DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/4924

Title: การนำเสนอข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีความจริงเสริม (Augmented Reality: AR) การรับรู้ความเสี่ยง และการรับรู้คุณค่าผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าผ่านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
Other Titles: Product Information Presentation with Augmented Reality (AR), Perceived Risk, and Perceived Value of the Products That Affect Purchase Intention of Facial Care Products Through E-Commerce.
Authors: กิตติศักดิ์ พิมพ์อ่ำ
Keywords: การนำเสนอข้อมูลผลิตภัณฑ์
เทคโนโลยีความจริงเสริม
Product Presentation
Augmented Reality Technology
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของการนำเสนอข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีความจริงเสริม (Augmented Reality: AR) การรับรู้ความเสี่ยง และการรับรู้คุณค่าผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าผ่านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ประชากรศึกษา คือ ผู้บริโภคอายุระหว่าง 19 - 36 ปี ในจังหวัดกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่เคยใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงหน้า จำนวน 140 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาและ การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคุณ ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริโภคมีระดับความชอบต่อการนำเสนอข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีความจริงเสริมอยู่ในระดับมากที่สุด ในขณะที่การรับรู้ความเสี่ยงในการซื้อสินค้าออนไลน์อยู่ในระดับมากและการรับรู้คุณค่าผลิตภัณฑ์อยู่ในระดับมาก สำหรับความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าผ่านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ผู้บริโภคมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก สำหรับผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า การนำเสนอข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีความจริงเสริม การรับรู้ความเสี่ยง และการรับรู้คุณค่าผลิตภัณฑ์ สามารถอธิบายความแปรปรวนในความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าผ่านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ได้ร้อยละ 67.1 โดยการรับรู้คุณค่าผลิตภัณฑ์ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้ามากที่สุด ตามด้วยการนำเสนอข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีความจริงเสริมด้านโน้มน้าวใจ ในขณะที่การนำเสนอข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีความจริงเสริมในด้านอื่นๆ และการรับรู้ความเสี่ยงในการซื้อสินค้าออนไลน์ ไม่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าผ่านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
The objective of this research was to study the influence of augmented reality (AR) product information presentation, risk perception, and risk perception. And the perception of product value affecting the intention to buy facial care products through e-commerce. The study population was the consumers aged between 19 - 36 years in Bangkok and its vicinity who used to use facial products 140 people. Be specific the tool used for data collection was an online questionnaire. The statistics used for data analysis are percentage, mean, standard, and Multiple regression analysis The results of the research were as follows: Consumers had the highest level of propensity for augmented reality product offerings. On the other hand, the perceived risk of online shopping was high and the perceived value of the product was high. For the intention to purchase facial products through e-commerce Consumers have a high level of opinion. For the results of hypothesis testing, it was found that presenting augmented reality product information Perception of risk and recognition of product value 67.1% of the variance in purchase intentions of facial care products through e-commerce, with the perception of product value influencing the purchase intention of skin care products the most Followed by persuasive augmented reality product information. While presenting augmented reality product information in other areas and perception of risks in online shopping It did not affect the intention to purchase facial products via e-commerce statistical at the level of 0.05.
Description: การค้นคว้าอิสระ (บธ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2564
Subjects: ครีมถนอมผิว
เครื่องสำอาง -- การติดฉลาก
อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง
การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
การซื้อสินค้า
พฤติกรรมผู้บริโภค
การตลาดอินเทอร์เน็ต
ความพอใจของผู้บริโภค
Advisor(s): ดร.ไกรฤกษ์ ปิ่นแก้ว
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/4924
Appears in Collections:Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
kittisak_pimu.pdf8.16 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback