate by impression) ของทั้ง 2 แพลตฟอร์ม ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบเนื้อหา Realtime มีอัตราส่วนร่วมต่อการแสดงผลได้มากที่สุดบนแพลตฟอร์มเฟซบุ๊ก ส่วนรูปแบบเนื้อหา Product และรูปแบบเนื้อหา Promotion มีอัตราส่วนร่วมต่อการแสดงผลได้มากที่สุดบนแพลตฟอร์มอินสตาแกรม และเมื่อนำผลลัพธ์ทั้ง 3 ประเภทมาคำนวณหาค่าเฉลี่ยอัตราส่วนร่วมต่อการแสดงผลพบว่า อินสตาแกรมมีประสิทธิผลในการสร้างการมีส่วนร่วมได้มากกว่าเฟซบุ๊ก เนื่องจากเนื้อหาทั้ง 3 ประเภทและทั้ง 2 แพลตฟอร์มมีประสิทธิผลในแง่มุมที่แตกต่างกัน และมีความสำคัญที่ต้องใช้ควบคู่กันไปในการโฆษณา
Description: การค้นคว้าอิสระ (นศ.ม.)--สาขาวิชาการสื่อสารการตลาดดิจิทัล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2563
Subjects: โฆษณาทางอินเทอร์เน็ต
การตลาดอินเตอร์เน็ต
เครือข่ายสังคมออนไลน์
เฟซบุ๊ค
อินสตาแกรม
พฤติกรรมผู้บริโภค
สื่อสังคมออนไลน์
การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
การสื่อสารทางการตลาด -- การศึกษาเฉพาะกรณี
Advisor(s): มณฑิรา ธาดาอำนวยชัย
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/5025
Appears in Collections:Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
krittanai_pool.pdf1.68 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback