DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/4932

Title: การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลการโฆษณาที่ทำให้เกิดการซื้อสินค้า ระหว่างแพลตฟอร์มกูเกิล (Google Ads) และเฟซบุ๊ก (Facebook Ads) กรณีศึกษา สินค้าแบรนด์ “พริกแกงน้ำใจ” ภายใต้บริษัท เคอร์รี่ แอนด์ สไปร์ จำกัด
Other Titles: The Comparative Advertising Effectiveness to Purchase Product between Platform Google Ads and Facebook Ads: The Case Study of Product “Namjai Brand” under the CURRY & SPICE CO., LTD.
Authors: พงศกร พลธีระเสถียร
Keywords: แพลตฟอร์มเฟซบุ๊ก
แพลตฟอร์มกูเกิล
Google Ads
Facebook Ads
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงเปรียบเทียบประสิทธิผลการโฆษณาที่ทำให้เกิดการซื้อสินค้า ระหว่างแพลตฟอร์มกูเกิล (Google Ads) และเฟซบุ๊ก (Facebook Ads) กรณีศึกษา สินค้าแบรนด์ “พริกแกงน้ำใจ” ภายใต้บริษัท เคอร์รี่ แอนด์ สไปร์ จำกัด มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลการโฆษณาที่ทำให้เกิดการซื้อสินค้า โดยวัดผลจากทั้ง 2 แพลตฟอร์มว่ามีการเกิดการซื้อสินค้าจากช่องทางใดได้ผลลัพธ์การซื้อมากกว่า โดยทางแพลตฟอร์มกูเกิล (Google Ads) จะใช้ประเภทของการค้นหาผ่านการทำโฆษณาแบบ (Search Engine Marketing-SEM) ด้วยการใช้คำค้นหา (Keyword) และแพลตฟอร์มเฟซบุ๊ก (Facebook Ads) จะใช้แบบแบนเนอร์ (Banner) และข้อความโฆษณา (Caption) ที่จะก่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์การซื้อสินค้ามากที่สุด การรวบรวมข้อมูลที่ใช้ในงานวิจัยเชิงทดลองเป็นระยะเวลา 7 วัน ตั้งแต่วันที่ 24 เมษายน 2564 ถึง 30 เมษายน 2564 ผ่านแพลตฟอร์มกูเกิล และแพลตฟอร์มเฟซบุ๊ก ผลจากการทดลองของงานวิจัยนี้เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลการโฆษณาแพลตฟอร์มกูเกิล (Google Ads) และแพลตฟอร์มเฟซบุ๊ก (Facebook Ads) ซึ่งทั้งสองแพลตฟอร์มสามารถทำให้เกิดผลลัพธ์การซื้อเกิดขึ้นได้จริง โดยทางแพลตฟอร์มเฟซบุ๊กทำให้เกิดการซื้อสินค้าในจำนวนครั้งที่มากกว่า และค่าใช้จ่ายต่อการซื้อที่เกิดขึ้นถูกกว่าแพลตฟอร์มกูเกิล แต่ด้วยทั้ง 2 แพลตฟอร์มเมื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลแล้วแสดงให้เห็นว่า แพลตฟอร์มเฟซบุ๊กมีประสิทธิผลมากกว่าแพลตฟอร์มกูเกิล ดังนั้นจึงยังควรพิจารณาใช้ทั้ง 2 แพลตฟอร์มควบคู่กันไปเพราะว่าทั้ง 2 แพลตฟอร์มสามารถทำให้เกิดการซื้อขึ้นจริงได้โดยควบคุมค่าใช้จ่ายของแพลตฟอร์มให้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น
This research is comparison of effectiveness between Google Ads and Facebook Ads in order to purchase product, a case study of the brand "Prik Kaeng Nam Jai" under Kerry & Spire Co., Ltd.,. Objective of this study is to compare the effectiveness of advertising that leads to purchases, by measuring the results from both platforms to see which channels are more than sale from product. The Google Ads platform used the type of search through Search Engine Marketing (SEM), by using keyword search. And the Facebook Ads platform used banner and caption that generated the most interaction with the purchase. The data collection used in this experimental study took place for a period of 7 days from April 24, 2021 to April 30, 2021 via Google and Facebook platforms. The results of this research, to compare the advertising effectiveness of Google Ads and Facebook Ads platforms, revealed that both of which could lead to the process of purchase. The Facebook platform resulted in higher purchases and the cost per purchase incurred was lower than the Google platform, shown that Facebook platform was more productive that google platform. However, it was better to use both platforms side by side because both platforms could generate purchases, by controlling the cost of the platforms more appropriately.
Description: การค้นคว้าอิสระ (นศ.ม.)--สาขาวิชาการสื่อสารการตลาดดิจิทัล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2563
Subjects: การตลาดอินเตอร์เน็ต
โฆษณาทางอินเตอร์เน็ต
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
พฤติกรรมผู้บริโภค
บริษัท เคอร์รี่ แอนด์ สไปร์ จำกัด
พริกแกงน้ำใจ (ชื่อตราผลิตภัณฑ์)
Advisor(s): มนฑิรา ธาดาอำนวยชัย
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/4932
Appears in Collections:Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
Pongsakorn_phon.pdf1.94 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback